ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

การจัดการความรู้ของมหาจุฬาฯ ภายใต้กรอบของ “เจดีย์โมเดล” (Stupa Model)


มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นองค์กรทางศาสนาที่จัดการศึกษาด้านพระไตรปิฏกและวิทยาการชั้นสูงตามวิสัย ทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ว่า "เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม" ได้นำเครื่องมือ "การจัดการความรู้" มาพัฒนาด้านการบริหารมหาวิทยาลัย ภายใต้กรอบแนวคิดดังต่อไปนี้

                                   

                  

๑. หลักการและเหตุผลในการใช้ “เจดีย์โมเดล” Stupa Model  
      ๑.๑ พระพุทธศาสนาประกอบด้วยองค์ ๓ ที่เรียกว่าพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาสูงสุด และเป็นศูนย์รวม หรือแกนกลางการยึดเหนี่ยวทางจิตใจของพระพุทธศาสนิกชน 
      ๑.๒. ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยลัย ณ ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระไตรปิฎก รวมถึงพระราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ องค์ผู้สถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยซึ่งเจดีย์ดังกล่าวถือเป็นสัญลักษณ์และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตของประชาคมชาวมจร

๒. องค์ประกอบของเจดีย์
      ๒.๑ ส่วนที่ ๑ ฐานล่าง  ที่เป็นฐานเจดีย์   มีคำว่า Learning Organization   
      ๒.๒ ส่วนที่ ๒ ฐานรอง มีลักษณะต่างระดับกันตามลักษณะเจดีย์ SANGHA  DHAMMA และ BUDDHA
      ๒.๓ ส่วนที่ ๓ ส่วนที่เป็นองค์เจดีย์ มีลักษณะตั้งตรง มีภาษาอังกฤษ ๙ อักษร คือ MAHACHULA
      ๒.๔ ส่วนที่ ๔ ส่วนยอด มีลักษณะแหลม มีภาษาอังกฤษ คำว่า Vision

๓. นิยามความหมาย
     ๓.๑ ส่วนที่ ๑ ฐานล่าง  มีคำว่า Learning Organization  หมายถึง  องค์กรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรมีชีวิต เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่ปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนยอดของเจดีย์ ทั้งนี้โดยการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กร
     ๓.๒ ส่วนที่ ๒ ฐานรอง มีลักษณะต่างระดับกันตามลักษณะเจดีย์ SANGHA  DHAMMA  BUDDHA 
           ก. SANGHA  หมายถึง การจัดการความรู้โดยเก็บ และการรวบรวมสาธารณปัญญา (Explicit Knowledge) ของผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นชุมชนนักปฏิบัติที่เรียกว่า (CoP) รวมไปถึงการดึงองค์ความรู้ในแง่ปัจเจกปัญญา (Tacit Knowledge) ออกมาพัฒนาให้เป็นสาธารณปัญญา และสามารถนำไปใช้ได้ภายใต้กรอบ ๕ อย่างคือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
           ข. DHAMMA  หมายถึง คลังความรู้ หรือขุมทรัพย์ความรู้ (Knowledge Asset) ที่เกิดจากการเก็บและรวบรวมองค์ความรู้ทั้งปัจเจกปัญญา และสาธารณปัญญา ของผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตของมหาวิทยาลัย ที่เกิดขึ้นและตกผลึกจากการแบ่งปันปัจเจกปัญญาและพัฒนาไปสู่สาธารณปัญญา อันจะก่อให้เกิดประโยชน์การต่อบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่ประสงค์นำองค์ความรู้ที่ถูกต้องไปใช้ได้ถูกกาละและเทศะ
            ค. BUDDHA  หมายถึง องค์ความรู้ชั้นสูง ที่ผ่านกระบวนการจัดระบบ การคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ จนกลายเป็นความรู้ในระดับ ปัญญา เป็นภาวะที่มุ่งให้บุคลากรสามารถใช้ปัจเจกปัญญาและสาธารณปัญญาเพื่อพัฒนาตนเองและองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน อันจะทำให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น เบิกบาน รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกสอดคล้องกับนวลักษณ์ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัย

      ๓.๓ ส่วนที่ ๓ ส่วนที่เป็นองค์เจดีย์ มีลักษณะตั้งตรง มีภาษาอังกฤษ ๙ อักษร คือ MAHACHULAหมายถึง อัตลักษณ์ของบุคลากร และนิสิตของมหาวิทยาลัย ๙ อย่าง ที่มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นพัฒนาให้เกิดขึ้นโดยใช้การจัดการความรู้ที่เป็นฐานของเจดีย์ที่กล่าวมาเป็นเครื่องมือ
             ๑. M – Morality มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส
             ๒. A – Awareness รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
           ๓. H – Helpfulness  มีศรัทธา อุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา
           ๔. A – Ability  มีความสามารถในการแก้ปัญหา
           ๕. C – Curiosity มีความใฝ่รู่ใฝ่คิด
           ๖. H -  Hospitality  มีน้ำใจเสียสละเพื่อส่วนรวม
           ๗. U – Universality  มีโลกทัศน์กว้างไกล
           ๘. L – Leadership  มีความเป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา
           ๙. A – Aspiration  มีความมุ่งมั่นพัฒนาตนให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

        ๓.๔ ส่วนที่ ๔ ส่วนยอด คือ “Vision” ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ที่มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นจะพัฒนาตัวเองเพื่อไปให้ถึงความสำเร็จ คือ ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ  สร้างคนดีและเก่ง อย่างมีสมรรถภาพ จัดการศึกษาและวิจัยดีอย่างมีคุณภาพ  บริการวิชาการดีอย่างมีสุขภาพ  บริหารดีอย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 321614เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2009 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมสนใจจะศึกษา KM ในพระพุทธศาสนายุคต้น

จะมีกรอบแนวคิดอย่างไร ครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท