กิจกรรมการเดินทางไกลอยู่ค่ายพักแรม ของลูกเสือ


หลายคนถามมาว่า กิจกรรมการเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม ของลูกเสือ-เนตรนารี ประจำปี ทำไมครูไม่สอนเอง? ทำไมมีวิธีการที่แตกต่างกัน? โดยเฉพาะปัจจุบันทำไมนิยมส่งลูกเสือเข้าค่ายเอกชนหรือค่ายทหาร? แล้วครูที่ไปด้วย ไปไหนกัน ? ครูผู้บริหารที่ได้ 2 ท่อน 3 ท่อน 4 ท่อน ก็เห็นมีไปแล้วทำอะไรกันอยู่ ?ก่อนจะดำเนินการใด ๆ ขอได้คำนึ่งถึง หลักการ วัตถุประสงค์ และประโยชน์ ที่ลูกเสือจะได้รับ ดังนี้......

หลายคนถามมาว่า กิจกรรมการเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม ของลูกเสือ-เนตรนารี ประจำปี  ทำไมครูไม่สอนเอง?  ทำไมมีวิธีการที่แตกต่างกัน?  โดยเฉพาะปัจจุบันทำไมนิยมส่งลูกเสือเข้าค่ายเอกชนหรือค่ายทหาร?  แล้วครูที่ไปด้วย ไปไหนกัน ? ครูผู้บริหารที่ได้ 2 ท่อน 3 ท่อน 4 ท่อน ก็เห็นมีไปแล้วทำอะไรกันอยู่ ? 

อาจจะเป็นด้วยสมรรถภาพทางกายของครูเริ่มลดน้อยลงเพราะความชราภาพ  จึงไม่สามารถร่วมกิจกรรมภาคสนามใด้ จึงต้องสร้างบรรยากาศใหม่ ๆ ให้ลูกเสือด้วยการเชิญวิทยากรอื่น ๆ มาช่วยฝึกสอน

ก่อนจะดำเนินการใด ๆ ขอได้คำนึ่งถึง หลักการ วัตถุประสงค์ และประโยชน์ ที่ลูกเสือจะได้รับ ดังนี้......

 

การเดินทางไกล  คือการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทางบก หรือทางน้ำ ซึ่งลูกเสือเป็นผู้จัดการเองโดยตลอด ทั้งนี้ด้วยความเห็นชอบของผู้กำกับลูกเสือ 

การอยู่ค่ายพักแรม คือ การเดินทางไปยังสถานที่แห่งหนึ่งแล้วไปตั้งค่ายพักแรมคืน ซึ่งอยู่ในการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้กำกับลูกเสือ 

 ความมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนร.๑.เป็นกิจกรรมกลางแจ้งที่สำคัญที่สุด

๑.เพื่อฝึกความอดทน ความมีระเบียบวินัยและเสริมสร้างสุขภาพ  อนามัยให้แก่ลูกเสือ

๒.  เพื่อให้ลูกเสือมีเจตนารมณ์ และเจตคติที่ดี รู้จักช่วยตนเองและรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น

๓. เพื่อให้มีโอกาสปฏิบัติตามคติพจน์ของลูกเสือ และมีโอกาสบริการต่อชุมชนที่ไปอยู่ค่ายพักแรม

๔. เพื่อเป็นการฝึกและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ

 

๒.เป็นการทดสอบความรู้และทักษะของลูกเสือ

๓.เป็นการฝึกความอดทน ผสมผสานกับการเรียนรู้ในวิชาการต่างๆเพิ่มเติม เช่นระบบหมู่,ภาวะผู้นำ การช่วยเหลือตนเอง และสอบวิชาพิเศษลูกเสือได้อีกทางหนึ่งด้วย

๔.เป็นกิจกรรมบังคับสำหรับลูกเสือ ตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ข้อ ๒๗๓  “ให้ผู้กำกับกลุ่มผู้กำกับลูกเสือ นำลูกเสือไปฝึกเดินทางไกลและพักแรมคืน ในปีหนึ่งไม่น้อยกว่า ๑ ครั้ง  และครั้งหนึ่งให้พักแรมอย่างน้อย ๑ คืน”

ประโยชน์

๑.เป็นการฝึกความอดทน ความมีระเบียบวินัย

๒.เป็นการเสริมสร้างพลานามัยให้แข็งแรง

๓.เพื่อสนองความต้องการของลูกเสือในด้านการผจญภัยและกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อเรียนวิชาเพิ่มเติม ทดสอบวิชาและทักษะที่เรียนมาแล้ว และทดสอบวิชาพิเศษลูกเสือ

ขออัญเชิญพระราชดำรัสมาเป็นอนุสติให้ครู ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ทั้งหลาย

โปรดพิจารณา นำมาพัฒนาตนเองให้เป็นไปตามพระราชประสงค์

จากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิอดุลยเดชมหาราช พระราชทานในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ  ครั้งที่  6  ณ จังหวัดชลบุรี  เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2511 ตรัสว่า  

... การลูกเสือมีส่วนสำคัญยิ่งในการสร้างความมั่นคงของบ้านเมือง  เพราะเป็นงานที่มุ่งจะสร้างคนให้ดีและสร้างสังคมให้เรียบร้อยเป็นปึกแผ่น   การฝึกหัดอบรมตามแบบอย่างอันถูกต้อง   ครบถ้วนของลูกเสือนั้นเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ  ในการที่จะทำให้เยาวชนมีความเข้มแข็ง  ซื่อสัตย์  สุจริต  มีความรู้  รู้จักใช้ความรู้ มีความคิด และมีวินัยที่ดี   สามารถเป็นที่พึ่งของตนเองและของผู้อื่นได้โดยแท้จริง  ผู้ใดก็ตามที่น้อมนำเอาวิธีการของลูกเสือไปใช้ในกิจการงานอื่น ๆ ย่อมจะได้ประโยชน์อย่างกว้างขวางออกไปด้วยกันทั้งนั้น เพราะการงานต่าง ๆ จะมีประสิทธิภาพ...   

                … ผู้ที่เป็นครูจะต้องถือเป็นหน้าที่อันดับแรกที่จะต้องให้การศึกษา คือ  สั่งสอนอบรมอนุชนให้ได้ผลแท้จริง ทั้งในด้านวิชาความรู้  ด้านจิตใจและความประพฤติ  ทั้งต้องคิดว่า  งานที่แต่ละคนกำลังทำอยู่นี้คือความเป็นความตายของประเทศ  เพราะอนุชนที่มีความรู้ความดีเท่านั้น ที่จะรักษาชาติบ้านเมืองไว้ได้ฉะนั้นเราทั้งหลายจึงควรร่วมมือร่วมใจกัน  ทำนุบำรุงเด็ก ๆ ให้เขาเป็นผู้ที่ควรได้รับการศึกษาที่ดี มีร่างกายที่แข็งแรง มีพลานามัยดี รู้จักช่วยตนเอง ให้มีความสามารถที่จะช่วยพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป...

คำสำคัญ (Tags): #scousting for boys
หมายเลขบันทึก: 325385เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2010 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากถามว่า

1.กิจกรรมกลางแจ้งของลูกเสือจัดเป็นกิจกรรมนันทนาการหรือไม่

ขอบคุณครูแก้ม กิจกรรมกลางแจ้งของลูกเสือ ไม่เหมือนกันกับกิจกรรมนันทนา

การกิจกรรมกลางแจ้ง ครูสามารถบูรณาการ หรือนำทักษะกระบวนการด้านใดด้านหนึ่งมาจัดนอกห้องเรียนให้สอดคล้องกับสภาพบริบทที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนหรือจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ การสอนลูกเสือ เน้นให้จัดกิจกรรมนอกห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้สัมผัสกับสถานการต่างๆที่เหมือนจริงมากที่สุด เช่นการสาธิต การแสดงบทบาทสมมุติ การแข่งขันต่าง ๆ หรือแม้แต่การไปสำรวจ ค้นหาความจริง ศึกษาดูดาว การสวนสนาม แผนที่เข็มทิศ  การสะกดรอย ฯลฯ มีอีกหลายวิชาในหลักสูตรลูกเสือ 

กิจกรรมนันทนาการ เป็นการเสริมสร้างความประทับใจ การพึงพอใจ สร้างบรรยากาศให้มีการผ่อนครายอารมณ์ หรือการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ทั่วไปเน้น เกม เพลง การเล่นต่าง ๆ

ครูลูกเสือ ที่เป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เมื่อผ่านการฝึกอบรมมาตามลำดับขั้นของระเบียบพิธีการลูกเสือแล้ว จะเข้าใจรูปแบบกิจกรรมลูกเสือได้ดี ครูต้องจัดกิจกรรมลูกเสือตามกระบวนการต้องมีความรู้จริงในเรื่องทักษะ สาระ หลักสูตร และ กระบวนการถ่ายทอดตามระเบียบพิธีการลูกเสือ

นางสาว สิริวัณ จันทรขนิษฐ์

ไม่มี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท