ความรู้เป็นพิษ “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง”


เขามีมาก ทำลายขนาดไหนก็ยังอยู่ได้

ตั้งแต่ยุคปฏิวัติเขียวเป็นต้นมา ประเทศไทยได้ก้าวสู่ยุคของการผลิตทางการเกษตร ที่นับได้ว่าประสพผลสำเร็จในเชิงการผลิตที่น่าภาคภูมิใจ เราสามารถผลิตอาหารและสินค้าเกษตรส่งออกสู่ตลาดโลกได้มากและต่อเนื่อง

ทำให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบางประการ เช่น ถนน ไฟฟ้า และบริการด้านอื่นๆ ดีขึ้นโดยลำดับ

แต่เมื่อหันกลับมาดูฐานทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต ที่เป็นโครงสร้างที่สำคัญในการผลิต และเป็นที่มาของผลผลิตทั้งหมด กลับเสื่อมโทรมลงอย่างน่าใจหาย และไม่แน่ใจว่าจะสามารถรองรับการจัดการแบบทำลายล้าง และการสะสมของสารพิษทุกระดับ ทุกประเภท ได้อีกนานเพียงใด

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมนั้น ดูเหมือนจะมาจากแนวคิดการจัดการทรัพยากรของเขตอบอุ่น ที่มีการสะสมของธาตุอาหาร และอินทรียวัตถุในดินมาก ถ้าไม่มีการไถพรวนเปิดป่า หรือเร่งการย่อยสลายโดยปุ๋ยเคมี การปลดปล่อยจะช้ามาก ไม่สามารถทำการเกษตรได้

แบบ เขามีมาก ทำลายขนาดไหนก็ยังอยู่ได้

ในขณะที่ดินเขตร้อนส่วนใหญ่ มีการสะสมธาตุอาหารในดินน้อย อินทรียวัตถุต่ำถึงต่ำมาก ธาตุอาหารส่วนใหญ่สะสมในระบบของพืชและไม้ยืนต้น

เมื่อเราได้ดำเนินการเช่นเดียวกับเขตอบอุ่น จึงทำให้ธาตุอาหารสำรองที่เคยมีของระบบ ถูกทำลาย และสูญหายไปกับน้ำและอากาศ ที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของดินอย่างรวดเร็ว จึงต้องเน้นการใช้ปุ๋ยเคมี ที่กลับไปทำลายระบบความมีชีวิตของดินอีกต่อหนึ่ง

จึงเรียกได้ว่า

มีแต่การทำลายและสะสมสารพิษอย่างต่อเนื่อง

เปรียบเสมือนคนที่อ่อนแอทำงานไม่ไหว แต่กลับไปรับประทานยากระตุ้นประสาทให้ทำงานได้ โดยไม่สนใจบำรุงร่างกาย แล้วจะไปได้อีกสักเท่าไหร่

นี่คือความรู้เป็นพิษที่ใช้โดยเกษตรกรทั่วไป ยกเว้นกลุ่มที่ทำกสิกรรมไร้สารพิษ หรือกลุ่มเกษตรอินทรีย์

ในทางราชการทุกสายงาน ส่วนใหญ่ก็ได้รับอิทธิพลจากความรู้นี้ จากระบบการศึกษาแบบ “บอกต่อๆกันมา” จากความรู้ที่นักวิชาการในเขตอบอุ่นเขียนไว้ โดยนำมาแปล และสอนต่อๆกันมา นำไปแนะนำ นำไปวางแผน หรือแม้กระทั่งกำหนดนโยบาย โดยไม่คิดต่อ เพราะแทบไม่มีใครเคยทำจริงๆ จึงไม่คิดว่าจะมีข้อเสียอะไร

ใครก็ตามที่ทำจริงแบบเข้าใจตัวเอง และทรัพยากรของประเทศ ก็มักจะปฏิเสธเส้นทางนี้เป็นส่วนใหญ่

ที่มีทั้งเกษตรกรที่ผลิตเพื่อการบริโภคเอง หรือนักวิชาการที่ทำเพื่อการบริโภคเองก็จะหันกลับมาพัฒนาทรัพยากรพื้นฐานแบบ “ธรรมชาติ” หรือ “อินทรีย์” แล้วแต่ระดับความเข้าใจและระดับการพัฒนา

แต่กระแสหลักก็ยังถูกฉุดกระชากลากจูงจาก แผนการพัฒนาและระบบเศรษฐกิจที่ทำลายฐานทรัพยากรต่อไป แบบไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงโดยตั้งใจ

ที่คาดว่าคงจะหยุดเมื่อระบบมันตายสนิทแบบสมบูรณ์แบบ

เพราะความรู้ที่เป็นพิษนี้มันแพร่กระจายไปทั่วทุกระบบ

และดูเหมือนว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร นักธุรกิจค้าสารพิษ ระบบเศรษฐกิจ นักวิชาการ และการพัฒนาประเทศ

ก็น่าภูมิใจอยู่หรอก

แต่เราจะภูมิใจได้อีกนานแค่ไหน

เพราะ ความรู้ที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นพิษนี้ ได้ทำลายป่าไม้ ดิน แหล่งน้ำ สุขภาพ แหล่งอาหารธรรมชาติ ระบบนิเวศ และทรัพยากรแทบทุกด้าน

เราพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาที่รอวันระเบิดแล้วหรือยัง

หรือเราไม่สนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับอนาคต และลูกหลานของเรา

ขอแต่ให้ได้เสวยสุขแบบวันต่อวันในวันนี้ ก็พอแล้ว

และเฉยเมยกับทางเลือก “ความรู้ที่ไม่เป็นพิษ” “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่ทางกลุ่มเกษตรกรที่เป็นห่วงฐานทรัพยากรและประเทศชาติ แบบไม่สนใจกระแสหลักแห่งการทำลาย

หรือทางเลือกที่ดีเหล่านี้ไปทำลายผลประโยชน์ระยะสั้นของคนบางกลุ่ม จนไม่สามารถยอมรับได้

ลองคิดดูสักนิดครับ ว่าทางไหนดีกว่ากัน ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

 

หมายเลขบันทึก: 326778เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 06:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เรียนท่านอาจารย์แสวงที่เคารพ

โลกที่ หมุนด้วยความคิดและความอยากแบบสุดโต่งจนระบบไม่มี Buffering capacity มากพอที่จะรักษาดุลยภาพไว้ได้ จึงเกิดความเสื่อมอย่างมากให้เห็นในหลายมิติและหนักขึ้นทุกวัน ชีวิตตอนนี้ ไม่ต่างจากการเดินไปสู่หายนะหรือหุบเหว พาทั้งเครือญาติและลูกหลานตัวเองตลอดจนเพื่อนร่วมโลกลงหุบเหวไปด้วย บางทีแค่จินตนาการไปอีก 10-20 ปียังยากเลยครับผม ความรู้ที่สร้างขึ้นมาใช้บนฐานทรัพยากร ตลอดจนการเชื่อมต่อความรู้ต่างๆเพื่อสร้างระบบค้าขายในเชิงธุรกิจนอกจากหาความยั่งยื่นได้ยากแล้วยังมีความไม่เป็นธรรมอยู่ มิหนำซ้ำยังก็เน้นการสูบทรัพยากรจนระบบเสียดุลยภาพ เราไม่พยายามสร้างชุดความที่เป็นลักษณะ green technology ที่รักษาดุลยภาพของระบบไว้ ถ้าจะพูดให้ครอบคลุมกว้างๆก็คือความรู้ที่เหมาะสมที่ใช้กับจัดการต่อฐานทรัพยากร ให้เข้ากับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ขึ้นได้หลากหลายและอย่างยั่งยืน เพื่อรับมือกับความเสื่อมของโลก เพราะ 60 ปีที่ผ่านเราสูบทรัพยากรมากมายจนเสียดุลยภาพมากจริงๆ ถ้าใช้ภาษาแบบเด็กแนวเช่นกระผม (แฮ่ๆ) คงบอกว่าเราคือ “มือสังหาร” เพราะมันเอาซะเรียบเลยครับผม  เพราะว่าโลกทุกวันนี้วิปริตและแปรปรวนจนน่าหวั่นกลัวว่า “ความมั่นคงทางอาหาร” ในประเทศจะเป็นยังไง กระผมไม่อยากจินตนาการมากเลย ต่อไปสังคมจะเป็นยังไงในภาวะประชากรมากและทรัพยากรเสื่อมขนาดนี้ เมื่อ “ความมั่นคงทางอาหาร” มีผลต่อ “ความมั่นคงในเชิงสังคม” อย่างมาก เรากำลังเดินเข้าทางสุดโต่งในโลกที่ตอบสนองต่อความคิดและความอยาก ซึ่งจะทำลายทั้งโลกแห่งวัตถุและจิตวิญญาณ หากโครงสร้างหรือกลไกของ “ความมั่นคงทางอาหาร” แตกสลายก็จะเกิดวิกฤตและหายนะทันที แต่เราก็ยังอยู่กับการเสวยสุขสั้นๆ หากคิดไปถึง 20-30 ปีข้างหน้ายังน่ากลัวมาก จนจินตนาการไม่ออกเลยจะได้รับบทเรียนอะไรบ้าง ไม่รู้จะกินบุญเก่าได้นานเท่าไหร่ เราจะปฏิบัติเรื่องอินทรีย์เป็นกระแสหลักได้ไหม หรือเราจะเกิดมาเพื่อเป็นเพียง “นักบริโภคนิยมที่แสวงหาความสุขใส่ตัวเองเช่นนั้นหรือ”  เมื่อไหร่เราจะมาอยู่ในเส้นทางแห่งสัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นการรับรู้และปฏิบัติบนทางที่ถูกต้องด้วยวิชชาและปัญญา ซึ่งจะช่วยแก้วิกฤตดังกล่าวก่อนจะสายเกินที่จะสูญเสียหนัก ทุกวันนี้กระผมก็ลงไปสร้างสวนเกษตรจัดการออมดิน ออมน้ำ ออมทรัพยากรไว้ที่บ้านรวมทั้งเครือญาติกระผมด้วย ร่วมด้วยช่วยกัน รองรับการเข้าสู่ยุคแห่ง “ความมืดมิดและทุรกันดาร” ดังที่อาจารย์กล่าว กระผมเตรียมตัวเตรียมใจไว้แล้วท่านอาจารย์ครับผม หากถึงคราวิกฤติและหายนะจนสิ่งต่างๆอยู่ในภาวะคับขันมือน้อยๆนอกจากปฏิบัติอันนี้ คงใช้สวดภาวนาหรืออ้อนวอนและมาสู่การสงบและปล่อยวางให้มากขึ้น เพราะยอมจำนนในหนทางแล้วนั่นเอง

ด้วยความเคารพครับผม

นิสิต

 

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ ดร.แสวง

  • ดิฉันได้ฟังบรรยายของท่าน วันที่ 10 ม.ค. 53 เรื่องการเขียนรายงาน 5 บท ได้รับความรู้มากมายเลยค่ะ ขอขอบพระคุณมากค่ะ
  • ได้ข้าวกล้องมาถุงหนึ่งอร่อยมากค่ะ
  • ดิฉันก็ทำนาเองค่ะประมาณ 10 ไร่ ก็ใช้ปุ๋ยเคมีมาตลอดแต่ก็ยังดีที่ดิฉันมีปุ่ยคอกจากมูลวัวที่เลี้ยงเองมาใส่บำรุงบ้าง
  • พอได้ฟังบรรยายและอ่านบันทึกของท่านอาจารย์ ก็ได้รู้ว่าโทษของการใช้สารเคมีมันมีมากเหลือเกิน ดิฉันจะไม่ใช้แล้วจะใช้ป๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์แทนค่ะ
  • ขอให้ท่านอาจารย์และครอบครัวมีความสุขตลอดไปนะคะ

   เรียน-สอนกันมาอีท่าไหนไม่ทราบได้ แต่ที่แน่ๆ ยิ่งเรียนยิ่งไม่รู้จักตน ไม่ภาคภูมิใจในตัวตน คอยแต่จะ "ขี้ตามช้าง" มากขึ้นเรื่อยๆ  แถมยังเป็นเหยื่อให้เขาหลอกได้ซ้ำซากอีกต่างหาก .. อนิจจา ! ประเทศไทย

ส่วนตัวไม่เคยทำเกษตรนะครับ บ้านผมก็ไม่มีไรที่ทำเกี่ยวกับเกษตร ทำธุรกิจบ้านเช่าสบายๆ แต่สนใจเรียนเกษตร

เลยเข้าคณะเกษตร ที่มหาัยเกษตร บางเขน คิดว่าน่าจะเอาความรู้ไปช่วยเกษตรกรได้มั่งล่ะ เห็นเกษตรกรบ้านเราเป็นแบบนี้แล้วมันทนไม่ได้อ่ะครับ อยากช่วยไรเขามั่ง อยากเห็นเขามีชีวิตที่ดี ช่วงนี้ปิดเทอมมีแผนจะไปทำนาที่บ้านเพื่อนครับ ผมจะไปทำแปลงทดลองเกษตรอินทรีย์แแบการโยนกล้าครับ เพราะที่นั้นมีข้าววัชพืชะบาดมากครับ และไม่มีนักส่งเสริมเข้าไปเลยครับ แถมมีการหลอกขายปุ๋ยขายยาแก่เกษตรกรอีก(ขวด700 ซื้อตอนนี้ลดเหลือ 99หลอกเห็นๆบอกเป็นฮอร์โมน ปุ๋ยเสริมฯลฯ)

ช่วงนี้ผมกำลังงงกับคำแนะนำของอาจารย์อ่ะครับ พอได้เข้ามาอ่านบทความนี้ของอาจารย์แล้วทำให้ผมมีกำลังใจที่จะ

เปลี่ยนแปลงเกษตรบ้านเราไปสู่เกษตรอินทรีย์มากขึ้นครับ เพราะผมก็เชื่อว่าเกษตรอิทรีย์น่าจะเหมาะสมกับบ้านเรามากที่สุด

ผมเข้าไปคุยกับอาจารย์ที่มหาลัยแล้วผมมีอารมณ์มากเลยอ่ะครับ ดูเหมือนอาจารย์ของผมจะดูถูกเกษตรอินทรีย์มากเลยครับ ว่ามันเป็นเกษตรที่ไม่ยั่งยืนได้หรอกสุดท้ายก็ต้องกลับมาพึ่งปุ๋ยเคมีอยู่ดี เพราะะธาตุอาหารที่เกษตรอินทรีย์ใช้อยู่นั้นมันไม่พอกับความต้องการของพืชหรอก ทำไปนานๆ เดี๋ยวก็ขาดธาตุอาหารหลักจนต้องมาใส่ปุ๋ยเคมีเหมือนเดิม ที่ทำกันได้อยู่นั้นก็เพราะเป็นที่มีการตกค้างของปุ๋ยเคมี หริอเป็นพื้นที่เปิดใหม่

ขอให้อาจารย์ช่วยขยายบทความนี้ให้ละเอียดขึ้นได้ไหมครับ แบบมีเอกสารอ้างอิงที่ผมพอจะไปหาอ่านได้มั่งอ่ะครับ ผมไม่ได้จะเอาไปเถียงกับอาจารย์ของผมนะครับ(เพราะจะเป็นเรื่องกันป่าวๆ เพราะอาจารย์ของอาจารย์ก็สอนมาแบบนั้น คงเปลี่ยนความคิดยาก)

แต่ผมอยากจะ มีความรู้ด้านนี้จริงๆครับ จะได้มีจุดยืนที่มั่นคงในการศึกษาและลงมือทำเกษตรอินทรีย์ต่อไป

แล้วถ้าผมจะเริ่มทำนาอินทรีย์ จากนาที่เป็นเคมีล้วนๆ มาก่อนจะต้องเริ่มยังไงดีครับ(มีปัญหาข้าวดีดและเพลี้ยมาก)

เพราะจะที่ที่ผมไปอยู่สุพรรณบุรีครับ บ้านเพื่อนผมเองมีนาร่วม80ไร่ แบ่งเป็น8แปลงครับ ผมจะเริ่มทำแปลง2ไร่ก่อนครับ

(อยากไปศึกษาการทำนาจากอาจารย์มากเลยครับ)

ส่วนตัวไม่เคยทำเกษตรนะครับ บ้านผมก็ไม่มีไรที่ทำเกี่ยวกับเกษตร ทำธุรกิจบ้านเช่าสบายๆ แต่สนใจเรียนเกษตร

เลยเข้าคณะเกษตร ที่มหาัยเกษตร บางเขน คิดว่าน่าจะเอาความรู้ไปช่วยเกษตรกรได้มั่งล่ะ เห็นเกษตรกรบ้านเราเป็นแบบนี้แล้วมันทนไม่ได้อ่ะครับ อยากช่วยไรเขามั่ง อยากเห็นเขามีชีวิตที่ดี ช่วงนี้ปิดเทอมมีแผนจะไปทำนาที่บ้านเพื่อนครับ ผมจะไปทำแปลงทดลองเกษตรอินทรีย์แแบการโยนกล้าครับ เพราะที่นั้นมีข้าววัชพืชะบาดมากครับ และไม่มีนักส่งเสริมเข้าไปเลยครับ แถมมีการหลอกขายปุ๋ยขายยาแก่เกษตรกรอีก(ขวด700 ซื้อตอนนี้ลดเหลือ 99หลอกเห็นๆบอกเป็นฮอร์โมน ปุ๋ยเสริมฯลฯ)

ช่วงนี้ผมกำลังงงกับคำแนะนำของอาจารย์อ่ะครับ พอได้เข้ามาอ่านบทความนี้ของอาจารย์แล้วทำให้ผมมีกำลังใจที่จะ

เปลี่ยนแปลงเกษตรบ้านเราไปสู่เกษตรอินทรีย์มากขึ้นครับ เพราะผมก็เชื่อว่าเกษตรอิทรีย์น่าจะเหมาะสมกับบ้านเรามากที่สุด

ผมเข้าไปคุยกับอาจารย์ที่มหาลัยแล้วผมมีอารมณ์มากเลยอ่ะครับ ดูเหมือนอาจารย์ของผมจะดูถูกเกษตรอินทรีย์มากเลยครับ ว่ามันเป็นเกษตรที่ไม่ยั่งยืนได้หรอกสุดท้ายก็ต้องกลับมาพึ่งปุ๋ยเคมีอยู่ดี เพราะะธาตุอาหารที่เกษตรอินทรีย์ใช้อยู่นั้นมันไม่พอกับความต้องการของพืชหรอก ทำไปนานๆ เดี๋ยวก็ขาดธาตุอาหารหลักจนต้องมาใส่ปุ๋ยเคมีเหมือนเดิม ที่ทำกันได้อยู่นั้นก็เพราะเป็นที่มีการตกค้างของปุ๋ยเคมี หริอเป็นพื้นที่เปิดใหม่

ขอให้อาจารย์ช่วยขยายบทความนี้ให้ละเอียดขึ้นได้ไหมครับ แบบมีเอกสารอ้างอิงที่ผมพอจะไปหาอ่านได้มั่งอ่ะครับ ผมไม่ได้จะเอาไปเถียงกับอาจารย์ของผมนะครับ(เพราะจะเป็นเรื่องกันป่าวๆ เพราะอาจารย์ของอาจารย์ก็สอนมาแบบนั้น คงเปลี่ยนความคิดยาก)

แต่ผมอยากจะ มีความรู้ด้านนี้จริงๆครับ จะได้มีจุดยืนที่มั่นคงในการศึกษาและลงมือทำเกษตรอินทรีย์ต่อไป

แล้วถ้าผมจะเริ่มทำนาอินทรีย์ จากนาที่เป็นเคมีล้วนๆ มาก่อนจะต้องเริ่มยังไงดีครับ(มีปัญหาข้าวดีดและเพลี้ยมาก)

เพราะจะที่ที่ผมไปอยู่สุพรรณบุรีครับ บ้านเพื่อนผมเองมีนาร่วม80ไร่ แบ่งเป็น8แปลงครับ ผมจะเริ่มทำแปลง2ไร่ก่อนครับ

(อยากไปศึกษาการทำนาจากอาจารย์มากเลยครับ)

ผมตอบให้แล้วครับ

เอกสารทางวิชาการยังมีน้อย เพราะ

  1. คนที่ทำได้ต้องมีฐานคิดทางวิชาการ
  2. นักวิชาการที่จะเข้ามา มีน้อยมาก ฐานคิดยังแคบ และไม่ครอบคลุม
  3. เกษตรอินทรีย์เป็น "ปรัชญา" ที่เข้าถึงได้ยาก ต้อง มุ่งมั่นและเข้าใจจริงๆ จึงจะเข้าใจ

จึงต้องอาศัยผลงาน "เชิงประจักษ์" เป็นหลัก

และ "ทำเอง เรียนเอง รู้เอง" เป็นหลัก

มีอะไรโทรมาคุยได้ครับ ที่ 0897119684

จะได้ตอบแบบ ชัดๆ ตรงๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท