แนวทางสังเคราะห์แบบสำรวจคุณภาพชีวิต


ผมเตรียมสอนช่วงวันหยุดปีใหม่...คิดว่าหัวข้อนี้อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจพัฒนาหรือกำลังสำรวจคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข...ขอส่งความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พี่น้องทุกท่านตลอดปีใหม่และตลอดไปครับ

ทบทวนกระบวนการคิดของผู้ต้องการสำรวจ

  • เป้าหมายของการสำรวจ ›สำรวจใคร ที่ไหน เวลาใด วิธีการอย่างไร
  • เหตุผลของการสำรวจ ›ทราบความต้องการในการสำรวจ ›ทราบประโยชน์ในการสำรวจต่อสาธารณชน ›ทราบประเด็นที่น่าสนใจต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ›ทราบปัญหาที่น่าสนใจต่อการวิจัยพัฒนาและหาแนวทางแก้ไข
  • มิติของการสำรวจ ›สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ สังคม คุณภาพชีวิตในหลายมิติหรือหนึ่งมิติ

ทบทวนกระบวนการวิเคราะห์แบบสำรวจ

  • เนื้อหาครอบคลุมประเด็นที่ผู้สำรวจสนใจ
  • เนื้อหาได้ผ่านการวิจัยและมีระดับคะแนนเหมาะสม (ไม่ดี = 0 ถึง ดีมาก = 5)
  • เนื้อหามีความเป็นสากลและมีการแปลหรือปรับใช้ในแต่ละประเทศอย่างเหมาะสม (Forward-backward translation)
  • เนื้อหามีระบบการให้คะแนนแบบสเกลความรู้สึกหรือมาตราวัดตัวเลข
  • เนื้อหามีการศึกษาความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability)
  • เนื้อหามีการประยุกต์ใช้แบบเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหรือครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

ทบทวนกระบวนการสังเคราะห์แบบสำรวจ

แบบสำรวจควรมีรูปแบบอย่างไร

›จำนวนคำถามปลายเปิดแบบมีตัวเลือก

›จำนวนคำถามปลายปิดที่สามารถเชื่อมโยงกัน

›คำตอบที่ได้สามารถประมวลข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณได้

›มีสัญลักษณ์ คำสั่ง ขนาด ตาราง และทิศทาง ที่ง่าย สะดวก และมีความไวต่อความคิดของผู้ตอบ ในระยะเวลาไม่เกิน 20 นาที

แบบสำรวจควรผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง

›การทบทวนวรรณกรรม กรอบอ้างอิง แบบสำรวจสากล ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ และข้อมูลความต้องการของเป้าหมาย

›การสัมภาษณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้  สังเกต ทดลอง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณในกลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 10 คน หรือ คาดการณ์การกระจายปกติของข้อมูลทางสถิติด้วยจำนวนอย่างน้อย 30 คน

›การคัดเลือกข้อมูลเพื่อสร้างหัวข้อที่จำเป็นในแบบสำรวจ โดยเน้นหลักการวิเคราะห์ทางสถิติ

เทคนิคการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อวิเคราะห์แบบสำรวจ

  • ระวังความผิดพลาด (bias) จาก ›การใช้คำศัพท์เฉพาะที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ›คำที่แสดงความรู้สึกหรือความถี่ของเวลาอย่างไม่ต่อเนื่อง ›คำที่เน้นเหตุผลมากกว่าพฤติกรรมตามธรรมชาติ ›คำที่ชี้นำ มีช่วงเวลานำหน้า เร่งคำถาม ใช้คำถาม “ทำไม” คำถามซ้อนคำถาม คำถามซับซ้อน
  • สเกลคำถามปลายเปิดควรมีตัวเลือก [ ] ใช่ [ ] ไม่ใช่ [ ]ไม่รู้
  • สเกลมาตราวัดควรเรียงลำดับจากน้อยไปมาก และมีระดับที่เหมาะสม (หากไม่แน่ใจจำนวนคี่หรือคู่ ควรทดลองก่อนใช้สำรวจจริง)
  • อย่าใช้คำถามที่เน้นความรู้สึก เช่น อายุ รายได้ เพศ สถานภาพสมรส (ให้มีการเขียนตอบ)

เทคนิคการเป็นผู้สำรวจที่เหมาะสม

  • ใช้น้ำเสียงปิติยินดี น่าสนใจ และมีบุคลิกภาพมืออาชีพ ไม่มีอารมณ์ทางลบ
  • อ่านคำถามตามลำดับ อย่าข้ามเพราะคาดหวังคำตอบหรือคาดเดาคำตอบด้วยความรู้สึกเข้าข้างตนเอง
  • ใช้คำถามปลายเปิดว่า อะไร เมื่อไร อย่างไร เพราะอะไร
  • อ่านคำถามด้วยเสียงดัง ชัดเจน และจังหวะช้าๆ เพื่อให้เวลาผู้ตอบทำความเข้าใจ
  • ทวนคำถามซ้ำในกรณีผู้ตอบยังไม่เข้าใจคำถาม หรือกล่าวนำแบบเฉพาะเจาะจง เช่น คำถามนี้สนใจในสิ่งที่คุณจำได้ รู้สึกได้ หรือมีความหมายต่อคุณ
  • สะท้อนความรู้สึกและให้กำลังใจ เช่น ขอทบทวนว่าคุณคิดข้อนี้...ใช่ ความคิดเห็นมีประโยชน์มาก เราขอขอบคุณ
  • อธิบายวัตถุประสงค์ของการสำรวจและความเชื่อมั่นในการวิเคราะห์คำตอบภาพรวม โดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

แหล่งข้อมูลอ่านเพิ่มเติม

หมายเลขบันทึก: 324573เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2010 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท