พบไดโนเสาร์พ่นพิษได้ในจีน [EN]


VOAnews ภาคภาษาไทย สำนักข่าวคุณภาพตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ในจีน เจ้านี่มาแปลก คือ มีพิษร้ายคล้ายงู ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง

ถ้าท่านผู้อ่านได้รับสาระบันเทิงจากเรื่องนี้ ขอแนะนำให้แวะไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ 'VOAnews ภาคภาษาไทย', สำนักข่าวนี้มี MP3 ข่าว-สาระบันเทิงให้ดาวน์โหลดฟรีครับ

...

คำ 'dinosaur' มาจากภาษากรีก คือ 'deinos' = monster = สัตว์ประหลาด + 'sauros' = lizard = จิ้งจก; รวม = จิ้งจกประหลาด หรือสัตว์เลื้อยคลานประหลาด

@ [ dinosaur ] > [ ได๊ - โน - ส่อ ] > http://www.thefreedictionary.com/dinosaur > noun = ไดโนเสาร์

@ คำๆ นี้ย้ำเสียงหนัก (accent) 2 พยางค์ คือ พยางค์แรกหนักมาก "ได๊" - ตำแหน่งที่สาม "ส่อ" หนักปานกลาง คลิกที่ลิ้งค์เพื่อฟัง + ออกเสียงตามเจ้าของภาษาทันที 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้เร็ว

...

ถึงแม้หัวหน้าหน่วยงานหลายๆ ท่านจะมีนิสัยใจคอแบบ 'dinosauric' (adjective) = เกี่ยวกับไดโนเสาร์, บล็อกของเราก็ไม่แนะนำให้ท่านกล่าวคำว่า "ได๊", "ได๊-โน" ในที่ทำงานบ่อยนัก

กล่าวกันว่า หัวหน้าหรือเจ้านายมักจะหูไวตาไวต่อคำ "ได๊" และ "ได๊-โน" มาก และอาจพ่นพิษได้ อย่าลอง... เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

...

[ ขอขอบพระคุณ VOAnews ภาคภาษาไทย ]

...

การวิเคราะห์ซากฟอสซิลของไดโนเสาขนาดเล็กในจีน พบว่าไดโนเสาชนิดนี้ อาจใช้ยาพิษในการเอาชนะเหยื่อ

23/12/2009
 

นักวิทยา ศาสตร์ระบุว่า จากการวิเคราะห์ซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายสัตว์ปีกที่มีขนนกปกคลุม ซึ่งพบในประเทศจีนเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว

ชี้ให้เห็นว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้ อาจใช้ยาพิษ ช่วยในการเอาชนะเหยื่อ ก่อนที่จะกัดกินเป็นอาหาร

...

นักวิจัยระบุ ว่า การค้นพบครั้งนี้อาจเป็นหลักฐานได้ว่า ยาพิษนั้น ถูกใช้เป็นอาวุธในการสังหารเหยื่อ มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เก่าแก่กว่าที่เราคิดกันเสียอีก

Sinonithosaurus คือไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่งที่มีชีวิตอยู่เมื่อราว 125 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาเรื่องซากดึกดำบรรพ์ระบุว่า เป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็กพอๆ กับไก่งวง รูปร่างคล้ายนก มีขนปกคลุม มีกรงเล็บแหลมคมใช้สำหรับปีนต้นไม้ และกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร

...

คุณ David Burnham นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยรัฐ Kansas หนึ่งในคณะผู้ทำงานร่วมกัน ระหว่างนักวิทยาศาสตร์สหรัฐกับจีน เพื่อศึกษาซากฟอสซิลไดโนเสาร์ กล่าวว่า

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบลักษณะพิเศษ ที่น่าสนใจจากซากฟอสซิลของ Sinonithosaurus คือที่ฟันอันแหลมคม ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ สามารถฉีดยาพิษออกมาได้

...

คุณ Burnham ระบุว่า หลักฐานไม่ใช่แค่ที่ฟันเท่านั้น แต่โครงสร้างกระโหลก ยังบ่งบอกว่า อาจมีส่วนที่เก็บยาพิษฝังอยู่ภายใต้โพรงเหนือฟันกรามด้านบน และยังมีช่องหรือรูเล็กๆ ที่เชื่อว่าเป็นช่องที่ยาพิษไหลมายังส่วนฐานของฟันด้วย

อย่างไรก็ตาม คุณ Burnham เชื่อว่า ไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์นี้ ไม่ได้ใช้ยาพิษฆ่าเหยื่อโดยตรง แต่จะทำให้เหยื่อจำพวกนกต่างๆ ช็อกในทันทีหลังจากที่ฝังเขี้ยวคมๆ ผ่านขนหนาๆ ของเหยื่อไปแล้ว

...

โดยนักวิจัย สรุปเกี่ยวกับวิธีการใช้ยาพิษของ Sinonithosaurus หลังจากที่ได้ศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตยุคปัจจุบัน ที่ใช้ยาพิษในการจับเหยื่อ เช่น สัตว์จำพวกตะกวดยักษ์และแย้

นอกจากนี้ คุณ Burnham ยังบอกด้วยว่า นักวิจัยได้เปรียบเทียบซากฟอสซิลของ Sinonithosaurus กับสัตว์ดึกดำบรรพ์สายพันธ์อื่นที่ใช้พิษ และพบว่ามีโครงสร้างส่วนกระโหลก ที่คล้ายคลึงกันอย่างยิ่ง

...

ก่อนหน้านี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญเรื่องซากดึกดำบรรพ์เชื่อว่า การใช้พิษในการจับเหยื่อนี้ เริ่มเกิดขึ้นจากสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ ที่เป็นบรรพบุรุษของงู และสัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ

แต่คุณ David Burnham บอกว่าจากรายงานการศึกษา ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ชิ้นนี้ ชี้ให้เห็นว่าสัตว์ดึกดำบรรพ์ทั่วไป ก็สามารถใช้พิษได้เช่นกัน เช่นเจ้าไดโนเสาร์ Sinonithosaurus พันธุ์นี้.

...

[ ขอขอบพระคุณ VOAnews ภาคภาษาไทย ]

หมายเลขบันทึก: 322979เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2009 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท