ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

ตัดคอพ่อของเราทำไม?


                      

วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6965 ข่าวสดรายวัน


ระดมชาวบ้าน-เอกชน ป้องกันแก๊งตัดเศียรพระ



ปัจจุบัน แก๊งตัดเศียรพระก่อเหตุหนักในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะวัดในแถบจังหวัดพระ นครศรีอยุธยา ที่เป็นวัดเก่าแก่ ถูกลักลอบขโมยตัดเศียรพระที่ประเมินค่ามิได้ โดยไม่เกรงกลัวกับบาป กรรม หรือด้วยอำนาจเงินตราที่ทำให้หัวขโมยพวกนี้จำเป็นต้องทำ

แม้เจ้า หน้าที่ตำรวจระดมกำลังตามล่าคนร้าย แต่ก็ยังจับตัวมาลงโทษไม่ได้แม้แต่รายเดียว และเหตุการณ์ทำนองนี้มีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้น

“คุณยายสมคิด เอิบกมล” อายุ 77 ปี ชาวบ้านมีพื้นเพติดกับวัดวังแดงใต้ อ.ท่าเรือ จ.พระนคร ศรีอยุธยา ติดริมแม่น้ำป่าสัก เล่าประสบการณ์ที่เห็นโจรขโมยพระ ว่า

“ เมื่อก่อนยายเคยเห็นรถกระบะไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เข้ามาจอดอยู่ในวัด มีชายหญิง 2 คนนั่งอยู่ในรถ สงสัยว่าจะมาขโมยพระพุทธรูป แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ เพื่อนบ้านยังพูดกลับมาว่าอย่าไปคิดมากสงสัยเค้ามาหาหลวงพ่อ พอวันรุ่งขึ้นพระพุทธรูปในโบสถ์หายไป”

“ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นวัดใน บริเวณนี้มีมากมาย ด้วยความสงสัยจึงไปถามคนเก่าแก่เล่าต่อกันมาว่าสมัยก่อนบ้านไหนที่มีฐานะร่ำ รวยจะบวชลูกชายก็จะสร้างวัดให้ลูกเค้าอยู่ ไม่ต้องไปอยู่รวมกับใคร แต่ไม่ได้สร้างโบสถ์ ทำให้ทุกวันนี้มีวัดร้างเป็นจำนวนมาก”
<table class="mceItemTable" style="width: 20%;" align="right" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5"><tbody><tr bgcolor="#400040">


</tr></tbody></table>

ด้าน นายบันเทิง เอนกสุข อายุ 67 ปี ชาวบ้านในพื้นที่ให้ข้อมูลว่า บริเวณนี้ทั้งสองฝั่งลำน้ำป่าสักล้วนแล้วแต่มีการค้นพบวัดร้างเป็นจำนวนมาก บางวัดไม่มีเหลืออะไรให้ขุดค้น เหลือแค่พระพุทธรูปหรือเศียรพระพุทธรูปที่เอาไว้กราบบูชาเท่านั้น คนที่นี่ยังเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นเรื่องดีที่หลายฝ่ายจะเข้ามาดูแลพื้นที่โบราณสถานอย่างมีแบบแผน หลายแห่งเสียหายเพราะการขุดค้นเอาทรัพย์สินไปขาย

นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุก่อนแก๊งมารจะขโมยมรดกของชาติไปขายหมด แต่ด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรไม่เพียงพอกับการที่จะเข้าไปดูแลโบราณ สถานกว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศ ขึ้นทะเบียนเพียง 2,000 กว่าแห่ง แนวทางที่กรมศิลปากรกำหนดไว้ต้องประสานความร่วมมือจากประชาชนและภาคเอกชน พยายามสร้างความรู้ความเข้าใจ มองเห็นถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม เข้ามาช่วยกัน ในบทบาทที่สามารถทำได้

ดังนั้น จึงต้องให้ภาคเอกชนช่วยสนับสนุนงบประมาณ ชาวบ้านมีกำลังเข้ามาร่วมดูแลภายหลังบูรณะเสร็จแล้ว กรมศิลปากรมีบุคลากร ซึ่งมีประสบการณ์ นำความรู้ทางวิชาการเข้ามาขุดค้นให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ สำหรับปัญหาคนร้ายเข้ามาตัดเศียรพระ พุทธรูปและขโมยของเก่านั้น อยากให้ทุกคนเข้ามาร่วมใจกันรักษาโบราณสถาน มรดกทางวัฒนธรรม โบราณ สถานต่างๆ เป็นสม บัติ ของท้องถิ่น และเป็นสมบัติของคนไทยทุกคน

“ ถ้าหากทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้าน และภาคเอกชน ตระหนักถึงคุณค่าของโบราณสถาน มาร่วมมือร่วมใจช่วยกันบูรณะและรักษาอย่างจริงจัง เชื่อว่าปัญหาต่างๆ เหล่านี้คงจะลดน้อยลงไป”

นายเอนก สีหามาตย์ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา บอกเล่าว่า เป็นห่วงโบราณสถานและโบราณวัตถุใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่มีเกือบ 570 แห่ง นับวันจะสูญหายไป ด้วยกำลังบุคลากรและทุนทรัพย์ของกรมศิลปากรยังไม่เพียงพอ จึงต้องหาแนวทางความร่วมมือจากภาคเอกชนและชุมชน

แนวทางการทำงาน ของกรมศิลปากรแบ่งการทำงานแยกดูแลโบราณสถานที่เป็นวัดร้าง เช่นวัดมหาธาตุ วัดราษฎร์บูรณะ หรือวัดไชยวัฒนาราม กรมศิลปากรก็จะเข้าไปดำเนินการ ส่วนโบราณสถานที่สืบทอดมามีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ เช่น วัดพนัญเชิง วัดหน้าพระเมรุ ทางวัดก็มีกำลังทรัพย์บริหารวัดเอง ทางกรมศิลปากรก็ให้คำปรึกษาทางวิชาการ จัดรูปแบบอย่างถูกต้อง ส่วนวัดร้าง หรือวัดที่ไม่มีทุนทรัพย์ อย่างเช่น วัดดงหวาย วัดไม้ลวก วัดหัวพรวน แถบลุ่มน้ำป่าสัก มักถูกตัดเศียรพระพุทธรูปเป็นประจำ จนไม่เหลือของเก่าให้ดู หากปล่อยไปมากกว่านี้ คงไม่เหลือซากประวัติศาสตร์ให้ลูกหลานได้ศึกษา

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2552 กรมศิลปากรได้ร่วมกับผู้บริหารบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จัดพิธีบวงสรวงและบูรณะโบราณสถานวัดขรัวตาเพชร หรือชาวบ้านเรียกกันว่า วัดหัวพรวน ต.โพธิ์เอน อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีประวัติยาวนาน 300 กว่าปี เป็นวัดที่อยู่ในชุมชนล้อมรอบตามลุ่มน้ำป่าสัก

เชื่อว่าหากได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชาวบ้านในชุมชนคอยดูแลเป็นหูเป็นตา

ปัญหาการตัดเศียรพระจะลดน้อยลง


หน้า 30

หมายเลขบันทึก: 322521เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2009 02:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท