วัตถุพยานประเภทอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน


ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาอาชญากรรมที่กระทำโดยการใช้อาวุธปืนอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมากประเทศหนึ่งในโลก สาเหตุส่วนใหญ่ที่ใช้อาวุธปืนฆ่ากันตายเป็นจำนวนมากนั้นก็เพราะปริมาณของอาวุธปืนที่มีใฃช้ในประเทศไทยนั้นมีจำนวนมาก ซื้อง่ายขายง่ายนั้นเอง ดังนั้นในทางคดีมีความจำเป็นจะต้องทราบชนิด ประเภทกลไกลการทำงาน และความเข้าใจถึงร่องรอยและพยานหลักฐานที่จะได้จากสถานที่เกิดเหตุ ตลอจนข้อมูลหรือความหมายของวัตถุพยานประเภทนี้ให้ชัดเจนจึงจะสมารถนำวัตถุพยานประเภทนี้มาใช้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์สูงสุดคือทราบตัวคนร้ายที่แท้จริง

อาวุธปืน

อาวุธปืนตามความหมายในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า"มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

(๑)* "อาวุธปืน" หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุน ปืนโดยวิธีระเบิดหรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจ ของพลังงานและส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญและได้ระบุไว้ใน กฎกระทรวง "
นอกจากนี้กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2491 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ ข้อ 1 ระบุเพิ่มเติมอีกว่า ส่วนของอาวุธปืนต่อไปนี้ให้ถือเป็นอาวุธปืน ได้แก่
1. ลำกล้องปืน
2. เครื่องลูกเลื่อน หรือส่วนประกอบสำคัญของเครื่องลั่นไก
3.เครื่องลั่นไก หรือส่วนประกอบสำคัญ ของเครื่องลั่นไก
4. เครื่องส่งกระสุน ซองกระสุน หรือส่วนประกอบสำคัญสิ่งเหล่านี้
นอกจากนี้ตามกฎหมายยังสามารถแบ่งอาวุธปืนออกเป็น 2 จำพวกคือ จำพวกแรกเป็นอาวุธแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ กับจำพวกที่สอง คืออาวุธปืนแบบที่นายทะเบียนอาวุธปืนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้
การแบ่งประเภทต่างๆของอาวุธปืน
อาวุธปืนนอกจากสามารถถูกแบ่งเป็นอาวุธแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ กับอาวุธปืนแบบที่นายทะเบียนอาวุธปืนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้แล้ว การแบ่งประเภทนั้นอาจจัดแบ่งได้เป็นอีก 2 ลักษณะคือ
1. แบ่งตามลักษณะการทำงานของกลไก
วิธีนี้จะแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ
1. อาวุธชนิดบรรจุได้ครั้งละ 1 นัด (Single-shot firearm) หรือที่เรียกว่าอาวุธปืนที่ทำงานด้วยมือ (Manual) เป็นอาวุธปืนรุ่นแรกๆ ที่มนุษย์รูจักประดิษฐ์ขึ้นมาใช้งาน อาจประกอบด้วยลำกล้องเดียวหรือหลายลำกล้อง แต่ละลำกล้องสามารถบรรจุกกระสุนปืนได้ 1 นัด การยิงอาวุธปืนชนิดนี้ ผู้ยิงต้องใช้มือตัวเองควบคุมการทำงานทั้งสิ้น เช่น การบรรจุกกระสุนปืน การขึ้นนก การลั่นไก การสลัดกระสุนทิ้ง ตลอดจนการบรรจุก นัดใหม่ เข้ารังเพลิง เป็นต้น
2.อาวุธปืน ชนิดรีวอลเวอร์ (Revolver) เป็นอาวุธปืนที่ดัดแปลงมาจาก ประเภทบรรจุกครั้งละ 1 นัด ทำให้การบรรจุกกระสุนได้ครั้ละหลายนัด ส่วนประกอบที่สำคัญคือลูกโม่ หรือCylinder ซึ่งเป็นโลหะรูปทรงกระบอกภายในเจาะเป็นช่องๆไว้บรรจุกลูกกระสุนปืนตามจำนวนที่ต้องการเวลาขึ้นนกหรือเหนี่ยวไกปืนลูกโม่จะหมุนรอบตัวเองไป 1 ช่องทำให้กระสุนปืนที่อยู่ถัดจากรังเพลิงเลื่อนขยับ 1 ช่อง ไปตรงกับช่องรังเพลิง เพื่อรอให้เข็มแทงชนวนสับให้ลูกปืนวิ่งผ่านลำกล้องออกไปในทันทีที่ไกปืนถูกเหนี่ยวกลับหลัง การยิงปืนชนิดลูกโม่หรือรีวอลเวอร์นี้จะทำได้ 2 วธี คือ
ระบบ Single action  ระบบ Double action
3. อาวุธปืนชนิดกึ่งอัตโนมัติ (Simi-automatic) เป็นอาวุธปืนที่พัฒนาขึ้นมาให้สามารถบรรจุกระสุนได้ครั้งละหลายๆนัดในคราวเดียวกันโดยมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าซองกระสุนปืน (Magazine) เป็นที่บรรจุและเป็นระบบที่เริ่มนำพลักงานจากการระเบิดของดินปืนส่งกระสุนปืนส่วนหนึ่งมาใช้เป็นประโยชน์ในการช่วยให้ผู้ยิงลดขั้นตอนการทำงานลง ผู้ยิงปืนในระบบนี้เพียงแต่ทำหน้าที่บรรจุกระสุนปืนลงในแมกกาซีน ใส่แมกกาซีนเข้าไปในตัวปืนจากนั้นก็ขึ้นลำทำให้ปืนพร้อมที่จะทำการยิงได้ จากนั้นผู้ยิงเพียงแต่ทำหน้าที่เหนี่ยวไกปืนเท่านั้น กระสุนก็จะลั่นและอาวุธจะสลัดปลอกกระสุนนัดทื่ยิงไปแล้วออกไปเองพร้อมทั้งขึ้นนกปืนไว้ให้เสร็จเรียบร้อยเพื่อรอรับการเหนี่ยวปืนนัดต่อไป

                4.อาวุธปืนชนิดอัตโนมัติ (Automatic) เป็นอาวุธปืนที่พัฒนามาจากระบบกึ่งอัตโนมัติ 1 ขั้น คือ สามารถทำการยิงลูกกระสุนปืนออกไปได้อย่างต่อเนื่องโดยผู้ยิงไม่ต้องออกแรงเพิ่มนอกจากบรรจุกระสุนปืน ขึ้นลำ และเหนี่ยวไกปืนนัดแรกเท่านั้นอาศัยพลังงานจากการระเบิดของดินปืนส่งลูกกระสุนปืนนัดแรกเป็นตัวผลักดันกลไกต่างๆทำงานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแตแต่ขั้นตอนของการสลัดปลอกกระสุนปืน การบรรจุกระสุนปืนนัดต่อไปต่อไปเข้ารังเพลิง การขึ้นนก การลั่นไกนัดถัดไป อาวุธปืนจะเป็นผู้ทำงานเองทั้งสิ้น

หมายเลขบันทึก: 327373เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2010 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เอ่อ ยังบ่ได้อ่านเลย ได้ดูแต่รูป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท