จัดการความรู้ ลดความเสี่ยง จาก ยา หรือ พิษ หรือ การรักษา


ความเสี่ยงสำคัญ จากการรักษาในวงการแพทย์แผนปัจจุบัน  มีความรุนแรง ถึงกับเสียชีวิต ในหลายกรณี จึงน่าสนใจว่า  จะใช้ยาอย่างไรโดยการลดความเสี่ยง อาการข้างเคียงจากยา  กรณีตัวอย่าง คือ การอาจจะแพ้  เซรุ่มต้านพิษ ที่ทำจากม้า

ทั้งกรณีของ ต้านพิษงู และ ต้านโรคพิษสุนัขบ้า 

ตำราใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญโรคเขตร้อน แนะนำให้ ป้องกันการแพ้เซรุ่มต้านพิษงู ด้วย การฉีดยา adrenaline ขนาดต่ำ คือ 0.25 มล  เข้าใต้ผิวหนัง (  subcutaneous )  ก่อนให้ เซรุ่ม   พบว่า วิธีนี้ประหยัด เงินมาก   ผลเสียไม่ค่อยมี  คุ้มค่าในการป้องกันความเสี่ยง  เรียกหลักการนี้ว่า  low dose adrenaline

สามารพิมพ์ค้น รายละเอียดอื่นๆ  เพิ่มเติม   จาก google search

ผมเคยแนะนำหลายคน หลาย รพ ให้ใช้หลักการนี้ กรณี ต้องให้ เซรุ่ม จากม้า ต้านโรคสุนัขบ้า  โดยทดสอบ ก่อนได้ผลว่าแพ้  และ ไม่อาจจัดหาเซรุ่มอื่นๆ ทดแทน    มาตรฐานเดิมคือให้เซรุ่มด้วยการเฝ้าระวัง และเตรียมยาฉุกเฉินไว้ฉีดกรณีแพ้ยา

แนวใหม่คือ หากเสี่ยงสูง ให้เลือกฉีดยารักษาช็อคแพ้ยา ไว้ล่วงหน้าไปเลย

ล่าสุดผมเคยอภิปราย หลักการนี้ กับเพื่อนแพทย์บางท่าน  เพื่อประยุกต์ใช้กับ กรณีเสี่ยงสูงอื่นๆ  แล้วเขาได้ประยุกต์ใช้จริง ๆ  คือ ให้ยาแก้ล่วงหน้าระดับต่ำๆ   ผลลัพธ์ออกมาดี   กว่า การมาใช้ยาฉีดแก้ทีหลัง ซึ่งมักแก้ไขไม่ทัน  จนผู้ป่วยเสียชีวิต

( จะไว้เล่าตอนต่อไป )

ทฤษฎี แย่งชิง จับ ตัวรับรู้ ( receptor )ก่อนถูกกระตุ้น  อย่างมีศิลปะ  ไม่มากไป ไม่น้อยไป  ถูกเวลา 

ใช้ได้จริงในชีวิตหลายๆ กรณี  เช่น เราก็ควรสอนลูกให้เข้าใจ สถานการณ์บางอย่างก่อนวัยเล็กน้อย เช่น ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์   การขับขี่ ยานยนต์     ให้ความเข้าใจอย่างมีศิลปะ   ลูกก็จะเผชิญสถานการณ์ และตอบโต้อย่างเหมาะสม 

ดีกว่า ให้ความเข้าใจ หลังจาก สัมผัสสถานการณ์ไปบ่อยๆ แล้วมาบอกสอนทีหลัง   ซึ่งมักจะไม่ทันความเสียหายที่เกิดขึ้น 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32957เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
น่าสนใจมากครับ ทฤษฎีแย่งชิงจับตัวรับรู้นี้ใช้ในการสอนหนังสือได้ไหมครับ อาทิเช่น ก่อนที่จะเข้าเนื้อหาที่ซับซ้อน เราก็ให้นักศึกษาสนุกกับการประยุกต์ใช้ผลลัพธ์จากเนื้อหานั้น ให้เขาเห็นว่าเรื่องที่กำลังจะเรียนเป็นเรื่องสนุกและน่าสนใจ ก่อนความรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากจะเกิดขึ้น ถ้ามีโอกาสผมจะทดลองใช้ครับ

Educational paradigm สมัยใหม่ ย้อนไปสู่แบบสมัยก่อน  คือ เน้น Indirect  Learning ( รวมถึง  teaching   มากกว่า direct learning  ( teaching )

หมายความว่า การเรียนรู้จากการลงมือทำ ดีกว่า จากการฟังเพียงอย่างเดียว 

การออกแบบ(Design) การเรียนรู้ให้ได้แนวคิดรวบยอด จากการลงมือ หรือ ฝึกปรือ หรือเผชิญสถานการณ์ จำลอง  จึงท้าทาย สำหรับอาชีพครู 

 ดังนั้น มีแนวโน้มว่า เรียนกลุ่มเล็กลง ฝึกปรือได้ทั่วถึงและเฝ้าติดตามพัฒนาการได้ เสริมพลังผู้เรียนได้

ที่อาจารย์เข้าใจ ถูกต้องครับ indirect learning มักคู่กับ active learning ซึ่งสนุกและน่าสนใจกว่า

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท