ลัดตรงสู่สมาธิ พื้นฐานการภาวนา


เมื่อเรามีสัมปะชัญญะอย่างต่อเนื่องและธรรมชาติแล้ว เราสามารถเปิดปิดสวิสท์ทางโลกกับทางธรรมเพื่อการฝึกฝนได้อย่างสนุก

  • วันนี้ผู้รู้ได้แนะแนวทางสูตรหรือวิธีลับ(ลัด)ของการทำสมาธิ ทดลองฝึกดูแล้วได้ผลดีกว่าที่ฝึกมาทั้งชีวิต อาจจะเป็นไปได้ว่า สิ่งที่เคยฝึกมานั้น เป็นฐานให้กับสมาธิในวันนี้ก็เป็นได้
  • ตอนที่สมัยเป็นเด็ก ๆ นั้น พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านก็สอนให้เราทำสมาธิอย่างง่ายสำหรับผู้เริ่มต้น โดยการนั่งสมาธิ เราก็ปฏิบัติตามรูปแบบที่ท่านสอน เช่น การกำหนดรู้ลมหายใจ เป็นต้น ซึ่งในตอนนั้นจะเป็นการเพ่งเพื่อเอา หรือเพื่อให้บรรลุอะไรสักอย่างมากกว่า จำได้ว่า สมัยนั้นตอนที่นั่งสมาธิใหม่ ๆ นั้น ถ้าคืนไหนได้นั่ง พอตื่นขึ้นมาจะเรียนหนังสือและมีความสุขกับการดำเนินชีวิตมากขึ้น
  • แต่พอโตขึ้นมาสักหน่อยก็รู้สึกขี้เกียจ ไม่ทำ และไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทั้งนี้น่าจะเกิดจากมีวิธีการจัดการกับชีวิตด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่สะดวกและง่ายกว่า เช่น ไปเที่ยว ก็เป็นได้
  • จนตอนที่เรียน ป.เอก ได้เริ่มเข้ามาสัมผัสธรรมะอย่างแท้จริง และมีพี่ที่เรียนด้วยกันท่านแนะนำให้ฝึกวิปัสนาในชีวิตประจำวัน ก็ทดลองมาเรื่อย ๆ เป็นเวลากว่า 2-3 ปีแล้วครับ โดยจะเป็นการเน้นที่การวิปัสนาในชีวิตประจำวันมากกว่าโดยไม่นั่งสมาธิเลย ทั้งนี้เพราะตอนนั้นเข้าใจว่า การนั่งสมาธิเป็นสมรรถะ ซึ่งอาจทำให้ติดสุขแล้วพัฒนาปัญญาทางธรรมได้ช้าทำนองนั้นครับ
  • เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ เริ่มสังเกตุเห็นว่า ถ้าจะให้ก้าวหน้าขั้นต่อไปเร็วขึ้น คงต้องเอาจริงเอาจังกับการทำสมาธิให้มากขึ้น
  • และก็วันนี้เองบังเอิญได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งถึงสูตรหรือวิธีลับลัดเข้าสู่สมาธิ (เสียดายหนังสือตอนนี้อยู่ในรถไม่ได้ถือขึ้นมาด้วย พรุ่งนี้จะนำมาเขียนคำต่อคำอย่างละเอียดครับ สำหรับวันนี้เอาสรุปเท่าที่จำได้ก่อนนะครับ)

 

สมาธิ เป็น พื้นฐานสำคัญของ "สัมปะชัญญะ"

สมาธิ และ สัมปะชัญญะ เป็นพื้นฐานสำคัญของการภาวนา

การจะออกจากวัฏสงสารนั้น ต้องอาศัย สมาธิ สัมปะชัญญะ และการภาวนา

เมื่อฝึกวิปัสนาในชีวิตประจำวันมาระยะหนึ่งแล้ว เราสามารถลัดตรงเข้าสู่สมาธิในชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายดาย 

เมื่อเรามีสัมปะชัญญะอย่างต่อเนื่องและธรรมชาติแล้ว เราสามารถเปิดปิดสวิสท์ทางโลกกับทางธรรมเพื่อการฝึกฝนได้อย่างสนุก

 

 สิ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม

  • ประเด็นที่น่าสนใจ คือ แต่เดิมนั้นด้วยความไม่รู้เข้าไม่ถึงสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนไว้ ทำให้การตามดูกายดูใจของผมนั้น ทำไม่ถูกต้องนัก
  • เมื่อได้ศึกษาเพิ่มเติมในครั้งนี้ พบว่า "สัมปะชัญญะ" เป็นหัวใจสำคัญในการภาวนาเดินมรรคเลยล่ะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 328077เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2010 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท