ภาษาไทย ซัมซุง และองค์กรแห่งการเรียนรู้


Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (21)

เมื่อเช้าผมได้คุณกับคุณนิภาพร ลูกศิษย์ของผม เธอได้เกียรตินิมอันดับสอง สาขาภาษาไทย จากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันเธอทำงานอยู่แผนก HRD ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง หลังจากทักทายเธอแล้ว ผมลองถามเธอว่า "จุดเปลี่ยนที่เธอรู้สึกว่า เธอเรียนภาษาไทยได้ดีขึ้น จนมาเรียนเอกภาษาไทย นี่เป็นอย่างไร มันเกิดอะไรขึ้น" 

เธอไม่ได้ตอบคำถาามนี้โดยตรงครับแต่เธอเริ่มจากคำพูดที่ว่า "หนูก็ไม่ได้จะอยากเรียนภาษาไทยโดยตรงแต่แรกหรอกค่ะ แต่สอบติดมาแล้วก็เลยต้องเรียน ระหว่างเรียนก็ไม่มีเป้าหมายค่ะ ไม่รู้ว่าเรียนภาษาไทยจะเอาไปทำอะไรได้ แต่พอมาทำงานเริ่มเห็นค่ะอาจารย์ ไปสอบเข้าที่ไหนมักต้องสอบภาษาไทย ค่ะ หลายคนเรียนเก่งมาแต่สอบไม่ได้ เพราะตกม้าตายตรงนี้แหล่ะค่ะ ถ้าไปดูเรื่องเรียนพิเศษก็จะยิ่งเห็น เห็นเลยค่ะว่าอาจมีติววิชาอื่นๆ แต่หาหลักสูตรภาษาไทยดีๆนี่ยากมากค่ะ ไม่ต้องพูดถึงติวเพื่อสอบเข้าทำงาน นี่ไม่มีเลยค่ะ จะว่าไปหนูว่าตลาดยังขาดคนรู้ภาษาไทยนะคะอาจารย์"

"ส่วนจุดเปลี่ยนที่ทำให้หนูาเรียนภาษาไทยได้ดีนั้น เกิดจากเทอมแรกเข้ามาเรียนก็ได้สองกว่าๆ ก็เลยตกใจว่าทำไมเราทำได้แค่นี้ จากนั้นมาก็เลยเริ่มจับทางอาจารย์และเรียนจนมาได้เกียรตินิยมอันดับสองนี่แหละค่ะ"

การสัมภาษณ์ครั้งนี้ทำให้ผมตื่นเต้นครับ เราได้รู้เลยว่า การสัมภาษณ์คนในสาขาแปลกๆ ทำให้เราได้ความรู้แปลกๆ ถ้าเป็นทางการตลาดเราอาจได้รู้ช่องว่างทางการตลาดได้จริงๆ ครับ ถ้าเป็นครูภาษาไทยก็สามารถจุดประกายลูกศิษย์ให้วางแผนชีวิตได้ครับ ตั้งใจเรียนเลยครับภาษาไทย อาจจบสถาบันไม่ดัง แต่เก๋งภาษาไทย เผลอๆสู้เขาได้สบายเลยครับ ไปทำงานบริษัทดีๆได้นะครับ จะว่าไปงานที่คุณนิภาพรได้ทำก็ไม่ขี้เหร่เลยสักงานเดียวครับ ปัจจุบันได้ทำงานในฝ่ายฝึกอบรมของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ด้วยซ้ำครับ

ตัดภาพมาในแง่ของการเรียนรู้จากแห่งเรียนรู้นอกกรอบ เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงคุณ Peter Kelly ผู้ก่อตั้งบริษัท IDEO บริษัทนี้อยู่เบื้องหลังการออกแบบสินค้าดังๆของโลกเช่น Apple McIntosh รวมทั้งอยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการออกแบบของบริษัท  Sumsung (จนแซงหน้า Sony) คุณ Peter เล่าว่า ความที่เขาเดินทางบ่อยๆ ก่อนขึ้นเครื่องบินเขาจะเลือกหยิบนิตยสารแบบสุ่มๆ อะไรก็ได้สิบฉบับ แล้วเอามาอ่านบนเครื่องบิน เขาบอกว่าทำให้ได้ความคิดแปลกใหม่ดีครับ หลายครั้งได้รับแรงบันดาลใจใหม่ๆ ไปพัฒนาหผลิตภัณฑ์หลังลงเครื่องครับ คุณ Peter แต่งหนังสือดังระดับโลกหลายเล่ม เล่มหนึ่งแปลเป็นไทยครับ ผมเอามาเป็นหนังสือเรียนสอนหนักศึกษาป.โท ในวิชา Business Creativity ครับ

"ผมสรุปวันนี้ได้ว่า เราสามารถเรียนรู้ ค้นหาโอกาสใหม่ๆได้จากการถามคนที่ไม่คิดว่าจะมีใครถาม การอ่านหนังสือที่คนในแวดวงของเราอาจไม่มีใครอ่าน เราจะได้เรียนรู้อะไรอีกเยอะครับ"

1. หนังสือ IDEO

2. Website

http://www.ideo.com/

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#learning organization
หมายเลขบันทึก: 322377เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2009 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หัวข้อนี้ น่าสนใจค่ะ อาโญ

เพราะตอนเอนทร้านซ์ หนูก็เป็นหนึ่งในคนส่วนมากเหมือนกัน

ที่เอาแต่ติว ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ

คณิตศาสตร์

โดยไม่เคยเห็นว่า ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนเพิ่มเติม

ทุกวันนี้ มีแต่คนไปร่ำเรียนภาษาอังกฤษเอย ญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาบ้านเมือง

แต่คงน้อยคนเหลือเกินนะคะ ที่เรียนวิชาภาษาไทย

รู้ว่า ราชาศัพท์ที่ต้องใช้ หรือการพูดภาษาไทยที่ทำให้รูปประโยคสละสลวยมากขึ้น

เป็นสิ่งจำเป็น เพราะนั่น อาจทำให้เกิดนักพูด (ที่ผู้ฟังเข้าใจมากขึ้น) นักวิเคราะห์

นักอ่านข่าว และนักแปลที่มีคุณภาพมากขึ้นค่ะ

คำพูดของคุณนิภาพรที่ว่า "ตลาด ยังขาดคนรู้ภาษาไทย ยังมีนะคะ"

เป็นคำพูดที่เป็นความจริงแท้เลยค่ะ

แจ๋วแหวว

ดีนะผมพิมพ์สัมผัสภาษาไทยได้

ฟ ห ก ด ฮา ๆ

อาจารย์ครับ ก่อนอื่น ต้องขอแสดงความยินดีก่อนครับ

สำหรับ ก้าวแรกของอาจารย์ ที่ได้รับการเสนอชื่อ ให้คนใน gotoknow โหวต

ใน รางวัลสุดคะนึงประจำเดือน ธ.ค. 52 อาจารย์ เจ๋งสุดๆเลยครับ

สำหรับหัวข้อนี้ ผมคิดว่า น่าสนใจครับ

วันนี้ผมได้มีโอกาสถาม พี่สาวของผม พี่สาวผมเป็นหมอครับ

ทำงานในร.พ.รัฐ แถวๆภาคอีสานนี่แหล่ะ

"เจ๊ พอจะรู้เรื่อง KM ในโรงพยาบาลไหม"

เจ๊ตอบว่า "พอจะมีบ้าง แต่งานที่ทำอยู่ก็ยุ่งไปหมดแล้ว

ไม่มีเวลามานั่ง กรอกเอกสารหรอก

ก็เลยรู้แค่ งูๆปลาๆ"

ผมเลยได้ไอเดียว่า เอ จะมีไหมหนา KM อย่างง่าย

ที่แปลงกระแสไฟฟ้าในสมอง ที่เรียกว่าความคิด

ออกมาเป็น เอกสาร

ผมคิดไปคิดมา คิดไปถึงว่า ยากสุด

มีไอ้เครื่องอะไรไหมที่ บันทึกทุกคำพูดของเรา

แล้วแปลงให้เป็น เอกสาร word ได้ทันที พกพาสะดวก

เหมือนเครื่อง สแกนเนอร์ แต่สแกน คำพูดเรา ไม่ต้องพิมพ์ ไม่ต้องถอดเทป

ผมคิดไปถึงว่า ง่ายสุด

เอกสารก็ได้ เอาง่ายๆ

ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร 5 คำถามก็เป็น KM ที่เป็นประโยคได้แล้ว

ผมถึงได้บอกว่า กระทู้นี้น่าสนใจครับ

ถ้าเราจะทำ KM แล้ว ภาษาที่ใช้ ไม่สามารถสื่อถึงกันได้ มันก็จบ

จริงไหมครับ อาจารย์

จริงคุณม่อน คุณจุดประกายให้ผมเขียนในเรื่องการสื่อสาร และภาษาไทยในตอนต่อไปครับ

อาจารย์คะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ

เราคงต้องเปิดใจรับรู้และเรียนรู้จากสื่อรอบๆ ตัว เพื่อเรียนรู้แนวคิด แนวทาง และสร้างไอเดียร์สำหรับการพัฒนาตนเองและพัฒนางานต่อไปนะค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท