CMMI เบื้องต้น // อีก 4 ปีกลับมาอ่าน ผลงานนี้ไม่ถูกต้อง 100% กำลังเรียบเรียงแก้ไขครับ


CMMI : เป็นมาตรฐานการวัดการพัฒนาและบริหารจัดการโครงการ ทางด้านสารสนเทศต่าง ๆ ถูกคิดค้นโดยสถาบัน Software Engineering Institute(SEI)

ข้อมูลนี้นำมาจาก Web-Site http://www.biz-change.com


          CMMI : เป็นมาตรฐานการวัดการพัฒนาและบริหารจัดการโครงการ ทางด้านสารสนเทศต่าง ๆ ถูกคิดค้นโดยสถาบัน  Software Engineering Institute(SEI) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่ถูกคิดค้นขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม CMMI ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และถืเป็นมาตรฐานชั้นสูง เพื่อการันตีบริษัทผู้ผลิตซอฟแวร์ว่ามีการพัฒนา และบริหารจัดการ อย่างมีประสิทธิภาพ  

          โดยหลักการกำหนดคุณภาพนั้น ย่อมควบคุมผ่าน 3 ปัจจัยหลัก คือ Process, People และ Technology  และในการพัฒนามาตรฐานทาง CMMI นั้นจะมุ่งเน้นส่วนใหญ่ไปที่ Process แต่ก็ยังมี People และ Technology มาเป็นส่วนผสมบ้างในบางขั้นตอน ซึ่งในกระลวนการวัดผลนั้น จัดไว้เป็น 5 ขั้นตอนซึ่งมุ่งเน้นวัดด้านวุฒิภาวะที่ต่างกันคือ

          ระดับที่ 1(Initial Level)  เป็นกระบวนการที่จัดได้ว่าเป็นการเริ่มต้นในการทำ CMMI ที่มุ่งเน้นเพียงให้มัน Input และ ได้ Output ออกมาเป็นงานก็เพียงพอ หากกล่าวโดยง่ายคือเป็นระดับที่ฝากชีวิตขององค์กรณ์ไว้กับบุคคล เช่นผู้บริหาร หัวหน้างานหรือที่ปรึกษาของหน่วยงาน โดยลักษณะขององค์กรที่ถือว่าเข้าเงื่อนไขสรุปได้เป็นข้อหลัก ๆ คือ
          • ไม่มี Process ในการพัฒนาที่อิงหลักการพัฒนาเช่นระบุไม่ได้ว่าเป็น SDLC หรือ RUP เป็นต้น
          • มีเพียง Outcome ออกมา เช่น ผังงาน, หน้าจอ, ฐานข้อมูล, ระบบซอฟแวร์ เท่านั้น และถือว่า Outcome เป็นหัวใจ
          • มีการฝากความหวังไว้ที่ผู้เชี่ยวชาญไม่กี่คน เช่นหัวหน้างานหรือผู้บริหาร ทำให้องค์กรขาดคนใดคนหนึ่งไม่ได้ และเชื่อในตัวผู้พูดผู้กระทำมากกว่าเนื้อหาของงาน
          • มีแนวคิดว่าทำอย่างไรก็ได้เพื่อแสวงหากำไร แล้วเมื่อมีผลประกอบการที่ดี งานก็จะออกมาดีตาม
          • ไม่สามารถคาดเดาผลงานจากการออกแบบได้ ต้องเฝ้ารอจนกว่าโครงกานจะแล้วเสร็จ

          ระดับที่ 2(Management) เป็นวุฒิภาวะในการบริหารโครงการละกับที่ 2 เน้นไปที่การบริหารจัดการมากขึ้น พยายามนำการนึกคิดตัดสินใจจากความรู้สึก(ใน Level 1)ออกไป แล้วนำการจัดการโครงการเข้ามาช่วย โดยมี เกณฑ์ชี้วัดด้านกระบวนการ(Key Process Area)ด้วยกัน 7 ขั้นตอนคือ
          • Requirement Management (REQM) คือ การจัดการความต้องการของผู้ใช้ให้เป็นไปในทางที่พัฒนาได้จริง ไม่มากเกินกำลังผู้พัฒนาระบบ
          • Project Planning (PP)  คือการวางแผนโครงการได้ว่าจะใช้กระบวนการใดในการพัฒนา เวลาเท่าใด และใช้ทรัพยากรมากน้อยเพียงใด
          • Project Monitoring and Control (PMC) คือการควบคุมแผนงานให้เป็นไปตามที่ได้วางแผนไว้
          • Stakeholder  Agreement Management (SAM) คือการจัดการสิ่งที่ได้สัญญากับผู้เกี่ยวข้องกับโครงการโดยรอบด้านให้เป็นไปเพื่อประสานประโยชน์และ ตามสัญญาที่ได้ให้กันไว้
          • Measurement and Analysis (MA) คือการวิเคราะห์เกณฑ์ต่าง ๆ โดยอาศัยข้อเท็จจริง ไม่ลำเอียง
          • Process and Product Quality Assurance (PPQA) คือการประกันความสำเร็จของโครงการ
          • Configuration Management (CM) คือการจัดการการปรับปรุงโครงการให้เข้ากับผู้บริโภคอย่างเหมาะสม

          ระดับที่ 3(Defined) เป็นระดับที่หน่วยงานกำหนดมาตรฐานลงลึกไปถึงการทำงานของทุกภาคส่วน โดยอาจเปรียบได้ว่าในระดับ 2 ถือเป็นจัดวุฒิภาวะแบบ Outside in มีการกำหนดกรอบแต่ภายนอก แล้วยังใช้ความรู้สึกในการควบคุมงาน แต่ในระดับที่ 3 เป็นการจัดวุฒิภาวะแบบ Inside out คือการกำหนดการทำงานจากภายในของบุคคลากรออกไปตอบสนอง กรอบงานใหญ่ โดยแบ่งเป็น
          • Requirement Development (RD)  คือการพัฒนระบบตามความต้องการ ตามข้อย่อย และรวมกันเป็นหัวข้อใหญ่
          • Technical Solution (TS)  คือการหาแนวทางแก้ไขเชิงเทคนิค มีเอกสารประกอบ และเนื้อความบ่ง(Comment) ในการนำส่วนต่าง ๆ มาใช้ในการพัฒนา
          • Product Integration (PI) คือการนำส่วนต่าง ๆ มาประสานเข้าด้วยกัน และหรือนำระบบที่ reuse ได้กลับมาใช้งาน
          • Verification (VER) คือการสอบทานจากผลลัพธ์ หรือการทดสอบระบบว่าถูกค้องหรือไม่ ทางเทคนิค
          • Validation (VAL) คือการทดสอบระบบเช่นกัน แต่เป็นการทดสอบในระดับ ธุรกิจคือข้อมูลที่เป็นไปไม่ได้ต้องถูกกันไว้ให้ไม่สามารถนำเข้าได้ เช่น กรณีเก็บรายชื่อผู้ขับขี่รถยนต์ ต้องไม่มีข้อมูลคนที่อายุต่ำกว่า 18 เข้าไป
          • Organizational Process Focus (OPF) คือการชี้ให้เห็นถึงจุดกำหนดของกระบวนการในองค์กร
          • Organizational Process Definition (OPD) คือการระบุให้ชัดเจนไปว่ากระบวนการไดบ้างเป็นส่วนที่องค์กรสนใจ
          • Organizational Training (OT)  คือการแนะนำส่วนต่าง ๆ ขององค์กร ให้เข้าใจถึงค่านิยมร่วมขององค์กร
          • Integrated Project Management (IPM) คือการนำโครงการต่าง ๆ มาประสาน หรือแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน
          • Risk Management (RSKM) คือการควบคุมความเสี่ยงให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ในทุก ๆ กระบวนการ
          • Integrated Teaming (IT) คือการประสานประโยชน์ของทีมต่าง ๆ เพื่อนำทีมต่าง ๆ มาทำงานร่วมกันได้
          • Integrated Supplier Management (ISM) คือการประสานระหว่างคู่ค้า
          • Decision Analysis and Resolution (DAR) คือการตัดสินใจในการแก้ปัญหาและวิเคราะห์หาทางออกได้
          • Organizational Environment for Integration (OEI) คือการประสานบุคลากรในทุกภาคส่วนให้เกิด สภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน
         

          ระดับที่ 4(Quantitatively Managed) คือการกลับมาสนใจในคุณภาพของสินค้าที่ออกไป เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากที่สุดโดยแยกได้เป็น
          • Organizational Process Performance (OPP) คือการมุ่งเน้นไปทางประสิทธิผลขององค์กร ให้เกิดเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นประสิทธิผลมาก่อน (ก่อนหน้านี้จะเน้นมาทางประสิทธิภาพ)และปิดจุดด้อยที่ไม่ก่อประโยชน์
          • Quantitative Project Management (QPM) คือการบริหารคุณภาพของสินค้าให้คงที่ และเป็นที่ยอมรับ

          ระดับที่ 5(Optimized) เป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จริง ๆ แล้วเป็นขั้นตอนวัด ทุก ๆ ระดับใหม่และหาว่าแต่ละครั้งนั้นองค์กรมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร และต่อเนื่องหรือไม่

หมายเลขบันทึก: 329032เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2010 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท