การอบสมุนไพร รักษาโรคหอบหืด


การอบสมุนไพรรักษาโรคหอบหืด
การอบสมุนไพรักษาโรคหอบหืด
                เป็นการอบตัวด้วยไอน้ำที่ได้มาจากการต้มสมุนไพรให้ผิวหนังสัมผัสกับไอน้ำ เป็นวิธีบำบัดรักษาอย่างหนึ่งซึ่งเริ่มต้นจากประสบการณ์ การนั่งกระโจมในหญิงหลังคลอด โดยใช้ผ้าทำเป็นกระโจม หรือนั่งในสุ่มไก่ที่ปิดคลุมไว้มิดชิด และมีหม้อต้มสมุนไพรซึ่งเดือดสามารถทำให้สามารถอบและสูดดมไอน้ำสมุนไพรได้ ผิวหนังได้สัมผัสไอน้ำด้วย ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้นทำให้ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล ช่วยให้เส้นเลือดฝอยขยายตัว รูขุมขนเปิด เพื่อขับถ่ายของเสียออกทางผิวหนัง บรรเทาอาการปวดเมื่อย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จะใช้ควบคู่กับการนวดแผนไทย โดยมากมักใช้หลังการนวดเสร็จแล้ว ช่วยลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ช่วยให้เนื้อเยื่อพังผืดหยุ่นตัว ร่างกายสดชื่น

สมุนไพรที่ใช้ในการอบ

1. สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม : สรรพคุณ เพื่อรักษาโรคผิวหนัง ปวดเมื่อย เช่น ไพล, ขมิ้น
2. สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว : สรรพคุณ ใช้ชะล้างสิ่งสกปรก เพิ่มความต้านทานโรคให้กับผิวหนัง เช่น ใบมะขาม ใบ, ฝักส้มป่อย
3. สารประกอบที่ระเหยได้ : สรรพคุณ มีกลิ่นหอม บำรุงหัวใจ เช่น การบูร, พิมเสน
4. รักษาเฉพาะโรค : สรรพคุณ ใช้รักษาโรคผิวหนัง เช่น เหงือกปลาหมอ
สมุนไพรที่ใช้มี 2 ชนิด ดังนี้
1. สมุนไพรสด
2. สมุนไพรแห้ง
ตัวอย่างสมุนไพรสด : พร้อมสรรพคุณ
ไพล : สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว
ขมิ้นชัน : สรรพคุณ แก้โรคผิวหนังสมานแผล
ตะไคร้ : สรรพคุณ ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ
ใบ - ผิวมะกรูด : สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน
ใบหนาด : สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง พุพองน้ำเหลืองเสีย
ว่านน้ำ : สรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้
ใบส้มป่อย : สรรพคุณ แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย
กระชาย : สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย ปากแตก เป็นแผล ใจสั่น
ใบเปล้าใหญ่ : สรรพคุณ ช่วยถอนพิษ ผิดสำแดง บำรุงผิว
ตัวอย่างสมุนไพรแห้ง : พร้อมสรรพคุณ

เหงือกปลาหมอ : สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง พุพอง
ชะลูด : สรรพคุณ แก้ร้อนใน กระสับกระส่าย ดีพิการ
กระวาน : สรรพคุณ แก้เจ็บตา ตาแฉะ ตามัว
เกษรทั้งห้า : สรรพคุณ แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
สมุนแว้ง : สรรพคุณ แต่งกลิ่น
ขั้นตอนการอบสมุนไพร
1. วัดความดันโลหิตก่อนทำการอบสมุนไพร
2. นำน้ำประพรมร่างกาย หรืออาบน้ำเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกที่อาจติดอยู่ตามรูขุมขนและเพื่อเป็นการ เตรียมเส้นเลือดให้พร้อมต่อการยืดขยาย และหดตัว แล้วแต่งกายด้วยเสื้อผ้าน้อยชิ้น
3. เข้าทำการอบ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที กรณีผู้ไม่เคยอบ ควรอบ 3 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที
4. เมื่อครบจำนวนนาที ไม่ควรอาบน้ำทันที ต้องออกมานั่งพักให้เหงื่อแห้ง แล้วจึงอาบน้ำเพื่อชำระคราบเหงื่อไคลและสมุนไพร และช่วยให้เส้นเลือดหดตัวลงเป็นปรกติ
5. เมื่อทำการอบจนครบขั้นตอนแล้วควรปฏิบัติดังนี้
- ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่
- บันทึกการอบสมุนไพรไว้ทุกครั้งเพื่อประโยชน์ในการรักษาต่อเนื่องต่อไป
โรคหรืออาการที่สามารถบำบัดรักษาด้วยการอบสมุนไพร
1. โรคภูมิแพ้
2. โรคหอบหืดที่อาการไม่รุนแรง
3. เป็นหวัด น้ำมูกไหล แต่ไม่แห้งคัน
4. โรคที่ไม่ได้เป็นการเจ็บป่วยเฉพาะที่
5. โรคอื่นๆ ที่สามารถใช้การอบร่วมกับการรักษาแบบต่างๆ
6. เป็นการส่งเสริมสุขภาพ และมารดาหลังคลอด
ข้อห้ามในการอบสมุนไพร
1. มีไข้สูง
2. โรคติดต่อร้ายแรง
3. โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หอบหืดระยะรุนแรง ลมชัก
4. สตรีขณะมีประจำเดือน
5. มีการอักเสบจากบาดแผลเปิดและแผลปิด
6. อ่อนเพลีย อดอาหาร อดนอน หลังรับประทานอาหารใหม่
7. ปวดศีรษะ ชนิดวิงเวียนศีรษะ และคลื่นไส้
 
 
หมายเลขบันทึก: 323234เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

....................................

ขอบคุณ สำหรับ ความ รู้ ครับบ

ลุง จะได้ ไป ทำให้ ยายเขา

ไป หา หมอ มันก้ไม่ หาย สักที

สงสัย ว่า ต้อง ใช้ สมุนไพร

.........................................

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ๆ ค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท