การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ


การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

 

                สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันอยู่ตลอดเวลา ทำให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างต้องเร่งปรับตัวเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้นำองค์กรต่างก็แสวงหาแนวทางในสร้างภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและนำพาองค์ไปสู่ความเป็นเลิศ

                จากการศึกษาแนวคิดของนักวิชาการหลายท่านพบว่าองค์กรสมรรถนะสูง จะต้องเป็นองค์กรที่มีขีดความสามารถในการเปลี่ยนแปลง เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ยึดระบบบังคับบัญชาที่เข้มข้นจนเกินไป และที่สำคัญคือ การกระตุ้นให้คนในองค์กรรักษาระดับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงได้อย่างยั่งยืน  มีการทำงานเชิงรุก มีความคล่องตัว รวดเร็ว  มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ตลอดเวลา

                กระบวนการสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ จะประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

                1.  ขั้นการคิดวางแผนยุทธศาสตร์  มุ่งเน้นให้องค์กรคิดออกนอกกรอบและมองจากข้างนอกเข้าข้างใน (outside – in)  เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การปฏิบัติราชการอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงเข้ากับยุทธศาสตร์ของรัฐบาล

                2.  ขั้นการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ  เน้นให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนปฏิบัติการและการวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยเชื่อมโยงให้เข้ากับการจัดสรรงบประมาณประจำปีของภาครัฐ ประกอบกับการให้ความสำคัญต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีการวางแนวทางหรือข้อเสนอเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Blueprint  for  Change) 

                3.  ขั้นการทบทวนและติดตามประเมินผลเชิงยุทธศาสตร์ เป็นการสร้างระบบการติดตามตรวจสอบ  และทบทวนยุทธศาสตร์การทำงานของส่วนราชการให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการใช้จ่ายเงินและการปฏิบัติราชการตามเป้าหมายและตัวชี้วัด การประเมินผลที่ยึดหลักตามแนวของแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Map Evaluation ) ต้องมีการเลือกหัวข้อตามพันธกิจหลักขององค์การเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆเหล่านี้คือเพื่อตรวจสอบ  กำหนดสถานะขององค์การและเปรียบเทียบสถานะเพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าของแผนงาน มีการพัฒนาองค์การ  รู้ถึงสถานะขององค์การและสร้างความมั่นใจในกระบวนการจัดการ เพื่อการควบคุม อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ จะเริ่มที่การพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีขององค์กร ตัวชี้วัดความสำเร็จ (Indicators) ที่ดีต้องให้ผลลัพธ์ ที่มีมิติต่างๆ

ใช้เป็นตัวกำหนดเป้าและวัตถุประสงค์ ใช้วัดความเปลี่ยนแปลงของการทำงาน…ใช้วัดความสำเร็จของผลงาน ผลผลิต  การให้บริการ  ผลลัพธ์และ  ผลกระทบทั้งภายในและภายนอก   

  มีการแบ่งงานตามแผนงานขององค์การ โดยเดินตามกระบวนการของผังประเมิน PDCA ก็จะให้กระบวนการทำงานง่ายขึ้น   ส่วนผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้สรุปผลของงานประเมินทั้งหมด.แล้วแปลงมาเป็นแผนของการทำงาน โดยมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานขององค์การภายใน ให้ดีขึ้นมีการพิจารณาผลที่วัดได้ทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพและทางจิตใจ  ต้องมีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเพื่อให้กระบวนการทำงานมีการปรับปรุงให้ทันต่อเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา

หมายเลขบันทึก: 321162เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2009 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เข้าใจดีมากครับผม ก็ขอเป็นอีกแรงใจในการพัฒนาศักยภาพการบริหารนะคะ

ดีครับผมเหมาะสมครับท่านบริหารสู่ความเป็นเลิศ

ดีครับ ขอเป็นกำลังใจ ให้สู้ต่อไป

เหมาะสมมากสำหรับนำไปใช้แนวทางในการบริหารสถานศึกาสู่ความเป็นเลิศครับ

เห็นด้วยครับผม

การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ อาจต้องผ่านอุปสรรคที่จะต้องฝ่าฟันอย่าท้อแท้ ดังนั้น ใจของผู้บริหารจะต้องอดทนและยึดมั่นกับอุดมการณ์ ขอเป็นกำลังใจให้ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท