การจัดโรงเรียนในโรงเรียน


การจัดโรงเรียนในโรงเรียน

การจัดโรงเรียนในโรงเรียน

 

ความหมาย


โรงเรียนภายในโรงเรียน  คือโรงเรียนสาธารณะขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งเป็นขนาดเล็ก

หลายๆ โรงเรียน มีอิสระในระบบการจัดการและแยกเป็นนิติบุคคล ในแต่ละโรงเรียนจะมีการบริหารงบประมาณ และการวางแผนโปรแกรมต่างๆ เป็นของตนเอง  แต่การดำเนินการด้าน      ความปลอดภัย  และอาคารสถานที่ยังคงประสานกับโรงเรียนขนาดใหญ่และใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน รูปแบบของการจัดโรงเรียน ภายในโรงเรียนเป็นลักษณะของการแสวงหาผล ประโยชน์และความสำเร็จร่วมกัน ของโรงเรียนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

 

ลักษณะองค์กรหลักของโรงเรียนภายในโรงเรียน

 

คือ การกระจายอำนาจการบริหารการจัดการต่าง ไปสู่โรงเรียนขนาดเล็กที่ตั้งขึ้นในโรงเรียนและหลักสูตรในแต่ละชั้นเรียนจัดแบบโรงเรียนขนาดเล็ก

รูปแบบการจัดโรงเรียนภายในโรงเรียน

รูปแบบการจัดโรงเรียนภายในโรงเรียนที่ได้ผลก็คือ การนำหลักการจัดโรงเรียนขนาดเล็ก    มาจัด ซึ่งสรุปได้ 7 รูปแบบ ได้แก่
              รูปแบบที่ 1  การจัดการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียน ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบช่วงชั้นและการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยวิธีการยุบชั้นเรียน ให้โรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นสามารถจัด         การเรียนการสอนได้โดยไม่ทิ้งห้องเรียน ซึ่งโรงเรียนสามารถปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่                 โรงเรียนบ้านย่านยาว อ.คีรีรัฐนิคม สพท.สุราษฎร์ธานี เขต 2, โรงเรียนบ้านโคกสว่าง อ.ตาคลี สพท.นครสวรรค์ เขต 3 และ โรงเรียน  บ้านทุ่งหัวพรหม อ.เมือง สพท. นครปฐม เขต 1
               รูปแบบที่ 2  การบูรณาการหลักสูตร เป็นการนำความรู้มารวบรวมประมวลไว้ในหน่วยเดียวกัน สำหรับโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้อง        กับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่รวมทั้งการนำหลักสูตรไปใช้ให้บังเกิดผลตามที่ต้องการ สำหรับ            การบูรณาการเนื้อหารายวิชา สามารถดำเนินการได้โดยศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร จากนั้นนำวัตถุประสงค์ตลอดจนเนื้อหาการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มวิชาที่สอดคล้องกันมาเชื่อมโยง สู่การจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ แล้วนำมากำหนดกิจกรรม เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้                ได้ครั้งเดียวพร้อมกันในแต่ละช่วงชั้น โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.ประจวบคีรีขันธ์      เขต 2, โรงเรียนบ้านเกาะลานและโรงเรียนบ้านคลองไม้แดง สพท.ตาก  เขต 1,                       โรงเรียนบ้านสายน้ำทิพย์ สพท.นครสวรรค์ เขต 3 และ โรงเรียนบ้านตะพุนทอง อ.เมือง สพท.ระยอง เขต 1
                 รูปแบบที่ 3  ความร่วมมือจากชุมชน เพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วนของทุก สพท.        ในเรื่องการขาดแคลนครู งบประมาณไม่เพียงพอ และขาดสื่อเทคโนโลยี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา องค์กรท้องถิ่น เครือข่ายสถานศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งเป็นแรงสนับสนุนให้โรงเรียนขนาดเล็กได้รับการพัฒนาต่อยอดทั้งในด้าน    การบริหารจัดการ งบประมาณ ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.กาญจนบุรี เขต 1, โรงเรียนวัดสามทอง อ.เมือง สพท.สงขลา เขต 1,โรงเรียนบ้านลานคา อ.บ้านไร่ สพท.อุทัยธานี และโรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง อ.ท่าหลวง สพท.ลพบุรี เขต 2
                 รูปแบบที่ 4  การใช้ ICT ในการพัฒนาคุณภาพ โดย สพท. หลายแห่งได้นำเทคโนโลยี    มาใช้อย่างหลากหลาย เช่น รถคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (Mobile unit) เพื่อให้บริการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกล การส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยการรับสัญญาณ การสอนทางไกลจากโรงเรียนไกลกังวลหัวหิน เป็นต้น โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.พิษณุโลก เขต 2, โรงเรียนวัดสายลำโพงกลาง     อ.ท่าตะโก สพท.นครสวรรค์ เขต 3, โรงเรียนบ้านห้วยไคร้   อ.คลองหาด สพท.สระแก้ว เขต 1 และโรงเรียนบ้านหนองจานใต้ อ.ลำทะเมนชัย สพท.นครราชสีมา เขต 7
                รูปแบบที่ รูปแบบโรงเรียนเครือข่าย เป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนหลัก และโรงเรียนเครือข่ายในการวางแผนการจัดการศึกษา ตลอดจนผู้บริหารและครูได้รับ การพัฒนาจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท.เชียงใหม่ เขต 2, โรงเรียนวัดชัยสุวรรณ อ.เชียรใหญ่ สพท.นครศรีธรรมราช เขต 3, โรงเรียนวัดดอนหวาย อ.สว่างอารมณ์ สพท.อุทัยธานี และ โรงเรียนเก่าน้อยโนนรังวิทยาเสริม อ.กมลาไสย สพท.กาฬสินธุ์ เขต 1
                  รูปแบบที่ 6  ผสมผสานด้วยวิธีการหลากหลาย สพท. เป็นการผสมผสานรูปแบบ ที่ 1-5ดังกล่าวข้างต้นมาดำเนินงาน นับว่าเป็นรูปแบบที่ทำให้โรงเรียนจำนวนมาก ประสบผลสำเร็จ        โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ สพท. นครปฐม เขต 1, โรงเรียน บ้านดอนน้ำครก อ.เมือง สพท.น่าน เขต 1, โรงเรียนบ้านโคกถาวร อ.วานรนิวาส สพท. สกลนคร เขต 3 และ โรงเรียนบ้านงอมมด อ.ท่าปลา สพท.อุตรดิตถ์ เขต 2
                   รูปแบบที่ 7  การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นรูปแบบที่มีผู้บริหารใช้ความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษา มีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความเป็นประชาธิปไตยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาตลอดจนมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายการทำงาน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่ โรงเรียนวัดสุทธาวาส อ.อินทร์บุรี สพท.สิงห์บุรี, โรงเรียนบ้านหมื่นเทพ    อ.หันคา สพท.ชัยนาท, โรงเรียนบ้านสงยางดอนไม้คูณ อ.ม่วงสามสิบ สพท. อุบลราชธานี เขต 1 และโรงเรียนบ้านจรวย อ.ลำดวน สพท.สุรินทร์ เขต 1

ประโยชน์ของโรงเรียนขนาดเล็ก

              ใน ปี 1996 มีรายงานการศึกษา จาก National Carnegie Foundation   เกี่ยวกับโรงเรียน    ขนาดเล็กการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนขนาดเล็กมีการจัดสภาพแวดล้อม ที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้    มีความสุข ความปลอดภัยสูง  และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงอย่างต่อเนื่อง
ทำให้มีการนำประโยชน์ของการจัดโรงเรียนขนาดเล็กมาจัดเป็นโรงเรียนภายในโรงเรียน เมื่อนำวิธีการจัดการมาใช้ทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้
               1.   สามารถปฏิรูปหลักสูตรและการสอน กลยุทธ์  และวิธีการต่างๆ ให้เหมาะสมกับผู้เรียน               

               2.   การติดต่อระหว่างระหว่าง นักศึกษา และ อาจารย์   ในโรงเรียนขนาดเล็กทำได้ง่ายทำให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น
               3.   ครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สามารถดูแลนักเรียนได้ทั่วถึงมากกว่า โรงเรียนขนาดใหญ่

               4.   นักเรียนนักศึกษาจะมีความรู้สึกผูกพันกับโรงเรียนมากกว่า  และยังส่งเสริมทัศนคติ        ด้านบวกให้แก่นักเรียนด้วย

               5.   นักเรียนส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆของทางโรงเรียนมากขึ้น
               6.   โรงเรียนขนาด เล็กโดยทั่วไปมีปัญหาวินัยน้อยลงกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่.

 

ตัวอย่าง การจัดการศึกษาแบบโรงเรียนในโรงเรียนภายในประเทศไทยของโรงเรียนท่านางแนววิทยายน

ประสบการณ์จากการศึกษาเอกสารและจากประสบการณ์ตรงของโรงเรียนทำให้           กล่าวได้ว่า   การปฏิรูปการเรียนการสอนจะดำ เนินการอย่างราบรื่นและเป็นระบบไม่ได้ หากโรงเรียนไม่พัฒนาการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการปฏิรูปดังกล่าว โรงเรียนมีความตระหนักในประเด็นดังกล่าว   จึงได้ร่วมกันคิดหาวิธีการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองมาพัฒนาขึ้นใช้ในโรงเรียนตามวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบท่านางแนววิทยายนนั้น  ครูจะต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ร่วมกันวางแผนการสอน ร่วมกันสอน และร่วมกันวัดผลประเมินผล ภายใต้การดำเนินงานที่ยืดหยุ่นมาก ดังนั้นครูแต่ละคนจึงจำ เป็นต้องสอนเพียงระดับ  ชั้นเดียว ทำ ให้เกิดกลุ่มครูขึ้น 4 กลุ่ม คือ    กลุ่มครู ม. 1 กลุ่มครู ม. 2 กลุ่มครู ม. 3 และกลุ่มครู      ม. ปลาย แต่ละกลุ่มมีการทำ งานเป็นทีมที่ค่อนข้างเหนียวแน่น มีอิสระและมีการปฏิบัติงาน             ที่ค่อนข้างเบ็ดเสร็จในระดับชั้นของตน โรงเรียน   จึงอาศัยแนวคิดการบริหารโรงเรียนแบบ “ โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ ” (School within school)    ซึ่งน่าจะเหมาะสมที่สุดมาปรับรูปแบบ         การบริหารจัดการเสียใหม่ โดยปรับโครงสร้างการบริหารโรงเรียนให้มีโรงเรียนเล็ก  4 โรงเรียน    คือ โรงเรียน ม. 1 โรงเรียน ม. 2 โรงเรียน ม. 3และโรงเรียน ม. ปลาย แต่ละโรงเรียนมีครูประมาณ  6 - 7 คน ครูทุกคน ยกเว้นผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารจะต้องสังกัดโรงเรียนเลือกครู 1 คนเป็นหัวหน้า เรียกว่า “ ครูใหญ่ ” มีวาระ 2 ปี ครูในแต่ละโรงเรียน   จะได้รับอำนาจในการตัดสินใจ     ในเรื่องสำคัญ 2 ประการคือ งานวิชาการ ได้แก่ การจัดตารางเรียน การเลือกหนังสือเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียน อีกงานหนึ่งคือ งานบุคลากร ได้แก่ การพิจารณาการรับนักเรียนย้ายโอนมา   การพัฒนาครู การนิเทศติดตามงานครู การอนุญาตการลาของครู การควบคุมการปฏิบัติงานของครู การพิจารณาความชอบของครู และพิจารณารับย้ายครูจากโรงเรียนเล็กอื่น นอกจากนี้โรงเรียนท่านางแนววิทยายน ยังได้ส่งเสริมบทบาทของกรรมการบริหารสถานศึกษา โดยให้มีส่วนร่วมในการจัดทำ ธรรมนูญโรงเรียน อนุมัติแผนปฏิบัติการประจำ ปีของโรงเรียน รับทราบเกณฑ์ (เป้าหมาย) ในการทำ งานตามตัวบ่งชี้ของมาตรฐานการศึกษา รับทราบผลการดำ เนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน                มีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพของโรงเรียนตามมาตรฐานการศึกษาและรับทราบผลการประเมินภายในสถานศึกษาสำ หรับผู้เรียนนั้น โรงเรียนได้ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการนักเรียน โดยให้มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรม             ทุกกิจกรรมเคียงบ่าเคียงไหล่กับครู มอบหมายให้เป็นผู้นำ ของนักเรียนในการร่วมกิจกรรม และนักเรียนทุกคนมีโอกาสในการประเมินครู ผู้บริหารและสรุปผลการดำ เนินงานโครงการปฏิรูป    การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนท่านางแนววิทยายนโรงเรียนในการประเมินผลภายในโรงเรียนทุกครั้งรูปแบบการบริหารจัดการแบบมี ส่วนร่วมตามแนวคิดการใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ที่โรงเรียนท่านางแนววิทยายน  กำลังดำเนินการอยู่นี้ ได้รับการตอบรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างดี จากการสังเกต สัมภาษณ์พูดคุยกับครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่าส่วนใหญ่มีความรู้สึกพึงพอใจและเห็นว่าเป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง และการที่โรงเรียนให้กรรมการสถานศึกษาและกรรมการนักเรียนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตามบทบาทหน้าที่และตามศักยภาพนั้นเป็นผลดีต่อการปฏิรูปการศึกษาในระยะยาวของโรงเรียนอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 321421เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • แบบที่ 2 ท้าทายดีค่ะ  ผู้บริหารที่เป็นนักวิชาการ  น่าจะเลือกแบบนี้ค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ สำหรับสาระน่ารู้ และมีประโยชน์

มีความสุขมากๆๆนะคะ

ข้อมูลดีแล้วครับ โรงเรียนในโรงเรียน ท้าทายดี

แวะมาทักทายครับ ขอบคุณที่ได้เสนอความรู้ดีๆครับ

แนะนำเว๊บครับ

เป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจมากๆๆ

พึ่งรู้ว่ามีโรงเรียนอยู่ในโรงเรียน ขอบคุณสำหรับข้อมูล

เป็นข้อมูลใหม่ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และเหมาะแก่การนำไปใช้ในการบริหารจัดการในโรงเรียนในยุคปัจจุบัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท