แนวคิดของผู้นำ(ทาง)


รู้จักเส้นทางมากมายก็ไร้ความหมายถ้าไม่รู้ว่าเราจะไปไหน..

  องค์กรใดๆจะถูกขับเคลื่อนโดยผู้คนในองค์กร ฝูงคนต่างกับสัตว์ ตรงที่วิธีการพาไปสู่เป้าหมายที่ต่างกัน คือฝูงสัตว์ต้องใช้การต้อน ส่วนฝูงคนต้องใช้การนำ การนำจึงเป็นหัวใจสำหรับองค์กร จึงขอเสนอแนวคิดสำหรับการนำเพื่อลองไปคิดดูครับ...

  • เราจะอึดอัดขัดข้องมากถ้าเรากำลังเดินทางแต่ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน  เราจะรู้เส้นทางดีๆมากมายก็ไร้ค่า ถ้าไม่รู้ว่าจะไปไหน ผู้นำจึงอย่าลืมต้องกำหนดเป้าหมายให้กับองค์กร เราเรียกวิสัยทัศน์ คือการมองด้วยปัญญาของผู้นำ ไม่ใช่การมองด้วยตา ซึ่งเราจะเรียกว่าทัศนวิสัยความหมายต่างกันสิ้นเชิงครับ..
  • เราจะสับสนมากถ้าเราหลงทางไม่รู้ว่าจะไปทางไหน ทิศไหน เส้นทางไหน แล้วตอนนี้เราอยู่ที่ไหนแล้ว ผู้นำก็ควรกำหนดเส้นทาง คือพันธกิจ และบอกด้วยว่าเราอยู่ที่ใดโดยกำหนดเป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว ไว้ให้เราเปรียบเทียบว่าเราอยู่ที่ใด และถ้าจะไปให้ถึงต้องทำอะไรกันบ้าง
  • เราจะปฏิบัติร่วมกันอย่างไร ถ้าระหว่างทางมีหุบเหว หรือสัตว์ร้าย ผู้นำต้องกำหนดหลักปฏิบัติร่วมกันก็คือ ค่านิยม จรรยาบรรณไว้ให้ทุกคนถือปฏิบัติไม่ใช่มีไว้ท่องบ่น..
  • เรารู้ทิศทางก็ไร้ประโยชน์ถ้าไม่มีแรงหรือพลังจะไปต่อ ผู้นำต้องเติมพลังด้วยการให้แรงจูงใจที่ถูกต้อง ถูกเวลา เป็นจริงตามความสามารถ แล้วกระตุ้นให้ทุกคนปล่อยพลังอย่างเต็มความสามารถเท่าที่เขามี
  • จงเป็นผู้สร้างเครื่องบอกเวลาแทนการเป็นผู้บอกเวลา ผู้นำเมื่อนำทางไปแล้วถึงแม้จากไปก็ควรทิ้งรอยเท้าให้คนอื่นเดินตามได้ นั่นคือการเป็นแบบอย่างที่ดีที่ผู้คนอยากทำตามนั่นเอง

ลองเอาไปคิด 5 ข้อก่อนครับ...

คำสำคัญ (Tags): #คุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 32277เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 01:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ตอนสมัยเรียนวิชาการจัดการ จะเห็นว่าตำราสมัยก่อนจะระบุว่า หน้าที่ 4 ประการของการจัดการคือ วางแผน(Planning) จัดโครงสร้างองค์กร (Organizing) สั่งการ (Directing) และควบคุม (Controlling) แต่เมื่อมาถึงยุคใหม่หน้าที่ลำดับที่ 3 ก็เปลี่ยนไป จากสั่งการเป็นการนำ (Leading) แทน ซึ่งผมมักจะบอกคนทั่วไปให้จำง่ายๆว่า POLE ที่มาจาก Planning Organizing Leading และ Evaluating ซึ่งดูดีกว่า Control เยอะเลย

แม้แต่ในเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award) จะเห็นว่าเกณฑ์ที่ 1 ซึ่งมีควมสำคัญมากคือ การนำ หรือภาวะผู้นำ (Leadership) ทำให้เห็นว่าสิ่งที่ DR.SU เขียนไว้นั้นถูกต้องเลยครับ ขอสนับสนุน

ขอบคุณที่คุณ Oscar ช่วยเสริมวิธีคิด ..ปัจจุบันบางครั้งเราขาดวิธีคิด เราก็เลยทำไม่ถูก บางครั้งมีวิธีทำ(ที่คนอื่นทำไว้) แต่ไม่รู้วิธีคิด ก็ยังเป็นปัญหา ถ้ารู้วิธีคิดก็จะคิดต่อยอดได้ง่ายครับ ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท