ต้นธารแห่งศรัธทา
นิติกรชำนาญการ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการ (ปัจจุบัน) อรอนงค์ ต้นธารแห่งศรัธทา นิลธจิตรัตน์

การพิจารณากฎแหล่งกำเนิดสินค้า อาเซียน (CEPT AFTA ROO) ตามกฎข้อที่ 3 ก (2) ตอนที่ 2


(CEPT AFTA ROO)

ต่อจากตอนที่ 1 นะคะ

5 ข้อพิจารณาประเด็นข้อกฎหมาย 

           5 ข้อพิจารณาประเด็นข้อกฎหมาย

       หลักการพิจารณาประเด็นกฎหมายข้อ 3 ก 2 ประกอบข้อเท็จจริงพิจารณาดังนี้ดังนี้[1]

1 กรณีการได้แหล่งกำเนิดสินค้าของวัตถุดิบที่จัดหาได้จากพื้นที่

         การที่จะพิจารณาว่า บริษัท กฯ จะได้แหล่งกำเนิดสินค้าของวัตถุดิบที่จัดหาได้จากพื้นที่หรือหาได้จากในประเทศ  ตาม 3 ก 2 หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาบนหลักการและคุณสมบัติเงื่อนไขตามองค์ประกอบดังต่อไปนี้

พิจารณาคำว่า “วัตถุดิบที่จัดหาได้จากในประเทศ” ในกรณีของ กฯ วัตถุดิบ คืออะไร

      จากข้อเท็จจริง คำว่า “วัตถุดิบที่จัดหาได้จากในประเทศ” ในกรณีของ กฯ ก็คือเบาะนั่งภายในรถยนต์ เมื่อทราบว่าเป็นเบาะนั่งภายในรถยนต์ ก็ต้องมาพิจารณาต่อว่า เบาะนั่งภายในรถยนต์ดังกล่าว “ผลิตโดยผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาต”หรือไม่ โดยต้องพิจารณาดังนี้

หลักการของการพิจารณา วัตถุดิบ/ วัสดุ/ ชิ้นส่วนในประเทศ มีหลักดังนี้ [2]

วัตถุดิบที่ไดถิ่นกําเนิด”ในประเทศ

-                        ผลิตในประเทศ และ

-                        ผลิตถูกต้องตามกฎถิ่นกำเนิด

จากหลักการพิจารณาวัตถุดิบ/ วัสดุ/ ชิ้นส่วนในประเทศที่จะได้ถิ่นกำเนิดสินค้า นั้น มีข้อพิจารณาดังนี้

1 บริษัท ข (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตเบาะนั่งภายในรถยนต์ ในประเทศผู้ส่งออกหรือไม่

2 บริษัท ข (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตโดยผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตหรือไม่

3 การเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตของบริษัท ข (ประเทศไทย)จำกัด เป็นไปตามกฎระเบียบภายในประเทศหรือไม่

จากข้อเท็จจริง บริษัทกฯ ชี้แจงว่า

1 บริษัท ข (ประเทศไทย) จำกัด เป็น (ผู้ผลิตวัตถุดิบ(เบาะนั่งภายในรถยนต์)ในประเทศไทย และ

2 บริษัท ข (ประเทศไทย) เป็นผู้ผลิตโดยผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาต

3  การได้รับอนุญาต บริษัท ข (ประเทศไทย) นั้น เป็นไปตามกฎหมายภายใน เนื่องจาก บริษัทมีแบบรง.4

แบบ รง 4 คือ ใบประกอบอนุญาตโรงงานจำพวกที่ 3 เป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2534

มาตรา 7 กำหนดว่า ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้โรงงานตามประเภทชนิดหรือขนาดใดเป็นโรงงานจำพวกที่ 1 โรงงานจำพวกที่ 2 หรือโรงงานจำพวกที่ 3 แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการควบคุมดูแล การป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ การป้องกันความเสียหาย และการป้องกันอันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่ จะมีต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งออกเป็นดังนี้

ม. 7 (3) ประเภทโรงงาน 3 ได้แก่โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่การตั้งโรงงานจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้ เมื่อมีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 32 (1) ให้โรงงานที่กำหนดในประกาศดังนี้

มาตรา 32 เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง ความปลอดภัย ของประเทศหรือของสาธารณชนให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเรื่องดังต่อไปนี้

1) กำหนดจำนวนและขนาดของโรงงานแต่ละประเภทหรือชนิดที่จะให้ตั้งหรือ ขยาย หรือที่จะไม่ให้ตั้งหรือขยายในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง

(2) กำหนดชนิด คุณภาพ อัตราส่วนของวัตถุดิบ แหล่งกำเนิดของวัตถุดิบ และหรือปัจจัยหรือชนิดของพลังงานที่จะนำมาใช้หรือผลิตในโรงงาน   

3) กำหนดชนิดหรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในโรงงานที่จะให้ตั้งหรือ ขยาย

 (4) กำหนดให้นำผลผลิตของโรงงานที่จะให้ตั้งหรือขยายไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทหรือให้ส่ง ผลผลิตออกนอกอาณาจักรทั้งหมดหรือบางส่วน

ข้อสรุปเบื้องต้น  หากพิจารณา จากองค์ประกอบกฎหมายแล้ว ย่อมเห็นได้ว่า วัตถุดิบ เบาะนั่งภายในรถยนต์ ของบริษัท ข ประเทศไทย) ย่อมได้แหล่งกำเนิดสินค้าตาม 3  ก  2 (ตามหลักการได้ถิ่นกำเนิดสินค้าของวัตถุดิบที่จัดหาได้จากในประเทศ)

แต่ในหลักการพิจารณาต้องนำหลักกฎหมายมาพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงเสมอ

          สำหรับกรณี บริษัท กฯ กล่าวอ้างหลักการได้ถิ่นกำเนิดสินค้าของวัตถุดิบ ตาม กฎข้อที่  ก 2  

ดังนั้น กรณีนี้จึงต้องพิจาณาหลักของการพิจารณา วัตถุดิบ/ วัสดุ/ ชิ้นส่วนในประเทศ ว่า

วัตถุดิบที่ไดถิ่นกําเนิด ในประเทศ ต้องประกอบด้วย 2 เงื่อนไขด้วยกัน คือ

      1 ผลิตในประเทศ หรือไม่ และ

      2 ผลิตถูกต้องตามกฎถิ่นกำเนิด

ข้อพิจารณาที่ 1 ผลิตในประเทศหรือไม่

1.ข้อเท็จจริงในประเด็นวัตถุดิบที่จัดหาได้จากในประเทศ ในที่นี้คือ วัตถุดิบที่ประกอบเป็นเบาะนั่งภายในรถยนต์ ในเงื่อนไขว่าผลิตในประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเห็นได้ว่าข้อเท็จจริงฟังยุติได้แน่นอนว่า บริษัท  (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตเบาะนั่งฯ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออก

      ข้อพิจารณาดังกล่าวจึงไม่มีปัญหาให้พิจารณา

ข้อพิจารณา ที่ 2 ผลิตถูกต้องตามกฎถิ่นกำเนิดหรือไม่

คำว่าผลิตถูกต้องตามถิ่นกำเนิดหรือไม่ นั้น ต้องพิจารณาประเด็นผลิตอย่างง่ายหรืออย่างยาก

          ตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าถ้าเป็นการผลิตอย่างง่ายไม่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้า แต่หากเป็นการผลิตอย่างยากก็ได้ถิ่นกำเนิดสินค้า

      สำหรับกรณี กฯ กล่าวอ้างว่า บริษัทได้ถิ่นกำเนิดตามกฎข้อ 3 ก 2 เพราะ ขฯ เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบโดยผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาต บริษัทฯ จึงได้ถิ่นกำเนิดสินค้าในวัตถุดิบโดยไม่ต้องพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้า 40 % อีก

      จากการศึกษาตัวบทข้อที่ 3 ก 2 เบื้องต้นสรุปได้ว่า บริษัท (ประเทศไทย) จำกัด ผลิต        เบาะนั่งฯ ในประเทศไทย โดยเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตตามกฎระเบียบภายในตามตรงตามตัวบทของกฎข้อ 3 ก (2)

      ปัญหามีว่า การที่จะได้ถิ่นกำเนิด ตามกฎข้อที่ 3  ก 2 นั้น บริษัท (ประเทศไทย) จำกัด ต้องปฏิบัติให้ครบเงื่อนไขถูกต้องตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าก่อนหรือไม่ และหากบริษัทขาดคุณสมบัติใดคุณสมบัติหนึ่งบริษัทได้หรือไม่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้า เพราะ กฎข้อที่ 3 ก 2 เป็นการได้ถิ่นกำเนิดสินค้าในวัตถุดิบที่จัดหาได้ในประเทศ ฉะนั้น มีปัญหาข้อกฎหมายให้พิจารณาดังนี้

       1 ถ้าบริษัทบริษัท (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตเบาะนั่งภายในรถยนต์ในประเทศไทยโดยเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎระเบียบภายใน กล่าวคือ มีแบบ รง.4

ถามว่า บริษัทได้ถิ่นกำเนิดสินค้าในเบาะนั่งรถยนต์เลยใช่หรือไม่ เจตนารมณ์ของกฎ 3 ก 2 เป็นอย่างนี้ใช่หรือไม่

      2. ถ้าบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตโดยผู้ประกอบการได้รับอนุญาต แต่หากบริษัทปฏิบัติไม่ครบองค์ประกอบคุณสมบัติที่จะได้แหล่งกำเนิดสินค้าในวัตถุที่หาได้จากในประเทศ ตามกฎข้อที่  3 ก  2 ถามว่า  บริษัทจะยังได้แหล่งกำเนิดสินค้านั้น หรือไม่  เพราะหลักการได้ถิ่นกำเนิดสินค้าตามกฎข้อที่ 3  ก 2 เป็นการได้ถิ่นกำเนิดสินค้าในวัตถุที่จัดหาได้ภายในประเทศ

องค์ประกอบของ 3 ก 2 ที่จะได้แหล่งกำเนิดสินค้านั้น กฎข้อ 3 ก 2 กำหนดไว้ชัดเจนว่า

.      1 เป็นวัตถุที่หาได้จากในประเทศ และ 2 ผลิตถูกต้องตามกฎถิ่นกำเนิด  จึงมีข้อพิจารณาว่า

Ωเบาะนั่งภายในรถยนต์ ยอมรับว่า แม้บริษัท ข ผลิตในประเทศไทย มีใบประกอบการอนุญาต ตามกฎระเบียบภายในประเทศไทยก็ตาม  แต่มีข้อพิจารณาในองค์ประกอบของข้อกฎหมายว่า

2.1 ตัววัตถุดิบ/วัสดุ/ ชิ้นส่วนที่ บริษัท ข นำมาเพื่อผลิตประกอบเป็นเบาะรถยนต์ฯ นั้น บริษัทขฯ ©“จัดหาได้ในประเทศไทยใช่หรือไม่©

      เหตุผลในการพิจารณาประเด็นดังกล่าว เพราะถ้าวัตถุจัดหาได้ในประเทศไทย ประเด็นองค์ประกอบของข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นอันตกไป ไม่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาเพราะหากเป็นวัตถุที่จัดหาได้จากในประเทศ ก็ได้แหล่งกำเนิดสินค้า ตามข้อ 3 ก 2 โดยไม่มีข้อเคลือบแคลงสงสัย(จากฝ่ายเจ้าหน้าที่กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ ฝ่าย ก)

            2.2. คำว่า “ผลิตถูกต้องตามกฎถิ่นกำเนิด”  ยังมีข้อสงสัยว่า เจตนารมณ์ตามกฎข้อที่ 3 ก 2 นั้น เพียงแค่ผลิตโดยผู้ประกอบการได้รับอนุญาต ตามกฎระเบียบภายใน ก็ถือว่าได้แหล่งกำเนิดสินค้าตามกฎข้อที่ 3 ก 2 เลยใช่หรือไม่ ©หรือยังต้องพิสูจน์ว่า คำว่าผลิตตามที่ปรากฏในข้อที่ 3 ก 2© นั้น ยังจะต้องมาพิสูจน์ว่า “เป็นการผลิตอย่างง่ายหรือเป็นการผลิตอย่างยากอีกมั้ย” © เพราะหลักการได้แหล่งกำเนิดสินค้า ตามหลัก CEPT หากเป็นกระบวนการผลิตอย่างง่ายไม่ถือว่าได้แหล่งกำเนิดสินค้าในอาเซียน แต่ถ้าเป็นการผลิตอย่างยากย่อมได้แหล่งกำเนิดสินค้า ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับการพิสูจน์ Local Contents 40%) แค่พิสูจน์ว่าผลิตอย่างง่ายหรือผลิตอย่างยากเท่านั้น

ข้อสรุปของคำถาม คือ ยังมีข้อสงสัยจากฝ่ายผู้จับและฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ไม่เห็นด้วยกับกฯ ยังสงสัยว่า ©เจตนารมณ์ที่แท้จริงของ ข้อ 3 ก 2 นั้น ยังต้องนำหลักเกณฑ์ที่ว่า ผลิตถูกต้องตามกฎแหล่งกำเนิดสินค้า คือผลิตอย่างยากหรือผลิตอย่างง่ายมาพิจารณาตามเจตนารมณ์หลักในความตกลงของกฎ CEPT อีกหรือไม่ หรือลำพัง ©©เพียงกฎข้อ 3 ก 2มีเจตนารมณ์เพียงแค่ผลิตโดยผู้ประกอบการได้รับอนุญาตตามกฎหมายภายใน ก็ให้ถือว่าย่อมได้ถิ่นกำเนิดสินค้าตามกฎข้อ  3 ก  2 แล้ว ©©ให้ถือเป็นข้อยกเว้นกฎหลักใช่หรือไม่เพราะ [3] เงื่อนไขของกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าอุตสาหกรรมให้ใช้เกณฑ์ Wholly-Obtained หรือ Single Country Local Content   ร้อยละ 40

                §(ประเด็นข้อนี้ยังมีการคัดค้านกจากฝั่งผู้จับและเจ้าหน้าที่บางคนที่ไม่เห็นด้วยกับ กฯ โดยมีการนำอ้างเอกสารอันจะกล่าวต่อไป)  §

ข้อพิจารณาที่ 3 อย่างไรก็ตาม หากวัตถุไม่ใช่เป็นวัตถุที่จัดหาได้จากในประเทศ ก็ไม่จำเป็นต้องมาพิจารณาคำว่าผลิตใช่หรือไม่ เพราะไม่เข้าองค์ประกอบของหลักการได้ถิ่นกำเนิดสินค้าวัตถุที่หาได้จากในประเทศ ตาม ข้อ 3 ก  2 เมื่อองค์ประกอบแรกขาดหายเสียแล้วก็ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์องค์ประกอบ 2 หรือ 3 ในกรณีดังกล่าว     

ข้อพิจารณาที่ 4 หากไม่ใช่เป็นวัตถุที่จัดหาได้ในพื้นที่ก็ต้องไปพิจารณาอีกกรณีหนึ่งคือ กรณีของการได้ถิ่นกำเนิดของวัตถุที่ได้จากในประเทศที่หาได้จากแหล่งอื่น โดยต้องพิจารณาว่าถ้าเป็นวัตถุที่ได้จากในประเทศที่ได้มาจากแหล่งอื่น การที่วัตถุที่ได้จากในประเทศที่ได้มาจากแหล่งอื่น นั้น จะได้แหล่งกำเนิดสินค้าก็ต่อเมื่อตัววัตถุนั้นต้องผ่านการพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้เงื่อนไขของถิ่นกำเนิดสินค้าที่มีสิทธิได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้ง        เขตการค้าเสรีอาเซียน ข้อพิจารณามีว่า

      4.1 การพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้เงื่อนไข CEPT ต้องกลับไปพิจารณาคุณสมบัติของสินค้าส่งออกที่จะได้รับสิทธิลดภาษี CEPT ต้องมีคุณสมบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้า คือ จะต้องมีสัดส่วนของวัตถุดิบและต้นทุนในประเทศสมาชิก (ASEAN Content ) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 เทียบกับราคา FOB ของสินค้าส่งออก  และ

4.2      วัตถุดิบที่ผลิตนั้น เป็นการผลิตอย่างง่ายหรืออย่างยาก

4.3      หน่วยงานใดเป็นผู้รับรองว่าผลิตอย่างยากหรืออย่างง่าย

      4.4 จะต้องใช้หลักเกณฑ์การขนส่งโดยตรงภายใต้ข้อตกลง CEPT

      4.5 มีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ D (Form D) ที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้ไปแสดงต่อศุลกากรของประเทศอาเซียนผู้นำเข้า

      อนึ่ง คุณสมบัติใน ข้อ 4.5 เป็นคนละเงื่อนไขและคนละคุณสมบัติกับเงื่อนไขใน ข้อ 4.2 และ 4.3  เพราะแม้ว่า กรมการค้าต่างประเทศจะตรวจรับรองต้นทุนวัตถุดิบแหล่งกำเนิดสินค้าและออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ D (Form D) ให้ก็ตาม แต่ถ้าหากบริษัทยังไม่ได้พิสูจน์ว่าสินค้านั้นผลิตอย่างง่ายหรืออย่างยากโดยให้สถาบันยานยนต์เป็นผู้รับรอง เงื่อนไขการได้แหล่งกำเนิดสินค้าก็ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ตามกฎแหล่งกำเนิดสินค้า ตามกฎข้อ 3 ก 2 ใช่หรือไม่ เพราะ หากกรมศุลกากรไม่เชื่อแหล่งกำเนิดสินค้า กรมศุลกากรก็ย่อมร้องขอให้สถาบันยานยนต์เป็นผู้พิสูจน์รับรองให้ได้ว่าตัววัตถุดิบที่ได้จากในประเทศที่ได้มาจากแหล่งอื่นนั้นเป็นการผลิตอย่างยากหรืออย่างง่าย  แต่ถ้า บริษัท ก ชี้แจงว่าข้อเท็จจริงฟังยุติแล้วว่า ตัววัตถุ/ วัสดุ/ ชิ้นส่วนที่จัดหาได้จากประเทศที่ได้มาจากแหล่งอื่นสถาบันยานยนต์ได้รับรองให้แล้ว บริษัท ก ก็ย่อมได้ถิ่นกำเนิดสินค้าทันทีตามกฎข้อที่ 3 ก 2 ถ้าเป็นเช่นนี้กรมศุลกากรหมดหนทางสู้แล้ว

สรุปได้ว่า หากกรณีข้อเท็จจริงฟังได้ว่า วัตถุที่บริษัทฯ ข ใช้ผลิตเบาะนั่งภายในรถยนต์เป็นกรณีของการได้แหล่งกำเนิดสินค้าจากในประเทศที่หาได้จากแหล่งอื่น ต้องดูว่า

       1 ตัววัตถุ/ วัสดุ/ ชิ้นส่วนที่หาได้จากในประเทศที่ได้มาจากแหล่งอื่นนั้น สถาบันยานยนต์รับรองให้บริษัทแล้วหรือยัง เพราะความตกลงCEPT บอกว่า การรับรองนั้นให้รับรองโดยหน่วยงานของรัฐตามกฎระเบียบภายในประเทศนั้น ฉะนั้นหากสถาบันยานยนต์รับรองตัววัตถุ/ วัสดุ/ ชิ้นส่วนที่หาได้จากในประเทศที่ได้มาจากแหล่งอื่น ให้แก่บริษัทขแล้ว ย่อมถือว่าบริษัทได้แหล่งกำเนิดสินค้าตาม กฎ 3 ก 2 แล้ว ไม่ต้องไปพิสูจน์เงื่อนไขใดแล้ว

       2 ถ้าตัววัตถุ/ วัสดุ/ ชิ้นส่วนที่หาได้จากในประเทศที่ได้มาจากแหล่งอื่นนั้น สถาบันยานยนต์ยังไม่รับรองให้ต้องกลับไปยังจุดเริ่มต้นคือต้องไปพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้าตามเงื่อนไขในข้อ 4.1-4.5

      ©สาเหตุที่ต้องพิจารณาข้อกฎหมายประกอบข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าว เพราะสืบเนื่องจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ ก และมติของคณะหนึ่ง นำอ้างเอกสารว่า การได้ถิ่นกำเนิดสินค้า ซึ่งผลิตโดยผู้ ประกอบการที่ได้รับอนุญาตตามกฎระเบียบภายใน นั้น ก็ยังไม่ถือว่าได้ถิ่นกำเนิดสินค้าตาม กฎข้อ 3 ก 2   เพราะยังต้องไปพิสูจน์ Locally procured Material ตามข้อความที่ปรากฎในเอกสารดังต่อไปนี้©

 

       [4]1. เอกสารภาษาอังกฤษ เรื่อง นี้คือ ROO ที่รองรับคำสั่งกรมฯ ที่ 45/2549

RULE 3Not Wholly Produced or Obtained

(ii) Locally-procured materials  produced by established licensed manufacturers, in compliance with domestic regulations, will be deemed to have fulfilled the CEPT origin requirement; locally-procured materials from other sources will be subjected to the CEPT origin test for the purpose of origin determination. 

เป็นข้อความเดียวกับกฎข้อ 3 ซึ่งสรุปได้ว่า 1.วัตถุดิบที่หาได้จากในประเทศ นั้น  (1)ผลิตโดยผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาต (2) ตามกฎระเบียบภายในประเทศ  จะถือว่าได้ถิ่นกำเนิดตามข้อกำหนดถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน

. ส่วนวัตถุดิบที่หาได้จากในประเทศที่ได้มาจากแหล่งอื่น ๆ(1)  จะต้องผ่านการพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้เงื่อนไขถิ่นกำเนิดของสินค้าที่มีสิทธิได้รับสิทธิพิเศษฯ (2) ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอันตราอากรร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน   

      2 .REPORT OF THE FIFTH MEETING OF THE TASK FORCE ON THE CEPT AFTA RULE OF ORIGIN 21-22 JULY 2003 JARKARTA INDONISIA ในวาระ 3.3  ใน 25 -28   (ดูในเอกสารแนบ 2) [5]

                          จากการศึกษาเจตนารมณ์ในเอกสารการประชุม TASK FORCE ON THE CEPT AFTA RULE OF ORIGIN 21-22 JULY 2003 JARKARTA INDONISIA ในวาระ 3.3 ใน 25 -28    แล้วย่อมเห็นได้ว่า ใน 25-27 ข้อบทภาษาอังกฤษอ่านแล้วพอจะสรุปได้ว่า

      1  Locally- procured Material ตามที่ปรากฏในกฎข้อ 3 ก 2 นั้น วัตถุดิบที่จัดหาได้ในพื้นที่โดยเจตนารมณ์ของความตกลงแล้ว ยังต้องพิสูจน์ความเป็น Local Content   ร้อยละ 40 อยู่ (ข้อ 25) แต่ทั้งนี้ต้องไปดู ใน 28 ประกอบด้วย ว่าการพิสูจน์ Local Content   ร้อยละ 40  ในกรณีของ Locally procured Material produced by established licensed manufacturers”  ตามกฎข้อ 3 ก 2 นั้น หากดูจาก วาระ 3.3 Origin Determinations for Locally- procured Material ใน 28

       3.3 ใน 28 กล่าวว่า “In this regard, Meeting agree that Locally-procured materials  produced by established licensed manufacturers, in compliance with domestic regulations, will be deemed to have fulfilled the CEPT origin requirement; locally-procured materials from other sources will be subjected to the CEPT origin test for the purpose of origin determination The Meeting further agree that such originate locally-procured materials will enjoy identical treatment as ASEAN originating imported material For the purpose of verification by National Authorities, self-declaration by the final manufacturers exporting under the CEPT shall be basis for verifying origin”[6]

      เมื่อพิจารณาจากข้อความ ใน 28 แล้ว สรุปได้ว่า การพิสูจน์ Locally-procured materials  produced by established licensed manufacturers, นั้น มีวัตถุประสงค์หรือเจตนาดังนี้                    

หากเป็นวัตถุดิบที่จัดหาในพื้นที่ (locally-procured) และ ผลิตโดยผูผลิตที่จดทะเบียนถูกตองตามกฎหมายภายในนั้นจะถือวาเปนวัตถุดิบที่ไดแหลงกําเนิดตามความตกลงวาดวยการใชอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากันของอาเซียน สวนวัตถุดิบที่จัดหาในพื้นทีจากแหลงผลิตอื่นๆ นั้น จะตองผานการตรวจแหลงกําเนิดตามความ     ตกลงวาดวยการใชอัตราภาษีศุลกากรที่เทากันของอาเซียน เพื่อวัตถุประสงคของการกําหนดแหลงกําเนิด

2. เมื่อพิจารณาเอกสารตาม หลักการ ที่มา เจตนารมณ์ และวัตถุประสงค์ ตามกฎข้อที่ 3 ก 2 แล้ว นั้น สรุปได้ว่าในกรณีของบริษัท กฯ ต้องพิจารณาคุณสมบัติตามองค์ประกอบดังนี้  

ข้อพิจารณาคุณสมบัติข้อที่ 1 “บริษัท ขฯ ผลิตเบาะนั่งภายในรถยนต์ในประเทศไทยโดยเป็นผู้ผลิตที่ได้รับอนุญาตจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายภายใน ใช่หรือไม่”

    จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า  ใช่ ดังนั้น เข้าองค์ประกอบของข้อพิจารณาตามหลักกฎหมายข้อที่ 1

ข้อพิจารณาคุณสมบัติข้อ ที่ 2  “วัตถุดิบที่บริษัท ขฯ นำมาเพื่อผลิตเป็นเบาะนั่งภายในรถยนต์ นั้น เป็นวัตถุดิบที่จัดหาได้ในพื้นที่ หรือเป็นวัตถุดิบที่จัดหาในพื้นที่ที่ได้จากแหลงผลิตอื่นๆ

  ข้อพิจารณา 2.1 ถ้าวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นเบาะนั่งภายในรถยนต์เป็นวัตถุดิบ/ วัสดุ/ ชิ้นส่วน จัดหาได้ในประเทศ (จัดหาได้ในพื้นที่) บริษัท ขฯ ก็ได้แหล่งกำเนิดสินค้าตามกฎข้อ 3 ก 2 ของ CEPT AFTA ทันที (โดยไม่ต้องพิสูจน์ถิ่นกำเนิดสินค้าและไม่ต้องพิสูจน์คำว่าผลิตอย่างยากหรืออย่างง่ายอีกต่อไปใช่หรือไม่)§ [7]เหตุที่ผู้ศึกษากล่าวเช่นนี้เป็นเพราะผู้ศึกษาพิจารณาจากเอกสารประกอบข้อ 3 ก 2 ในเอกสารรายงานการประชุมและจากการที่ผู้ศึกษาอ่านตัวบทภาษาอังกฤษคำว่าวัตถุดิบที่จัดหาได้ในพื้นที่กับคำว่าวัตถุดิบที่จัดหาได้ในประเทศที่ได้มาจากแหล่งผลิตอื่น ๆ ตัวบทฉบับภาษาอังกฤษมีเงื่อนไขรายละเอียดการได้ถิ่นกำเนิดสินค้าต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งหากดูจาเจตนารมณ์ของคำว่า วัตถุดิบที่จัดหาได้ในประเทศเพียงผลิตในประเทศผู้ส่งออกมีใบประกอบอนุญาตรับรองตามกฎหมายภายในย่อมได้แหล่งกำเนิดสินค้าโดยไม่มีเงื่อนไขใดต่อ นั้นแสดงว่าเจตนารมณ์ของ กฎ 3 ก 2 ในส่วนของการได้ถิ่นกำเนิดสินค้าในวัตถุที่จัดหาได้ในประเทศหากผู้ผลิตมีคุณสมบัติครบถ้วนตามองค์ประกอบก็ให้ได้แหล่งกำเนิดสินค้าทันที นั้นก็ย่อมหมายความว่า เจตนารมณ์ข้อ 3 ก  2 ในส่วนดังกล่าว ให้ถือเสมือน กฎการได้แหล่งกำเนิดสินค้าโดยหลักเกณฑ์การแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation: ST)สินค้าได้ผ่านกระบวนการผลิตที่ถือได้ว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญ ซึ่งหากกระบวนการผลิตที่สำคัญเกิดขึ้นในประเทศใด ประเทศนั้นจะถือเป็นแหล่งกำเนิดของสินค้าทันที ดังนั้น ©ในกรณี© สัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศไม่มีผลต่อแหล่งกำเนิดสินค้า ©สำคัญเพียงว่าเมื่อนำวัตถุดิบเข้ามาทำการผลิตแล้วเกิดการแปรสภาพอย่างเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากผลิตถูกต้องตามที่กฎหมายภายในกำหนดไว้ก็ย่อมได้แหล่งกำเนิดสินค้าเสมือนว่าได้ใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained: WO)ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ผลิตเป็นการจูงใจให้มีการผลิตสินค้าในเมืองไทยได้อย่างคล่องตัวเพื่อการไหลเวียนของเงินทุนอันเป็นการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง©ต้องตระหนักว่ากฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะความตกลงทางด้านการค้า การตีความ และเจตนารมณ์ของกฎหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่งและความตกลงในแต่ละตัวบทย่อมยืดหยุ่นกว่าความตกลงด้านความตกลงสิทธิมนุษยชนหรือความมั่นคง©(เป็นการตีความเจตนารมณ์ของผู้ศึกษาเองโดยตีความประกอบเอกสารที่กล่าวอ้าง)

       ข้อพิจารณา  2.2 ถ้าวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นเบาะนั่งภายในรถยนต์เป็นวัตถุดิบ / วัสดุ/ ชิ้นส่วนที่จัดหาได้จากในพื้นที่ที่ได้จากแหล่งผลิตอื่น ๆ บริษัท ขฯ ยังไม่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้าในตัววัตถุดิบนั้น  บริษัท ขฯจะได้แหล่งกำเนิดสินค้าก็ต่อเมื่อวัตถุดิบที่จัดหาในพื้นทีจากแหลงผลิตอื่นๆ นั้น จะตอง ผ่านการตรวจแหล่งกำเนิด ตามความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากันของอาเซียน เพื่อวัตถุประสงคของการกําหนดแหลงกําเนิด  (ทั้งนี้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์.ที่ปรากฏใน REPORT OF THE FIFTH MEE OF THE TASK FORCE ON THE CEPT AFTA RULE OF ORIGIN 21-22 JULY 2003 JARKARTA INDONISIA ในวาระ 3.3  ใน 25 -28  

 


[1]หลักการเงื่อนไขและคุณสมบัติการได้แหล่งกำเนิดสินค้าตามข้อกฎหมายว่าด้วยความตกลงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากันของอาเซียน(Agreement on Common Effective Preferential Tariff – CEPT)

[2]  งานนำเสนอ Power Point โดยวีระชัย ริชมอนด์ 12 มี.ค. 52 www.dft.go.th

[3] อ้างอิงแล้ว เรื่องเดียวกัน ดร นิลสุวรรณ ลีลารัศมี เอกสารหมายเลข 2.5 หน้า 5

[4]  เช่นเดียวกันสำหรับเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ผู้เขียนได้รับความเมตตามาจาก คุณ ธนพงษ์ ธนะโสภณ ที่กรุณาให้ผู้เขียนใช้ประกอบเป็นข้อมูลศึกษาเชิงวิชาการและเก็บไว้เป็นข้อมูลต่อยอดการศึกษากฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าเพราะผู้ศึกษาสนใจเรื่องดังกล่าว ผู้เขียนต้องขอขอบพระคุณธนพงษ์เป็นอย่างมากทั้งที่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่คุณธนพงษ์เองก็ได้รับความเมตตามาจากคุณสมบูรณ์พงศ์ พุกกะเวส เช่นกัน 

[5] เช่นเดียวกันสำหรับเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ผู้เขียนได้รับความเมตตามาจาก คุณ ธนพงษ์ ธนะโสภณ ที่กรุณาให้ผู้เขียนใช้ประกอบเป็นข้อมูลศึกษาเชิงวิชาการและเก็บไว้เป็นข้อมูลต่อยอดการศึกษากฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าเพราะผู้ศึกษาสนใจเรื่องดังกล่าว ผู้เขียนต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างมากทั้งที่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่คุณธนพงษ์เองก็ได้รับความเมตตามาจากคุณสมบูรณ์พงศ์ พุกกะเวส เช่นกัน 

[6]  เป็นข้อความจากเอกสาร อันเดียวกัน ตาม เชิงอรรถที่ 13 ใน 28 ที่ได้กล่าวอ้างไว้แล้ว

[7] เป็นความเห็นของผู้ศึกษาที่ผู้ศึกษาตีความเจตนารมณ์ของกฎหมายเองแต่ทั้งนี้ตีตามเอกสารที่ประกอบตามที่กล่าวอ้าง

หมายเลขบันทึก: 327987เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2010 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท