เทคโนโลยีส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพได้อย่างไร


ขอบคุณอาสาสมัครนักกิจกรรมบำบัดจากอเมริกา...อ.ทิชา สารวิทย์...ที่ ลปรร เรื่อง EADL และนักศึกษากิจกรรมบำบัดที่ ลปรร ในการใช้แบบสำรวจสุขภาพร่วมกับการประเมินทางคลินิกโดยเน้น 5 M คือ Mind, Man, Model, Motivation และ Meaningfulness

EADL ย่อมาจาก Electronic Aids to Daily Living ซึ่งพัฒนามาจากเทคโนโลยีเครื่องช่วย (Assistive Technology, AT) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการควบคุมสิ่งแวดล้อม (Environmental Control Units)

EADL เกิดขึ้นจากแนวคิดของสหวิชาชีพด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่กำลังปรับเปลี่ยนให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายได้ดำรงชีวิตด้วยตนเองในบริบท (การกระทำในสถานการณ์ชีวิตหรือสิ่งแวดล้อม) ที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล มากกว่าที่จะเน้นการรักษา-บำบัดฟื้นฟูองค์ประกอบของการกระทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในบริบทของคลินิกหรือความคิดของผู้บำบัดเพียงฝ่ายเดียว ดังคำกล่าวที่ว่า Non-serial aspect of Rehab is not Quality of Life (QoL) for a client

บางครั้งเราอาจจะเห็นอุปกรณ์ EADL เป็นสินค้าขายให้กับคนพิการที่มีฐานะ แต่ปัจจุบันนักกิจกรรมบำบัดที่สนใจและเชี่ยวชาญในการออกแบบ EADL ร่วมกับวิศวกรที่เชี่ยวชาญด้านเทคนิคอุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ก็จะเป็นผู้ประสานงานให้ "โอกาสสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของบุคคลหนึ่งในบริบทหนึ่ง" นั่นคือ "Giving technology is not fit for alls"

จาก Lunch Seminar ของวิทยากรอาสาสมัครนักกิจกรรมบำบัดทิชา สารวิทย์ ...อาจารย์ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่บาดเจ็บไขสันหลังระดับ C2-6 ที่คอยให้ญาติช่วยเช็คมือถือว่าใครโทรมา หรือคอยรับโทรศัพท์...อาจารย์จึงได้ออกแบบให้ผู้ป่วยที่หันคอได้ในล้อเข็นได้มองมือถือที่ปรับสายรัด Velcro และแผ่นรองให้เอียงขึ้นเพื่อสะดวกในการมองข้อความว่าใครโทรมา จากนั้นต่อเข้ากับ Switch ที่เปิด/ปิดสัญญาณเข้า Bluetooth ทำให้ผู้ป่วยสื่อสารทางโทรศัพท์กับคนที่เขารักได้สะดวกและน่าชื่นชมในกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตได้เพิ่มพูนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างไร้ขีดจำกัด

อาจารย์ได้แนะนำถึงไอเดียการเพิ่ม QoL ผ่าน Human Activity Assistance Technology (HAAT) Model และ Matching Person & Technology Model (MPT) ซึ่งแนวคิดต่างๆ เหล่านี้มีการพัฒนาในระดับนโยบายช่วยเหลือคนพิการด้วยการออกแบบเทคโนโลยีเครื่องช่วยเฉพาะบุคคลโดยสหวิชาชีพ เน้นนักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด วิศวกรการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เป็นต้น

นอกจากนี้นักกิจกรรมบำบัดไทยควรพิจารณาบทบาทของตนเองในการเพิ่ม QoL ให้กับผู้รับบริการมากกว่าบทบาทการเพิ่มองค์ประกอบของการทำกิจกรรมภายในบริบทของคลินิก แต่ควรขยายไอเดียสู่บริบทที่แท้จริงที่ผู้รับบริการต้องการ เช่น การศึกษา การฝึกอาชีพ การเข้าถึงครอบครัว-คนที่รัก-ชุมชน การสื่อสารหรือทำกิจกรรมที่จำเป็นในสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดชีวิต

นั่นคือ EADL มีผลในระดับที่เรียกว่า Psychosocial Impact of Assistive Device Scale (PIADS) ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีการ ลปรร ในสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องมากกว่านี้ในประชากรไทย!

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 321240เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2009 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท