คำถาม..ที่ท้าทายศาสตร์ด้านการบริหารแนวตะวันออก


คนทำงานสมัยนี้จะต้องพร้อมรบ !!

งานที่ชอบกับบุคลิกที่สอดคล้อง ส่วนใหญ่คนที่มีลักษณะอย่างนี้ก็จะไปได้สวย แต่กับงานที่มีภาระมากมายต้องให้บริการกันตลอด 24 ชม.นั้น บุคลากรผู้ใดที่ใช้แล้วทำงานได้ดีก็จะถูกใช้ตลอด ในทุกรูปแบบ ใช้ซะจนลืมนึกไปว่าเค้าก็ไม่ใช่หุ่นยนต์นะ ชำรุดได้ ป่วยไข้ได้  !!

เหมือนผมไม่มีผิดเลยที่คอมพิวเตอร์เครื่องไหนใช้ดีก็ใช้กันอยู่ ใช้กันจนพัง..และก็มองหาเครื่องใหม่มาใช้แทน...แต่คนไม่เหมือนกันเค้ามีชีวิตจิตใจ  คุณล่ะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า?

 

คำถามคือผู้บริหารจะช่วยเค้าได้อย่างไร?

 

น้องเค้าทำงานได้ ปรับตัวได้เก่ง มีหน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส อัธยาศัยไมตรีดี ก็ทำให้สามารถทำงานได้ทุกที่ ทำงานได้อย่างมีความสุข

เมื่อวันเวลาผ่านไป ทักษะ ประสบการณ์ของน้องเค้าก็งอกงามและมีลักษณะที่น่าจะเป็นตัวอย่างได้อย่างดี  ถ้าทำงานไม่ได้อย่างนี้..สมัยนี้ก็อยู่กันลำบาก !!

ที่ว่าลำบากก็ลำบากท่านหัวหน้าที่จะต้องหาสถานที่ที่สบายสำหรับคนป่วย ? และยังต้องเผชิญกับคำถามเรื่องความยุติธรรมที่ดังก้องอยู่ในความคิดคำนึง จนหลายคนแก้ปัญหาแบบนี้ครับ คือ ไม่คิดต่อ.. เจ้าตัวคนทำงานก็แย่ เนื่องจากเจ้านายใช้ซะจนพัง..

เมื่อกำลังคนมีจำกัด และในจำนวนที่จำกัดก็มีคนที่ป่วยหรือไม่สามารถปฏิบัติงานตามปกติเป็นจำนวนเปอร์เซ็นท์ที่สูงทีเดียว... ก็เป็นลูกโซ่ละครับ ทำให้อัตรากำลังขาดหนักในทางปฏิบัติ ตัวเลขสถิติที่โชว์นั้นสะท้อนการขาดอัตรากำลังแต่ดีกว่าที่เป็นจริงอยู่มากทีเดียว..

เดี๋ยวนี้หลายที่ใช้ศาสตร์ด้านการบริหารเข้ามาช่วย นำเสนอตัวเลขของหน่วยงานของตนเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ กันซะเป็นมาตรฐานทีเดียว จริงๆ เกิดคำถามกับข้อมูลที่นำเสนออย่างมากๆ คิดว่าเบี่ยงเบนออกไปจากความจริงมากมาย

ในสายตาผู้บริหารคิดว่ามันธรรมดานะ..กับการอิงข้อมูลแบบนี้...แต่ถ้าท่านลองมาเป็นคนทำงาน หรือเป็นครอบครัวของคนทำงานดูจะรู้ว่า ส่วนที่เบี่ยงเบนไปนั่นมันต้องเติมกำลัง ซึ่งอ่อนล้าอยู่แล้วลงไป ผลก็คือ เกือบตายกันเลยทีเดียวละครับ...  

 

คำถามคือ เมื่อรู้อย่างนี้ จะปรับการบริหารให้พอเหมาะพอดีได้หรือไม่ อย่างไร?

 

หันมาดูคนกลุ่มที่สมัยนี้ นายจ้างเค้าต้องการหรือพวกที่จะอยู่รอดในยุคที่ทุกอย่างจะขายให้ฝรั่งกัน..ว่า น่าจะเป็นอย่างไร การทำงานของภรรยาผมก็เป็นผู้ให้บริการผู้ป่วย เค้าจะต้องมีความสามารถอย่างยิ่งยวดและมันอยู่ใต้กฎระเบียบ ความรับผิดชอบ และความเกรงใจ เค้าต้องทำงานร่วมไปกับเพื่อนๆร่วมงาน ต้องฝ่าความยากลำบากพอๆ กัน การทำงานจะต้องทำได้ในทุกสาขา และจะต้องมีความสามารถในสุนทรียสนทนากับผู้ป่วยและญาติอย่างดีและมีผลสำเร็จที่ดีด้วย

ต้องทำตัวเป็นกันชน และในส่วนลึกๆ ก็ยังต้องอดทนกับการไม่เห็นความสำคัญ...อีกด้วย

 

คำถาม น่าจะบริหารอย่างไร ให้เค้ามีความรู้สึกที่เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ?

ที่เล่ามาก็ท้าทายศาสตร์ด้านการบริหารที่เราๆ ท่านๆ ชอบกันมากมาย นะครับ...

 

คำสำคัญ (Tags): #ความสำเร็จ
หมายเลขบันทึก: 327505เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2010 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การบริหารให้ถูกใจทุกคนนั้นคงยาก แต่ผู้บริหารที่มีศิลปะครองใจคนได้ทั้งองค์กร เป็นพรสวรรค์ที่พระเจ้าประทานมาให้

ส่วนพรแสวงนั้นต้องใช้ความตั้งใจจริง มีน้ำใจ เอาใจเขาใส่ใจเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท