ทำไมเกษตรกรจึงไม่เห็นด้วยกับการปลูกต้นไม้ในนาข้าว


  • ความเคยชินกับชุดความรู้ในการลดการแข่งขันของไม้ยืนต้นกับพืชเกษตร ที่ต้องเอาต้นไม้ออกจากแปลงเกษตรและยังไม่มีการพิสูจน์เพื่อหักล้างความเคยชินดังกล่าว
  • การทำคันนาใหญ่ จะทำให้รู้สึกว่าเสียพื้นที่นา แม้จะผลิตพืชอื่นได้อีก ก็อาจไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของเจ้าของที่ดิน และความเหมาะสมของการใช้ที่ดิน ทั้งในเชิงลักษณะที่ดินและที่ตั้งของที่ดิน
  • ไม่เหมาะกับคันนาที่ยาวไปตามแนวเหนือ-ใต้ ที่อาจบังร่มข้าวมากเกินไป
  • อาจต้องขุดร่องหรือกวาดดินหน้าเพื่อหาดินมาทำคันนา และกันผลกระทบของรากไม้ต่อข้าว ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงในพื้นที่ดังกล่าว
  • ความขัดแย้งกับแปลงนาข้างเคียงที่อยู่ในด้านตะวันออก-ตะวันตก หรือแม้กระทั่งแปลง เหนือ-ใต้ ที่ไม่แน่ใจทั้งด้านรากและใบของต้นไม้ชนิดต่างๆ
หมายเลขบันทึก: 32904เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับท่านอาจารย์แสวง

เรื่องนี้น่าสนใจครับ ผมทำได้แค่รอดูผลอย่างเดียวครับ ตอนนี้รอดูผลการปลูกต้นยูคาลิปตัสของชาวบ้านทางอีสาน บนคันนาครับ ว่าจะได้ผลอย่างไร

ส่วนทางใต้ ตามคันนาจะมีต้นไม้ กระจายเป็นหย่อมๆ ครับ เพื่อไว้เป็นที่พักพิงบ้างเวลาร้อน เหนื่อย ในยามที่แดดส่องหลัง หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินอย่างชาวนา

คดข้าวห่อไปด้วย ตอนเที่ยงนั่งกินข้าวมื้อเที่ยง ใต้ต้นมะม่วงต้นใหญ่ หรือใต้ต้นไข่เน่า หรือต้นโพธิ์ร่มไทร นะครับ บรรยากาศดีแท้ๆ ครับผม

อีกอย่างเอาไว้ให้นกกระจาบสานรัง สร้างศิลปะในหน้าแล้ง ได้เห็นธรรมชาติการสร้างรังของนก เอาไว้สอนใจคนครับ มีรังนกห้อยเต็มเลยครับ ไม่มีมืดนะครับ ใช้ปากเดียวคอยสานเพื่อสร้างรังรัก เพื่อลูกใหม่ในอนาคต

เอาไว้ให้เหยี่ยวได้เกาะ จับหนูบ้างก็ดีครับ นกเขาได้เกาะ ร้องลั่นทุ่ง นกเขาคุ๊กคูขันเที่ยงวัน ให้สบายใจเฉิบครับ

มองทุกนาหน้าแล้ง ได้เห็นสีเขียวตัดสีเหลืองๆ ในทุ่งนาบ้างก็จะเกิดสุนทรีอารมณ์ สมฤทัยในดวงกมล บ้างครับ

สรุปก็คือ การเกื้อกูลเกิดได้ หากสมดุล

กราบขอบพระคุณมากครับ

เม้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท