ที่มาของการให้พร


ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์...ฯ

  

 

 เมื่อถึงเทศการปีใหม่ หรือในงานมงคลใดๆไม่ว่าจะเป็นงาน
วันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นบ้านใหม่ ทุกท่านก็คงจะได้ให้พร
หรือรับพร จากผู้ที่เรารู้จักไปไม่น้อยทีเดียว บางท่านก็ขอพร
จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันมากมาย ทุกคนต่างก็หวังว่า พรนั้นจะศักดิ์-
สิทธิ์ แต่พรเหล่านั้นจะศักดิ์สิทธิ์จริงหรือ? พรคือสิ่งใดกันแน่?
อย่างไรจึงเป็นพรที่แท้จริง?อย่างไรจึงเป็นพรที่ประเสริฐที่สุด?

โดยแท้จริงแล้วคำว่า "พร" นั้นแปลว่า..."คำพูด ที่แสดงความ
ปรารถนา" ซึ่งเกิดจากผู้รับพร ต้องการความดี ความเป็นมงคล
เรื่องของการให้พร ขอพร มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว
มีการขอพรของนางวิสาขา ต่อพระพุทธองค์...การขอพรของนาง
สุชาดา ต่อพระอินทร์...ในสมัยนั้น ก็มีชาวบ้านมาขอพรจากพระสงฆ์
เช่น...ขอให้ท่านกล่าวว่า...จงมีอายุยืนยาว ดังนี้เป็นต้น 

ในเบื้องต้น พระพุทธองค์ทรงคำนึงเรื่อง ศีล และความถูกต้อง
จึงไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุให้พรใดๆเลย แม้พระองค์เอง ก็ไม่ให้พร
แต่สอนให้ทำความดีแทน เมื่อนางวิสาขา ซึ่งเป็นอุบาสิกา มาขอ
พร พระพุทธองค์ตรัสว่า..."ตถาคตเลิกให้พรแล้ว วิสาขา" ทั้งนี้
เพราะความสำเร็จ ย่อมไม่ได้จากพรที่รับ แต่มาจากผลของกรรม
หรือการกระทำที่ทำไว้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า..."ผู้ใดทำกรรมอย่างใด
ไว้ ย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้น"


    แต่ต่อมา เมื่อพระสงฆ์ไม่ให้พรเลย ก็เป็นที่ติเตียนของชาวบ้านอีก
พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาและเห็นว่า ที่แท้แล้ว ชาวบ้านต้อง
การสิ่งที่เป็นมงคล จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุให้พรได้ ดังพุทธพจน์
นี้..."ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านมีความต้องการด้วยสิ่งเป็นมงคล
เราอนุญาตให้ภิกษุ...ให้พรตอบแก่ชาวบ้านว่า ขอท่านจงเจริญชน
มายุยืนนาน"....พระวินัยปิฎก ๗/๑๘๖

ถ้าสังเกตุดีๆ เราจะพบว่า เมื่อมีการอวยพร หรือรับพร ทุกคนจะ
รู้สึกได้ทันทีว่า นั่นเป็นสิ่งดี เป็นสิ่งดีงามที่เกิดขึ้นในตอนนั้น ทั้งนี้
เพราะอะไร เพราะมีคุณธรรมอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเสมอ ในการให้พร
นั้นคือ "เมตตาธรรม" เป็นความเมตตาของผู้ให้พร ที่ประสงค์จะ
ให้ผู้รับ มีความสุข มีความเจริญ ได้รับสิ่งที่ดี...ผู้รับเองก็รู้สึกได้
ในทันที ดังนั้น การให้พร และรับพร จึงเป็นสิ่งที่ดีเสมอ ในสังคมเรา

การขอพร ก็เป็นเรื่องแปลก ความจริง เราทุกคนก็ทราบกันว่า
..."ผลย่อมมาจากเหตุ" คือ...เช่นทำดี ก็ย่อมได้ดี แต่ในสมัยนี้
เมื่อเราขอพร เราก็มักจะขอผลที่ดีงามเลย คือ ขอผลดี โดยไม่
หวังว่าจะทำเหตุที่ดีแต่อย่างใด แต่สมัยโบราณ คนจำนวนมาก
ขอพรที่จะได้ทำเหตุที่ดี คือ ขอเพื่อจะได้มีโอกาสทำความดี เช่น...
พรของนางวิสาขา เป็นต้น

นางวิสาขาได้ขอพรที่จะถวาย ผ้าสรง น้ำ อาหาร ที่เหมาะกับภิกษุ
อาพาธ และยา เป็นต้น คือ ขอต่อพระพุทธองค์ให้ภิกษุรับของเหล่า
นี้ได้ จากบุคคลที่ต้องการถวาย โดยนางวิสาขา ไม่ได้ขอพร อะไร
ให้แก่ตนเองเลย แต่เป็นการขอโอกาสที่จะทำดี และให้มีพุทธบัญญัติ
ให้พระสงฆ์รับสิ่งเหล่านี้ได้จากคนทั่วไป เพื่อที่ทุกคนจะได้ทำบุญ
เหล่านี้ได้

    อย่างไรก็ตาม การให้พรหรือรับพร เป็นเรื่องของความดีงามทั้ง
สิ้น แต่นี้ไปเมื่อเราจะให้พรใคร ให้ตั้งความเมตตาไว้ในใจแล้ว
ให้พร เมื่อจะรับพร ให้คิดว่า เราจะทำสิ่งที่ดีงาม เพื่อที่พรที่เรารับ
นั้นจะได้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลมากขึ้น พระพุทธองค์ทรงสอนว่า...
เมื่อเรามี 'ความสุจริต'...พร้อมทั้ง กายวาจาใจ เมื่อนั้น คือ..'มงคล
ดี เวลาดี' จะทำอะไรก็ดี จะรับพร ก็ย่อมต้องดีด้วยเช่นกัน ฯ

 

 

จากหนังสือ..."พรอันประเสริฐ".

โดย น.ท. น.พ. จักรพงศ์ ไพบูลย์

อนุโมทนาขอบคุณ

หมายเลขบันทึก: 326843เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Moon smiles on Venus&Jupiter และ นีนานันท์  กราบนมัสการท่าน เตวิชโช  ในโอกาสปีใหม่ 2553 ค่ะ


 

นมัสการพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ

ขอบพระคุณที่นำมาให้ได้อ่าน

ไว้จะลองตามหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านบ้างเจ้าค่ะ

สาธุ

ธรรมสวัสดีโยมMoon smiles on Venus&Jupiter 

อนุโมทนาสาธุสำหรับคำอวยพร

ธรรมรักษา

ธรรมสวัสดีโยมณัฐรดา

อนุโมทนาบุญด้วยนะ

ธรรมรักษา

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท