Appreciative Inquiry กับสำนัก 3 สสส.


         ในการประชุมคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 ของ สสส. เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.49   ทีมบริหารคณะที่ 3 ของ สสส. นำเสนอสรุปสถานการณ์โดยรวมของโครงการหลักสำนักสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่และชุมชน (สำนัก 3) เพื่อขอความเห็นจากคณะกรรมการว่าควรสรุปอย่างไรดี

         ตอนนี้ผมกำลังอยู่ในอาการ AI ขึ้นสมอง   ผมจึงเสนอว่าการนำเสนอสรุปภาพรวมในการทำงานมีได้หลายแบบแล้วแต่วัตถุประสงค์
          - ถ้าต้องการนำเสนอแบบรายงานให้เห็นว่าเราทำงานไปได้แค่ไหนก็นำเสนอแบบหนึ่ง   เป็นการเสนอเชิงภาพรวม
          - ถ้าต้องการนำเสนอเพื่อช่วยกันคิดยุทธศาสตร์การทำงาน   ก็ต้องนำเสนออีกแบบหนึ่ง   ซึ่งผมนิยมนำเสนอภาพความสำเร็จ   เพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจว่าความสำเร็จเล็ก ๆ เหล่านั้นเกิดจากอะไร     มีแนวทางส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จทำนองนั้นเพิ่มขึ้นอีก   หรือขยายความสำเร็จไปสู่ประเด็นอื่น ๆ ได้อย่างไร

         การนำเสนอตามแบบหลังจะไปเชื่อมโยงกับการจัดการภายในสำนัก   ที่สมาชิกของสำนักฯ ช่วยกันวาดภาพฝัน (Dream) ว่าสภาพของสุขภาวะในพื้นที่ที่ดีเป็นอย่างไร   สมาชิกภาคีต่าง ๆ ในชุมชนต้องทำอะไรบ้าง   ซึ่งภาพจะไม่ชัด   แต่ไม่เป็นไร   ภาพจะเป็น 3 มิติและ 4 มิติ (เพิ่มมิติด้านเวลา)   เป็นภาพที่มีชีวิต   มีการเปลี่ยนแปลง   สำนัก 3 ต้องหาทางไปร่วมวาดภาพฝันกับภาคีในพื้นที่   แล้วสำนัก 3 จึง "จับภาพ" ความสำเร็จเล็ก ๆ ในสภาพที่เกิดขึ้นจริง (Discover) แล้วเอามา "ต่อภาพ" ในโครงภาพฝันนั้น   ชวนภาคีในพื้นที่ร่วมกันต่อภาพ   ร่วมกันดำเนินโครงการสร้างสุขภาวะในพื้นที่เพื่อต่อภาพให้ค่อย ๆ ได้ภาพตามภาพฝันดังนั้น   การสรุปสถานการณ์แนว AI จึงน่าจะนำเสนอแบบ Dream & Discover

วิจารณ์  พานิช
 31 พ.ค.49

หมายเลขบันทึก: 32856เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท