ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

มหาจุฬาฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนบทความทางวิชาการ”


           มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง นำโดย พระมหาหรรษา  ธมฺมหาโส , ผศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และพระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร.  รักษาการรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร. ร่วมกับมจร.วิทยาเขตขอนแก่น  ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนบทความทางวิชาการ  เรื่อง  “การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลกตามทัศนะของชาวพุทธ”  ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา  ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยเขตขอนแก่น  

        

        

        

  ในการอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย ให้สามารถเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพได้    และเพื่อให้ได้บทความเพื่อนำเสนอในการประชุมทางวิชาการในงานมหาจุฬาวิชาการ ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๓  และนำเสนอในการประชุมในงานวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ ๒๓ – ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๓  ในการอบรมได้กล่าวได้มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่ ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ รศ.ดร.วัชระ  งามจิตรเจริญ  รศ. จิรภัทร  แก้วกู่ และผศ.ดร.โสวิทย์  บำรุงภักดิ์ เป็นวิทยากร    มีผู้สนใจเข้าอบรมจำนวน  ๖๑ รูป/คน   ซึ่งเป็นคณาจารย์และนิสิตปริญญาเอก จากวิทยาเขตในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ผู้สนใจสามารถส่งโครงร่างบทความได้ที่ [email protected]

เนื้อหาหลักในการพัฒนาและฝึกอบรม
๑. เป็นการเรียนรู้ร่วมกันว่า บทความ (Academic articles) สำคัญต่อการพัฒนางานด้านวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างไร ในขณะเดียวกัน การเขียนบทความมีความสำคัญต่อการพัฒนางานด้านวิชาการของคณาจารย์ และส่งต่อไปยังนิสิตได้อย่างไร
๒. เป็นการเรียนรู้ร่วมกันว่า บทความที่ดีนั้นควรมีลักษณะอย่างไร และเขียนบทความอย่างไรจึงจะได้ตีพิมพ์ รวมไปถึงหากจะต้องเขียนบทความนั้น สิ่งแรกที่ควรตระหนักรู้และทำความเข้าใจคืออะไร
๓. เป็นการเรียนรู้ว่า องค์ประกอบของบทความ คือ Title Introduction Boday and Conclusion นั้น มีสาระสำคัญ และมีรายละเอียดข้อปลีกย่อยอย่างไร

ข้อสังเกตจากดำเนินกิจกรรม
๑. ผู้เขียนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนบทความในประเด็นต่างๆ เช่น หัวข้อ เนื้อหา ภาษา เอกภาพ สารัตถภาพ สัมพันธภาพ และการอ้างอิง
๒. ผู้เขียนบทความอ่านหนังสือทางวิชาการในจำนวนที่น้อยมาก จึงไม่มีเนื้อหาเพื่อนำมาเขียนบทความ
๓. ผู้เขียนขาดกระบวนการในการย่อยข้อมูลทั้งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ จึงทำให้เนื้อหาที่จะเีขียนขาดสัมพันธภาพของเนื้อหา
๔. ผู้เขียนไม่มีสนาม หรือหนังสือวารสารรองรับการเขียนบทความ ฉะนั้นก่อนเขียนจึงไม่มั่นใจว่าจะได้ัรับการตีติมพ์หรือไม่ อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 323224เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2009 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นมัสการเจ้าค่ะ พระคุณเจ้าธมฺมหาโสภิกขุ

หนูมาตอบข้อสงสัยเรื่องกองผ้าป่าฉบับเด็ก ๆ ค่ะ

เนื่องจากเมื่อวานหนูไปโรงเรียนบ้านห้วยกอกพัฒนากับคุณครู วันนี้หนูเห็นคุณครูขึ้นบันทึกของรับบริจาคสิ่งของให้โรงเรียนบ้านห้วยกอกพัฒนา  หนูเห็นมีผู้แจ้งความประสงค์มาช่วยมากมายค่ะ

ตอนกลางวันที่ผ่านมาคุณครูคิมบอกให้หนู นำเสนอพี่ประธานว่าให้ตั้งกองผ้าป่าฉบับเด็ก ๆ เพื่อนำปัจจัยไปช่วยน้อง ๆโรงเรียนบ้านห้วยกอกพัฒนาค่ะ

หนูจะไปนำเสนอในวันจันทร์นี้  เพราะมีการประชุมนักเรียนธรรมภาภิบาลด้วยค่ะ  หนูเป็นตัวแทนนักเรียนธรรมาภิบาลชั้น ม.2 ค่ะ

คุณครูคิมบอกว่า  เป็นเด็กหากคิดกระทำแบบผู้ใหญ่ ดีกว่าผู้ใหญ่ที่คิดแบบเด็ก ๆ มากค่ะ  และฝึกเอาไว้  ไม่จำเป็นต้องรอให้โตก่อน เมื่อมีโอกาสต้องรีบทำค่ะ

หนูนัท

๑. โครงการที่หนูทำเป็นโครงการที่ดีมาก อย่างไรก็ตาม ขอโครงการที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ไหมจ๊ะ เพราะหลวงพี่จะส่งโครงการนี้ให้วิทยาลัยสงฆ์ุพุทธชินราช พิษณุโลก ได้ดำเนินการต่อ หรืออาจจะช่วยเหลือโครงการหนูนัท

๒. ลืมโครงการที่หลวงพี่เคยบอกว่าจะให้ทุนเรียนภาษาอังกฤษแล้วหรือย้ังจ๊ะ ถ้าสนใจเรียนภาษาอังกฤษในสถาบันภาษาของมหาจุฬาฯ ก็บอกหลวงพี่ได้เลยน่ะ หลวงพี่จะให้ทุันเราเรียนร่วมกันน้องๆ ในอยุธยาและต่างประเทศบางส่วนจ๊ะ

๓. ตั้งใจเรียน และขอให้ขยันเรียน เพื่ออนาคตที่สำหรับวันข้างหน้านะจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท