สู่เส้นทาง "ภาวนา"


 

  • คนเราส่วนใหญ่นั้น จะเรียนรู้ศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาตนเองใน "ระดับสมอง" เป็นหลัก การแก้ปัญหา และการจัดการความทุกข์ต่าง ๆ นั้นเราจะอาศัยและใช้การทำงานของ "สมอง" เป็นหลัก
  • ตัวกระผมเองก็เช่นเดียวกัน ตั้งแต่เกิดมาจนถึงก่อนที่จะได้ฝึกปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น การพัฒนาตนเอง การดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาต่าง ๆ ก็เน้นที่การใช้เพียงระดับสมองเท่านั้นเอง แต่ก็ยังพบว่า ถึงจะเรียนรู้มาก พัฒนาตนเองมากเพียงใดก็ตามแต่ ความทุกข์ก็ไม่เคยลดน้อยถอยลงเลย...

 

  • จนเส้นทางชีวิตนำให้มาฝึกปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ถึงได้ทราบว่า การพัฒนาระดับสมองนั้นไม่ใช่ทางเดียวทางหลักของการพัฒนาตน ยังมีการพัฒนาที่สำคัญกว่านั่นคือ การพัฒนาจิตใจแห่งตน นั่นเอง 

 

  • ในช่วงแรก ๆ ของการเดินทางธรรมนั้นยังเป็นการแยกระหว่างทางธรรมกับทางโลกอยู่นั้น ถ้ายังปฏิบัติทางธรรมอย่างต่อเนื่องอยู่นั้นก็เป็นสุขดีแต่เป็นสุขแบบชั่วคราว   กล่าวคือ เมื่อหันกลับมาทำงานทางโลกคราใดก็จะกลับไปทุกข์แบบโลก ๆ เหมือนเดิม สลับกันไปมาอยู่อย่างนั้น

 

  • จนเมื่อได้ผู้รู้ช่วยชี้แนะว่า "ทางธรรมกับทางโลกนั้นเป็นทางเดียวกัน" กระผมเองก็หาทางทำความเข้าใจอยู่นานกว่าเหมือนกัน จึงพอเข้าใจขึ้นมาบ้าง แต่อย่างไรก็ยังไม่สามารถผสานทางโลกกับทางธรรมเข้าหากันได้เลย

 

  • จนในช่วงปีใหม่ มีโอกาสได้เดินทางธรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความสุขมาก แต่เมื่อหันหน้ากลับมาทางโลกคราวนี้ ทุกครั้งที่ใช้สมองทางโลกอย่างต่อเนื่องคราใด ความทุกข์ก็คืบคลานเข้ามาใกล้เรามากขึ้นทุกคราไปเหมือนเช่นเดิม ๆ ที่เคยเป็น

 

  • ผมตั้งแต่เป็นเด็กจนก่อนที่จะฝึกปฏิบัติภาวนาตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น การดำเนินชีวิตของผมก็เหมือนกับคนอื่น ๆ ทั่วไปที่มีการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ การแก้ปัญหา และการจัดการความทุกข์ต่าง ๆ นั้นจะอาศัยและใช้การทำงานของ "สมอง" เป็นหลัก จึงมุ่งมั่นพัฒนาเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองเป็นหลัก
  • จนเวลาต่อมาเมื่อได้มาศึกษาปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ถึงได้ทราบว่า นอกจากสมองแล้ว

 

 

 

  • ตลอดชีวิตตั้งแต่เป็นเด็กจนโต จนถึงก่อนที่จะมาปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ชีวิตของผมดำเนินไปและจัดการความทุกข์ต่าง ๆ ด้วยสมองเป็นหลัก
  • จนเมื่อมาเดินบนเส้นทาง "ภาวนา" ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน 
  • ในช่วงแรก ๆ ของการภาวนานั้น ผมเข้าใจว่า การเดินทางธรรมเป็นการเดินทางสวนกันกับทางโลก คือ เดินไปคนละทาง ประมาณนั้น
  •  

     

     

    คำสำคัญ (Tags): #ทุกข์
    หมายเลขบันทึก: 327165เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2010 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท