ยุทธการบีบหัวใจศาล


ผมเรียกยุทธการนี้ว่า ยุทธการบีบหัวใจศาล ทำไมถึงเรียกอย่างนี้ ก็เพราะผมทราบอยู่แล้วว่า สถาบันการเงินจะต้องทำทุกวิธีการไม่ให้บริษัทชนะคดี รวมถึงการประสานงานไปยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อขัดขวางบริษัทไม่ให้โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้กับลูกค้า เว้นแต่จะยินยอมทำตามที่เขากำหนด ผมรู้ว่าจะต้องใช้ ศาสตร์และศิลป์ ในการแสวงหาความเป็นธรรมนั้นต้องทำอย่างไรและต้องทำอย่างมีหลักกฎหมาย จึงใช้วิธียื่นคำร้องวิธีนี้ โดยคาดหวังว่าเมื่อศาลทราบว่าทุกครั้งที่มีการมายื่นคำร้องจะมีลูกค้าของโครงการจำนวนหนึ่งมาด้วยเสมอ หากศาลสั่งยกคำร้องแต่ละครั้งโดยไม่หันมามองบ้างก็ให้รู้ไป แต่หากหันมามองแล้วไม่เกิดความรู้สึกใดๆก็ให้รู้ไป

กราบขออภัยด้วยครับที่ไม่มาตามนัดที่กำหนดเอาไว้ทุกวันอังคาร ติดภาระกิจ จิง จิง แฮ..

 

เข้าเรื่องเลยนะครับ

ยุทธการบีบหัวใจศาล 

เอ๊ะใครไปบีบ และบีบอย่างไร ต้องให้ท่านคุณหมอ ผ่าตัดเอาหัวใจออกมาก่อนแล้วค่อยบีบหรืออย่างไร  ตามมาครับ

สำหรับท่านที่ติดตามอ่าน เรื่องการใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส คงจำโครงการจัดสรรที่ผมเล่ามาในเรื่องแล้ว (สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่านลองไปติดตามดู ก็จะทราบครับ) คือโครงการนี้ นอกจากจะต้องพบกับวิกฤติต้มยำกุ้งแล้ว ยังถูกสถาบันการเงินระงับการปล่อยสิ้นเชื่อแบบปัจจุบันทันด่วน ก็ทำเอาลูกค้าไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้ทันที เพราะสถาบันการเงินใช้วิธียึดหน่วงโฉนดที่ดินไว้ไม่ยินยอมนำมาส่งมอบให้โอนกรรมสิทธิ์ตามวิธีการที่ตกลงกันไว้ในสัญญากู้ ทั้งนี้เพราะทางบริษัท ติดค้างดอกเบี้ยและเงินต้นที่ต้องชำระคืนตามกำหนดสัญญาอยู่ประมาณ สิบสี่ล้าน ณ วันที่ บริษัท พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้ลูกค้า ทางสถาบันการเงินยื่นคำขาดว่า บริษัท ต้องนำเอาดอกเบี้ยกับเงินต้นส่วนที่ค้างชำระตามงวดไปชำระให้ก่อนจึงจะส่งมอบโฉนดส่วนที่จะโอนกรรมสิทธิ์มาโอนให้ลูกค้าตามสัญญา แต่ ณ เวลานั้น  บริษัทไม่มีเงินสดพอและไม่สามารถจะกู้เงินจากที่ใดได้ ก็ยื่นข้อเสนอว่าให้นำโฉนดไปโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกค้าก่อน ซึ่งตามสัญญา บริษัทจะได้เงินในวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลละ 25 % นั้นยินยอมให้สถาบันการเงินรับไปทั้งหมด จนกว่าจะครบจำนวนเงินที่ค้างชำระ เมื่อครบแล้วบริษัทจึงจะรับส่วน 25 % ตามสัญญา แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ จนเป็นเหตุให้ต้องนำคคีไปฟ้องศาล ก่อนจะฟ้องคดีต่อศาล  ในวันที่เรา (คือผมกับท่านเจ้าของโครงการ) เดินออกจากโต๊ะเจรจา ผมแจ้งให้ท่านกรรมการของสถาบันการเงินทราบว่า ทางเราไม่อาจจะรอได้อีกต่อไป  ลูกค้าจะฟ้องร้องทางเรา เพราะลูกค้าหวังจะได้รับสิทธิด้านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงินของรัฐ (ไม่แน่ใจว่า 5% หรือ 7% อัตราคงที่ สิ้นสุดเดือน ธันวาคม  2540) เราอาจต้องใช้วิธีการทางศาล ท่านกรรมการกลับ ให้คำแนะนำว่า ลองไปคิดดูนะว่าทางธนาคารมีทนายความหลายสิบคนทั้งยังมีอดีตผู้พิพากษาเป็นกรรมการอยู่ บริษัทมีทนายความกี่คนจะสู้ได้หรือ (นี้คือคำตอบสุดท้ายก่อนไปพบกันที่ศาลครับ)

สิ่งแรกที่ทำเมื่อล้มโต๊ะเจรจา คือเรียกประชุมลูกค้าชี้แจงสถานการณ์ให้ลูกค้าทราบว่า มีอุปสรรคการโอนกรรมสิทธิ์อย่างไรและจะต้องทำอย่างไรจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ จึงขอความร่วมมือจากลูกค้าว่าต้องช่วยผมและน้องๆทนายความในการทำคดีนี้ สิ่งที่ ผมต้องการความร่วมมือจากลูกค้าคือ เอกสารที่ลูกค้ายื่นขอกู้เงินจากธนาคารของรัฐ และต้องไปศาลเป็นพยานให้ด้วย ผมขอเวลา 3 วันจัดเตรียมสำนวนคดี

เป็นความโชคดีของผมที่ลูกค้าพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 125 รายได้ติดตามการทำคดีตั้งแต่ต้น คือเรียกว่าสอบถาม   และขอดูคำฟ้อง คำร้อง กำหนดนัดต่างๆและยังติดตามไปที่ศาลเพื่อจะดูว่า      ยื่นคำฟ้อง       คำร้อง อะไรอย่างไร ในระหว่างดำเนินคดีไม่เข้าใจขั้นตอนใดก็สอบถามอย่างละเอียด ผมชี้แจงให้ทราบโดยตลอด เหตุที่ลูกค้าต้องติดตามใกล้ชิดเช่นนี้ เนื่องจากเกรงว่าจะไม่ได้รับโอนบ้านและที่ดินเพราะได้ช่วยออกเงินค่าก่อสร้างบ้านของตนจนเสร็จ และทุกรายมีฝันว่าจะได้บ้านหลังแรกในชีวิตด้วยน้ำพักน้ำแรงที่อดออม

เมื่อครบกำหนด 3 วัน ผมได้ฟ้องสถาบันการเงินเป็นจำเลย เรื่องผิดสัญญากู้ (ปกติ เขาจะฟ้องลูกค้า นะ งานนี้ เขาเป็นจำเลย อิ.อิ.) ในตอนเช้าศาลเปิดทำการ ผมยื่นคำฟ้องไปพร้อมกับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา กับคำร้องขอให้ทำการไต่สวนเป็นกรณีฉุกเฉิน (ต้องยื่นตอนเช้าเพราะหากต้องไต่สวนคำร้องอาจใช้เวลาหลายชั่วโมง)

เมื่อยื่นเสร็จก็นั้งรอครับ.... มีลูกค้าติดตามมาตามนัดหมายช่วงเช้าประมาณ 30 ราย และนัดที่เหลือไว้ให้มาในช่วงบ่าย แต่เมื่อรอไม่เกิน สองชั่วโมง ปรากฎว่า ศาลสั่งยกคำร้องคงรับแต่คำฟ้อง แจ้งในคำสั่งว่าไม่มีเหตุ คือศาลดูคำร้องทั้งสองฉบับแล้วสั่งยกเลยครับไม่ไต่สวนใดๆ ลูกค้าหน้าเสียเลยครับ ผมยิ้มครับ (นึกถึงตอนฝึกทนายใหม่ๆที่ถูกท่านหัวหน้าสำนักงานโยนหนังสือบอกกล่าวที่ร่างลงตะกร้านะ) ผมเลยแจ้งกับลูกค้าว่าให้ไปพบกันที่สำนักงานโครงการจัดสรร จะชี้แจงให้ทราบว่าต้องทำอย่างไรต่อไป เมื่อผมไปถึงสำนักงานโครงการ พนักงานขายแจ้งให้ทราบว่าทางสถาบันการเงินโทรมาให้ติดต่อกลับด่วน จึงโทรไปทราบว่าทางเขาต้องการให้บริษัทถอนฟ้องแล้วค่อยเจรจากันใหม่ และบอกว่าบริษัทไม่มีทางจะได้รับการคุ้มครองชั่วคราว ยื่นไปศาลก็ยกคำร้องจะไม่ไต่สวนแน่นอน ผมได้ฟังครั้งแรก งง..มาก ไม่เข้าใจว่าทางเขาทราบได้อย่างไรว่ายื่นฟ้องวันนี้และบริษัทขอคุ้มครองชั่วคราวด้วย เพราะโดยปกติการขอกรณีฉุกเฉินจะเป็นการยื่นฝ่ายเดียว และจะยื่นในวันฟ้องครั้งแรก คู่ความยังไม่ได้รับหมายและจะไม่ทราบเลยว่ากำลังถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลใด แต่เขาทราบครับและทราบว่าศาลยกคำร้องด้วย ผมตรวจสอบเวลาแล้วระหว่างเขากับผมซึ่งทำหน้าที่ทนายความโดยตรงใครทราบคำสั่งก่อนกัน ปรากฎว่า ผมทราบคำสั่งตอน สิบเอ็ดโมงเช้า แต่เขา โทรหาผมที่สำนักงานโครงการเมื่อเวลา สิบโมงครึ่ง โดยฝากข้อความไว้กับพนักงานขายว่า กลับจากศาลแล้วให้โทรไปหาด้วย แปลกหรือไม่ครับ ผมว่ามันแปลกแต่จริงครับ 

มองออกหรือยังครับว่าผมต่อสู้อยู่กับอะไร ทำไมต้องนำยุทธการบีบหัวใจศาลมาใช้  ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ผมให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ สถาบันการเงินแห่งนี้ มีอดีตท่านผู้พิพากษา (ผมไม่บอกนะว่าเคยทำหน้าที่อะไรในศาล) รับผิดชอบดูแลงานด้านกฎหมายอยู่ พอมองเห็นนะครับว่าเป็นอย่างไร ทำไม่คำร้องของผมถึงถูกสั่งยก และทำไมถึงทราบคำสั่งก่อนผม

เมื่อสถานการณ์เป็นเยี่ยงนี้ ผมก็ชี้แจงให้ลูกค้าเข้าใจ คำถามที่ผมต้องตอบลูกค้าคือจะต้องสู้ต่อไปอย่างไร คำตอบคือ

  1.                  ผมได้กำหนดยุทธวิธีไว้แล้วและพอจะคาดได้ล่วงหน้าแล้วว่าจะต้องพบกับสถานการณ์อะไร เพราะทราบมาแต่เดิมว่าสถาบันการเงินแห่งนี้มีใครกำกับดูแลงานด้านกฎหมาย แต่ที่คาดไม่ถึงคือ ทางเขาทราบว่าศาลยกคำร้องก่อนผมได้อย่างไร ทั้งที่ฝ่ายเขาไม่มีใครมาตรวจดูสำนวนนี้ที่ศาล
  2.                  ขอความร่วมมือจากท่านลูกค้าให้แบ่งกำลังกันไปศาลวันละ 20 ท่านพร้อมกับน้องๆทนายความที่ผมมอบหมายให้ไปยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว   และคำร้องขอให้ศาลไต่สวนเป็นกรณีฉุกเฉิน  (คำร้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 และ 266 นะครับอยากทราบรายละเอียดลองไปเปิดดู)
  3.                  ท่านลูกค้าที่เหลือให้เตรียมตัวให้พร้อมที่จะไปศาลได้ทันทีที่ได้รับแจ้งจากผม
  4.                  ผมใช้คำร้องเดิมทุกอย่าง จะเปลี่ยนเฉพาะ วันที่ เท่านั้นข้อความอื่นเหมือนเดิม กำหนดเวลายื่นคำร้องทุกวันทำการของศาลเวลา 09.00 นาฬิกา เพื่อให้ศาลสั่งยกคำร้อง (คือตามกฎหมาย สามารถยื่นคำร้องขอคุ้มครองได้ตลอดเวลาที่ดำเนินคดีในศาล แต่ต้องก่อนศาลมีคำพิพากษา)
  5.                  จะยื่นคำร้องลักษณะนี้เป็นเวลา 15 วัน เมื่อครบกำหนด ผมจะอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ (โดยกฎหมาย ผมสามารถอุทธรณ์คำสั่งได้ตั้งแต่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องครั้งแรกได้เลย)

ผมเรียกยุทธการนี้ว่า ยุทธการบีบหัวใจศาล ทำไมถึงเรียกอย่างนี้ ก็เพราะผมทราบอยู่แล้วว่า สถาบันการเงินจะต้องทำทุกวิธีการไม่ให้บริษัทชนะคดี รวมถึงการประสานงานไปยังผู้เกี่ยวข้องเพื่อขัดขวางบริษัทไม่ให้โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้กับลูกค้า เว้นแต่จะยินยอมทำตามที่เขากำหนด ผมรู้ว่าจะต้องใช้  ศาสตร์และศิลป์ ในการแสวงหาความเป็นธรรมนั้นต้องทำอย่างไรและต้องทำอย่างมีหลักกฎหมาย จึงใช้วิธียื่นคำร้องวิธีนี้ โดยคาดหวังว่าเมื่อศาลทราบว่าทุกครั้งที่มีการมายื่นคำร้องจะมีลูกค้าของโครงการจำนวนหนึ่งมาด้วยเสมอ หากศาลสั่งยกคำร้องแต่ละครั้งโดยไม่หันมามองบ้างก็ให้รู้ไป แต่หากหันมามองแล้วไม่เกิดความรู้สึกใดๆก็ให้รู้ไป

และเมื่อถึงเวลาที่สำนวนกับคำร้องทั้งหมดถูกส่งไปยังศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ต้องเกิดข้อสงสัยว่า คดีนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมทนายถึงยื่นคำร้องด้วยเหตุเดียว (คือเหตุการณ์ยื่นคำร้องมีได้หลายเหตุนะ ส่วนใหญ่ หากยื่นจะคำร้องใหม่ก็อ้างเหตุใหม่) คำร้องทุกฉบับมีข้อความทุกอย่างเหมือนกัน แก้เฉพาะวันที่เท่านั้น คือผมใช้วิธีถ่ายสำเนาคำร้องเดิมแล้วขีดฆ่าวันที่ออก แล้วเติมวันที่ใหม่เท่านั้น หากผมคิดแทนศาลอุทธรณ์ คือถ้าหากผมเป็นศาลอุทธรณ์ จะคิดได้สองอย่าง คือ

อย่างที่หนึ่ง ไอ้ทนายความคนนี้มันเป็นอะไร หรือมันบ้า ไม่ยุ้งกับมันดีกว่ายกอุทธรณ์เลย (แฮ..ผมก็ไม่แน่ใจนะว่าผมบ้าหรือไม่ ไม่กล้าตอบ เพราะมีใครคนหนึ่งเคยบอกว่าถ้าเราบอกว่าเราไม่บ้าแสดงว่าเราบ้าแน่ๆ   ฮา...)

อย่างที่สอง คดีนี้มันมีอะไร นะ ทนายความถึงได้ยื่นคำร้องลักษณะนี้ ทำไมศาลชั้นต้นถึงไม่ยอมไต่สวนคำร้องให้ มันมีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องถึงไม่ไต่สวน แสดงว่าต้องมีอะไรที่ฝ่ายโจทก์ไม่เข้าใจหรือไม่เห็นด้วยแต่ศาลไม่ไต่สวนให้ แล้วถ้าไม่เห็นด้วยแล้วทำไมไม่อุทธรณ์ขึ้นมาเลย หรือโจทก์ต้องการบอกอะไรศาลอุทธรณ์

เห็นแนวคิดของผมหรือยังครับ แนวคิดนี้ผมแจ้งให้ท่านลูกค้าทราบก่อนดำเนินการครับ

พักสายตาสักเดี๋ยวนะครับ

ไปต่อนะครับ

เมื่อผมยื่นคำร้องไปเป็นครั้งที่ สี่ ปรากฎว่า ท่านผู้พิพากษาให้จ่าศาลตามตัวผมไปพบ และถามเหตุผลกับผมว่าต้องการอะไรถึงได้ยื่นคำร้องวิธีนี้ แล้วคิดว่าจะเกิดประโยชน์หรือ ผมจึงกราบเรียนท่านผู้พิพากษาไปว่า ผมจำเป็นต้องทำเพื่อแสดงให้ทราบว่ามีความเดือดร้อนจำเป็นจริงๆ เพราะความขัดแย้งระหว่างโจทก์กับจำเลย จะเป็นเหตุให้บุคคลภายนอก(คือลูกค้าของโครงการ) ได้รับผลกระทบ โจทก์ทำโครงการก็หวังกำไรที่จะได้จากการได้โอนบ้านพร้อมที่ดินให้ลูกค้า และเชื่อว่าจำเลยเองก็หวังจะได้เงินต้นและดอกเบี้ยจากโจทก์  แต่เมื่อเกิดวิกฤติการเงินโลกขึ้นจึงมีผลกระทบต่อกันจนต้องนำคดีมาฟ้องศาล ซึ่งในสภาวะวิกฤติเช่นนี้โจทก์ไม่ประสงค์จะให้เกิดขึ้นและผมเชื่อว่าจำเลยก็เช่นกัน แต่เมื่อผมดำเนินการตามวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว ศาลไม่ได้ไต่สวนคำร้องให้ ผมก็จำเป็นต้องดำเนินการตามที่เหมาะสม

ท่านผู้พิพากษาถามผมต่อว่าถ้าไม่ไต่สวนแล้วจะยื่นคำร้องเช่นนี้ตลอดไปหรืออย่างไร

ผมเรียนตอบท่านว่าคงไม่ได้ทำเช่นนี้ตลอดไป แต่คงทำไปสักระยะหนึ่งแล้วจะไปต่อ    (ผมเรียนเพียงเท่านี้ ผมเข้าใจว่าท่านผู้พิพากษาคงเข้าใจเจตนาของผมว่า ไปต่อหมายถึงทำอย่างไร)

 ท่านผู้พิพากษาจึงแจ้งผมว่าให้ผมรับเอาคำร้องทุกฉบับที่ยื่นมาคืนไปแล้วให้ยื่นมาใหม่ จะไต่สวนให้ถามผมว่าพร้อมหรือไม่

ผมเรียนท่านไปว่าพร้อมยื่นใหม่ได้ทันที พยานก็พร้อม เมื่อไต่สวนแล้วคำร้องผมไม่มีเหตุเพียงพอผมก็จะไม่อุทธรณ์หรือยื่นคำร้องอีก

ปรากฎว่า เวลา 13.00 นาฬิกา ศาลทำการไต่สวนคำร้องให้ผมครับ แต่มีทนายจำเลยมาซักค้านด้วยครับก็ยังแปลกอยู่ดีเห็นหรือยัง ( ที่ผมบอกว่าแปลกเพราะปกติแล้ว คดีที่ขอไต่สวนเป็นกรณีฉุกเฉิน จะเป็นการขอฝ่ายเดียว คู่ความอีกฝ่ายไม่มีทางจะทราบและไม่มีการซักค้านแต่คดีนี้มี )

สิ่งที่ผมขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา คือให้จำเลยส่งมอบโฉนดมาไว้ที่ศาล แล้วโจทก์จะนำเงินจำนวน 75 % ของยอดที่ลูกค้าต้องชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์มาวางศาลแล้วรับโฉนดจากศาลไปโอน แล้วให้จำเลยนำเงินจำนวนนี้ไปหักชำระเงินต้น ส่วนดอกเบี้ยให้รอคำพิพากษาของศาล  

ผมนำพยานเข้าสืบไปได้ทั้งหมด 15 ปาก ศาลถามว่าพยานที่เหลือก็จะเบิกความในประเด็นและข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันหรือไม่ ผมเรียนไปว่าใช่ ศาลจึงสั่งตัดพยานบอกข้อเท็จจริงที่ได้เพียงพอจะวินิจฉัยได้แล้ว ทนายจำเลยจึงแถลงศาลว่าจะขอนำพยานมาสืบหักล้างพยานของโจทก์ ผมจึงแถลงคัดค้านไปว่าไม่มีกระบวนวิธีพิจารณาให้จำเลยนำพยานเข้าสืบในกรณีเช่นนี้ ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีสิทธิ์นำพยานเข้าสืบในกรณีนี้เพราะเป็นการไต่สวนคำร้องฝ่ายเดียว การที่ศาลให้โอกาสจำเลยเข้ามาซักค้านถือเป็นคุณแก่จำเลยอยู่แล้ว นัดฟังคำสั่งวันนี้

ผลคำสั่ง

ให้โจทก์วางเงินประกันความเสียหายที่อาจเกิดแก่จำเลย จำนวน 35,000.-บาท และให้จำเลยนำส่งโฉนดตามรายการแนบท้ายคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษามาไว้ที่ศาลภายใน 7 วัน และให้โจทก์นำเงินจำนวน 80 % ของจำนวนเงินที่โจทก์จะได้รับในวันโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ซื้อบ้านพร้อมที่ดินของโจทก์มาวางศาลก่อนรับโฉนดไปโอนกรรมสิทธิ์แต่ละแปลง  เงินที่โจทก์นำมาวางให้จำเลยรับไปหักชำระเงินต้น คำขออื่นให้ยกค่าธรรมเนียมเป็นพับ 

เห็นหรือยังครับที่ผมบอกว่า ยุติธรรมคือศาสตร์

คราวหน้าจะเล่าเรื่อง

ผัว-เมีย ตีกัน ฉันคือเทวดา

ผัว-เมีย ดีกัน ฉันคือ .......(อยากให้เป็นอะไรเติมเอานะ)

หมายเลขบันทึก: 328079เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2010 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีค่ะ

อ่านสนุกได้ความรู้เข้าใจง่ายดีค่ะ

สวัสดีครับ

ต้องขอบคุณที่นำเอาประการณ์จริงมาเผยแพร่ อยากให้นำคดีชาวบ้านที่ต้องพบบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะอ่านจากเรื่องเข้าใจง่ายดีครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ คุณมยุรี

ขอขอบพระคุณครับที่แวะมาอ่านและให้กำลังใจ

ก็พยายามเขียนให้อ่านและเข้าใจกฎหมายอย่างง่ายๆนะครับเพิ่อจะยังประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไปบ้าง

สวัสดีค่ะ

  • รู้สึกว่าไม่เจอท่านนานมากแล้วเหมือนกันค่ะ..
  • แต่วันนี้มาพร้อมกับบันทึกที่เต็มไปด้วยความรู้มากมาย.. แบบเจาะลึก (สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้)
  • ยุติธรรมคือศาสตร์...ที่ล้ำลึกจริงๆค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีปีใหม่ครับ ท่านคุณคูรโมก ขอขอบพระคุณที่แวะมาให้กำลังใจครับ ผม เปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน ตามที่ท่านบันทึกไว้ในบทความของท่านครับ เดิมได้แต่ติดตามอ่านเรื่องและประสบการณของท่านอื่นๆ เลย เปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน ครับ

คือคิดทำดีมากขึ้น ตามวิธีการที่ถนัดครับ

นักเรียนของคุณครูเป้นไงบ้างครับ หวังว่าไปต่อได้นะครับ

สวัสดีปีใหม่ครับคุณน้องซิลเวีย

ขอบคุณครับที่ติดตามให้กำลังใจ

ผมไม่ได้หายไปใหนยังคงติดตามอ่านบันทึกของทุกท่านอยู่เท่าที่มีเวลา

คุณน้องซิลเวียเองก็พัฒนาวิธีการนำเสนอได้ดีขึ้นมากครับ ปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ดีทีเดียว

เปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน ตามที่ท่านโมก ว่าจิง จิง แฮ...

นึกว่าหายไปไหน ^^

ขอบคุณสำหรับความรู้ และประสบการณ์ดีๆที่นำมาแบ่งปันกับครับ คุณชาวฝนแปดแดดสี่

สวัสดีปีใหม่ครับ ท่านเอิร์ท ขอขอบพระคุณที่ติดตามอ่านบันทึกนะครับ

(ไม่ได้หายไปไหนครับ แอบพาคุณผู้หญิงไปบอกต่อเรื่องร้านอาหารนะ อิ.อิ)

ตั้งแต่ผ่านปีใหม่มาแล้วครับมีภาระกิจที่ต้องจัดการตามหน้าที่มากหลาย

เลยทำให้สมองไม่มีช่องว่างให้เขียนบันทึก แต่ก็ยังติดตามอ่านบันทึกของชาว G2K 

ให้สัญญาว่าจะเขียนบันทึกเล่าประสบการณ์เป็นประจำครับ

ตั้งใจจะเขียนให้ได้ทุกวันอังคาร จิง. จิง. นะ

กว่าจะเสร็จแต่ละคดี เหนื่อยแย่เลยนะครับ เป็นกำลังใจครับ สู้สู้ๆ แล้วมาเขียนใหม่นะครับ ผมชอบอ่าน

สวัสดีครับท่าน บีเวอร์

ขอขอบพระคุณที่แวะมาให้กำลังใจครับ

การทำคดีถึงจะเหนื่อย แต่ผมว่ามันน่าสนุกครับ

คือผมชอบงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะในการแก้ไขปัญหาครับ

ทำสำเร็จก็มีความสุข แต่บ้างครั้งจำเลยคดีอาญาต้องจะแพ้คดี ก็เศร้าครับ (ส่วนมากจะพอคาดได้ก่อนแล้ว)

ผมตั้งใจจะเขียนบันทึกทุกวันอังคารครับ ก็พยายามเล่าจากประสบการณ์นะครับ

แต่ก็มีความจำเป็นที่ต้องปกปิดชื่อบุคคลท่านที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความเสียหายครับ

ขอบคุณนะคะ ที่แวะไปทักทาย

แต่ ไม่ได้หลอกเลยนะคะ แค่ติดตามตอนต่อไปเท่านั้นเอง อิอิ

ขอบคุณค่ะ สำหรับเรื่องราวดีๆมีสาระ แต่นู๋ อ่านไม่จบหรอกค่ะ อิอิ

บีบหัวใจ จริงๆ....^_^....

ขอบคุณเรื่องเล่าดีๆ ค่ะ

สวัสดีครับ คุณโซล คนหัวใจงาม

ขอขอบพระคุณที่แวะมานะครับ

ผมรอดมกลิ่นกาแฟอยู่นะครับ

คนสวยก็เป็นงี้แหละ หลอกให้ยาก..(รู้) แล้วจากไป อิ.อิ

สวัสดีครับคุณอิง คนงาม หน้าตาดี

ขอขอบพระคุณที่แวะมานะครับ

กำลังจะกลับไปแวะดูภาพอีกครั้งครับ

ขอบอกกล่าวชาว G2K ว่า คุณอิงหน้าตามดี จิง. จิง. นะ

อ่านเข้าใจง่ายดีคะ

ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้และสาระดีๆ

สวัสดีครับคุณpoonychicstyle

ขอขอบพระคุณที่แวะเยี่ยมนะครับ

ที่เขียนบันทึกก็พยายามนำเอาประสบการณ์มาร้อยเรียง

เพื่อให้ท่านที่ไม่ได้เป็นนักกฎหมายได้มีโอกาสเรียนรู้กฎหมายแบบง่ายๆ

แต่ก็คงไม่ได้ทั้งหมด พยายามนำเอาเรื่องที่ทุกท่านอาจต้องพบเจอมานำเสนอ

เออ...นามปากกาของคุณ อ่านว่าอย่างไรครับ ออกเสียงไม่ถูก

ไปต่างประเทศใช้วิธีถือป้าย can not speak English

ไม่ถูกถามไม่ถูกตรวจจาก Immigration แต่ถูกจับขังเลย ฮา....

อ่านมาสองเรื่องแล้วค่ะ ถึงผัวเมียตีกัน แต่บันทึกนั้นไม่ได้เม้นท์ค่ะ และขออนุญาตอ่านย้อนหลังลงไปนะคะ ชอบ สนุก ท้าทาย มีลุ้น และจบด้วยดี ขอบคุณที่แชร์ประสบการณ์ค่ะ

สวัสดีครับคุณมนัสนันท์

ขอขอบพระคุณนะครับที่แวะมาอ่านบันทึกครับ

ผมแวะไปจดเลขบ้านไว้ในบัญขีแล้วครับแล้วจะแวะไปเยี่ยมนะครับ

เรื่องต่างๆที่เล่าในบล็อกนี้ก็จากประสบการณ์จริงของผมนำมาร้อยเรียง

เพื่อสอดแทรกให้ได้เรียนรู้กฎหมายโดยไม่งวงนอนเสียก่อนครับ

ก็ยังไม่ทราบอนาคตว่าจะทำสำเร็จตามเจตนาหรือไม่

ผมพยายามนำเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน

เฉพาะส่วนที่ทุกคนอาจพบเจอกับกรอบวิธี

ที่กฎหมายกำหนดมาสอดแทรกให้ได้เรียนรู้กัน

ก็พยายามสรุปเรื่องไม่ให้ยาวจนาน่าเบื่อหรือสั่นจนขาดการเรียนรู้นะครับ

ขอขอบพระคุณอีกครั้งที่เป็นกำลังใจให้ครับ

บีบหัวใจจริงๆ ได้ความคิดหลายแง่มุม...ทั้งมุมทนาย ...มุมผู้พิพากษา..มุมอำนาจเงิน...และมุมยุติธรรมคือศาสตร์...ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ

สวัสดีครับคุณครูปริมปราง

ขอบคุณที่ติดตามให้กำลังใจเสมอมา...เป็นแรงใจให้เดินได้ต่อไป

หากคุณครูมีพรรคพวกเป็นนักกฎหมาย

ให้เค้าเล่าวิธีการทำคดีตามสไตล์ให้ฟังซิครับ จะพบอีกหลากหลาย

บางท่านถึงกับเป็นลมในศาล เพื่อจะได้เลื่อนคดีก็ยังมี อิ.อิ. แต่ผมไม่เอาวิธีนี้

บีบหัวใจศาล ถ้าศาลเป็นผู้หญิงจะกล้าบีบไหมคะคุณทนายแปดขาฯ ฮิ ฮิ ..

เอาการบ้านมาส่ง มีคำถามค่ะ เวลาจับภาพเมฆฟังก์ชั่น P A S M แล้วแตกกระจายล่ะคะ ขอบคุณค่ะ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท