ธรรมฐิต
พระ(มหา) วิชิต ชิต สมถวิล(ฐิตธมฺโม)

มาพยายามทำความรู้จักกับมันเถอะ(ต่อ)


        ธรรมฐิตยังอินเลิฟอยู่กับความตาย บันทึกนี้ จึงนำเสนอการระลึกถึงความตายอีกประการหนึ่งตามนัย  คัมภีร์บาลีวิสุทธิมรรค  บางครั้งนอกจากอุบัติเหตุต่างๆที่คร่ารูปนามของเราไปแล้ว  แม้ในตัวตนของเรายังมีสิ่งมีชีวิตอีกหลายสายพันธุ์ยั้วเยี้ยเต็มไปหมด  พวกนี้แหละวันดีคืนดีอาจเล่นงานเราถึงตายได้ 

ลองมาระลึกตามที่ท่านว่าไว้เป็นพันๆปีมาแล้ว

    กายพหุสาธารณโต พึงระลึกถึงความตายโดยร่างกายเป็นสาธารณะแก่สัตว์และปัจจัยแห่งความตายมากชนิด

มีอธิบายว่า  กายนี้เป็นสาธารณะแก่สัตว์มากชนิด  คือประการแรกก็เป็นสาธารณแก่หมู่หนอน(พยาธิ,เชื้อโรคต่างๆ)

๘๐  จำพวกในหมู่หนอนเหล่านั้น  จำพวกที่เป็นสัตว์อาศัยผิวหนัง  

ก็กัดกินผิวหนัง

จำพวกที่อาศัยหนังก็กัดกินหนัง  จำพวกที่อาศัยเนื้อก็กัดกินเนื้อ 

จำพวกที่อาศัยเอ็นก็กัดกินเอ็น  จำพวกที่อาศัยกระดูกก็กัดกินกระดูก 

จำพวกที่อาศัยเยื่อในกระดูก  ก็กัดกินเยื่อ  มันเกิด  แก่  ตาย  ถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะอยู่ในกายนั้นเอง  และร่างกายก็นับว่า เป็นเรือนคลอดด้วย

เป็นโรงพยาบาลด้วย  เป็นสุสานด้วย   เป็นส้วมด้วย 

เป็นรางปัสสาวะด้วย  ของพวกมัน  อันว่าร่างกายนี้นั้น 

เพราะความกำเริบแห่งหมู่หนอนแม้เหล่านั้น 

ก็ถึงซึ่งความตายได้ประการหนึ่งเป็นแท้

        อนึ่ง  กายนี้เป็นสาธารณะแก่หมู่หนอน  ๘๐  จำพวก  ฉันใด 

ก็ย่อมทั่วไปแก่ปัจจัยแห่งความตาย  ทั้งที่เป็นโรคภายใน  ได้แก่โรค

หลายร้อยอย่างทีเดียว  ทั้งที่เป็นภายนอก  ได้แก่สัตว์มีพิษ  เช่นงูและ

แมลงป่อง  ฉันนั้น  อุปมาดังอาวุธทั้งหลายมีลูกศร  หอกแทง  หอกซัด

และก้อนหินเป็นต้น  อันบุคคลซัด   มาแต่ทิศทั้งปวง  ตกประดัง

ลงที่เป้า  อันเขาตั้งไว้  ณ  สี่แยกถนนใหญ่  ฉันใด  แม้อุปัทวะทั้งปวง

ก็ตกประดังลงมาที่ร่างกาย  ฉันนั้น  อันว่าร่างกายนี้นั้น   เพราะ

ความตกประดังลงแห่งอุปัทวะเหล่านั้น  ก็ถึงซึ่งความตายได้

ประการหนึ่งเหมือนกัน  เพราะเหตุนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้

ว่า  "ดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย  ผู้เล็งเห็นภัยในพิภพนี้ 

ครั้นกลางวันผ่านไปแล้ว  กลางคืนย่างเข้ามา  ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า   ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากนะ  คืองูพึงกัดเราก็ได้  แมลงป่องพึงต่อย

เราก็ได้  ตะขาบพึงกัดเอาเราก็ได้  เพราะเหตุนั้น  เราอาจจะตายก็เป็นได้  

หรือมิฉะนั้นแล้วเราพึงจะพลาดล้มลง  อาหารที่เรากินแล้วพึงเกิดเป็น

พิษก็ได้  น้ำดีของเราพึงกำเริบก็ได้  เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ 

ลมตัดความสืบต่อแห่งชีวิต(โรคลมปัจจุบัน) ของเราพึงกำเริบก็ได้   เหตุนั้น

เราอาจจะตายก็เป็นได้   ดังนี้    

เราท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงความตาย  โดยร่างกายเป็นสาธารณะแก่สัตว์และปัจจัยแห่งความตายมากชนิด  โดยนัยที่กล่าวมาฉะนี้

ศึกษาเรียนรู้ความตายเพื่อจะได้อยู่ก่อนจากอย่างทรงคุณและค่า

พยายามรู้จักมันเข้าไว้ แล้วเราจะเป็นเพื่อนกับความตายได้อย่างสนิทใจ..

...อยู่ก็จะสบาย..ตายจากไปก็แฮปปี้..

 

ธรรมะสวัสดีขอรับ..

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมฐิต
หมายเลขบันทึก: 321822เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2009 06:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

"...อยู่ก็จะสบาย..ตายจากไปก็แฮปปี้..."

ชอบประโยคจบท้ายจังเลยเจ้าค่ะ...

แต่ตอนที่ตายเนี่ย คนตายอาจจะแฮปปี้ แต่ไม่รู้ว่าคนที่อยู่เค้าจะแฮปปี้ด้วยมั้ยนี่สิเจ้าค่ะ

 

 

  • นมัสการพระอาจารย์
  • ได้แง่คิดดีๆ ครับ
  • พระอาจารย์คำว่า จิต ใจ และ คิด และรู้สึก แตกต่างกันอย่างไรครับ

Pอ้าวแล้วนอกนั้นดาวฟ้าไม่ชอบสิ..

..มัฏฐกุณฑลิเทพบุตรถามบิดาตนในโลกมนุษย์ที่นั่งร้องให้คร่ำครวญที่ป่าช้า

เพราะลูกชายตายจากไปว่า..คนที่ร้องให้ไม่แฮปปี้เพราะคนที่รักตายจาก

กับเด็กที่ร้องให้เพราะต้องการพระจันทร์และพระอาทิตย์

สองคนนี้ใครจะโง่กว่ากันละ..

ดาวฟ้าหาคำตอบเองเนาะ..

P จิตใจเปรียบดั่งน้ำใสในแก้วส่วน ความคิดความรู้สึกเปรียบดั่งสีที่เทใส่ลงในแก้วน้ำ

ลองค้นหาดูนะคุณครูแล้วสามารถจะแยกแยะได้..

สาธุๆๆ

กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ สำหรับคำถามที่เป็นคำตอบ...สาธุ ๆ ๆ

Pปัญญาระดับคุณหมอดาวแล้ว..ธรรมฐิตคงมิต้องอธิบายมากเนาะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท