พ่อ


มนุษย์มีหน้าที่อันยิ่งใหญ่ที่จะต้องปฏิบัติดีต่อพ่อแม่ของตน

                                               พ่อ                                             

                                                                                   

                                                                             นายรอฟีกี การีมี

                                                            ครูอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

                       

                   ในช่วงเช้าวันศุกร์ ตอนยังเป็นเด็ก  จำได้ว่าพ่อพาไปละหมาดวันศุกร์ เดินทางจากบ้านบางมด จังหวัดธนบุรี ถึงมัสยิดดารอสอาดะห์ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกลมากและใช้เวลาเดินทางหลายชั่วโมง  เพราะเนื่องจากสมัยนั้นมีมัสญิดที่ทำญุมอะฮฺเพียงไม่กี่แห่ง ไม่เหมือนปัจจุบัน ได้ทราบถึงความยากบำบากของการไปละหมาด แต่พ่อก็ไม่ทิ้งภาระกิจนี้ เพราะพ่อบอกว่าเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนและพ่อก็มีหน้าที่ต้องคุฏบะฮฺ เรื่องราวต่างๆที่ได้รับฟังคำตักเตือนจากพ่อ   ที่จำขึ้นใจซึ่งเป็นคำสอนของนบีมูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม   พอจะสรุปความหมายคือ ให้รีบฉวยโอกาสในการกระทำความดี ในขณะมี 5 ประการก่อนที่ 5 ประการจะมาถึงคือ  1.ในขณะที่ยังหนุ่มก่อนที่ความชราภาพจะมาเยือน  2. ในขณะที่มีสุขภาพดี ก่อนที่จะพบกับความเจ็บป่วย  3. ในขณะร่ำรวย ก่อนที่อนาคตอาจจะพบกับความยากจน 4.ในขณะที่มีเวลาว่าง ก่อนความยุ่งยากจะมาถึง และ5.ในขณะมีชีวิต ก่อนที่จะประสพกับความตาย  ซึ่งพ่อได้แน้นย้ำว่าทุกคนที่มาละหมาดวันศุกร์นี้ทุกคนกำลังมี 5 ประการแรกกันทุกคน แล้วแต่จะมีมากหรือมีน้อย แต่ทุกคนมี ฉนั้นไม่ควรพลัดวันประกันพรุ่ง นั้นหมายถึงการเป็นคนเกลียดคร้าน ไม่มีรับผิดชอบในตนเองและครอบครัว สังคมคนรอบข้าง              

                 ในแต่ละวันศุกร์พ่อจะมีคำสอนมากมาย ที่นำมาจากอัล-กุรอานและอัล-หะดีษ ตามวาระหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อถึงวันพ่อ ๕ ธันวามหาราช หรือวันแม่ ๑๒ สิงหามหาราชินีจะคุฏบะฮฺเรื่องที่ลูกทุกคนต้องปฎิบัติต่อพ่อและแม่ พอสรุปได้คือ
               มนุษย์มีหน้าที่อันยิ่งใหญ่ที่จะต้องปฏิบัติดีต่อพ่อแม่ของตน ความยิ่งใหญ่และคุณค่าของการปฏิบัตต่อพ่อแม่นั้นให้ปฏิบัติดีต่อท่านทั้งสอง ถัดจากอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา  และรสูล  ซึ่งเราจะเห็นได้จากการที่อัล-กุรอานได้กำหนดหน้าที่การปฏิบัติต่อพ่อแม่ไว้ควบคู่กับการปฏิบัติต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา  ดังนี้
وَقَضَى رَبُّكَ أَلاَّ تَعْبُدُواْ إِلاَّ إِيَّاهُ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا                            
       “พระผู้อภิบาลของท่านได้กำหนดถึงการที่ท่านทั้งหลายต้องไม่อิบาดะฮฺสิ่งใดนอกจากพระองค์และต้องปฏิบัติดีต่อพ่อแม่”  (อัล-กุรอาน 17:23)
           พ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเรามาจนกระทั่งเจริญเติบโต ตลอดช่วงเวลา ท่านทั้งสองได้ให้ความรัก ความเสียสละและมีเหน็ดเหนื่อยเป็นอย่างมาก ลูกๆต้องรำลึกถึงพระคุณของพ่อแม่เสมอด้วยจิตสำนึกของความเป็นลูกและปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา  ดังปรากฏในอัล-กุรอาน

.......................... أَنِ اشْكُرْ لِي وَلِوَالِدَيْكَ إِلَيَّ الْمَصِيرُ

ความว่า “...............จงขอบคุณฉัน และจงรำลึกถึงพระคุณของพ่อแม่ของท่าน” (อัล-กุรอาน 31:14)

           ลูกที่ดีต้องทำให้พ่อแม่มีความสุขอยู่เสมอ อย่าพูดอะไรที่ทำให้ท่านทั้งสองไม่สบายใจ เมื่อพ่อแม่ใช้ให้ทำอะไร ก็จงอย่าใช้คำพูดที่ทำให้ท่านทั้งสองมีความรู้สึกเจ็บปวดและน้อยใจ ให้เคารพและเทิดทูนท่านทั้งสอง และไม่แสดงกิริยาวาจาใดๆ ที่ แสดงออกถึงการไม่ให้ความเคารพและไม่ให้เกียรติท่าน ซึ่งอัล-กุรอานที่ได้กำชับไว้ดังนี้ คือ


إِمَّا يَبْلُغَنَّ عِندَكَ الْكِبَرَ أَحَدُهُمَا أَوْ كِلاَهُمَا فَلاَ تَقُل لَّهُمَآ أُفٍّ وَلاَ تَنْهَرْهُمَا وَقُل لَّهُمَا قَوْلاً كَرِيمًا

 
“ถ้าหากว่าคนหนึ่งคนใด หรือทั้งสองลุถึงวัยชราก็จงอย่ากล่าวตะคอกท่านทั้งสองหรือขับไล่คนทั้งสอง และจงพูดกับท่านทั้งสองด้วยคำพูดที่ให้เกียรติยกย่อง(กุรอาน 17:23)
           ท่านนบีมูฮำหมัด(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม)  ได้กล่าวว่า “ความยินดีของอัลลอฮฺสุบหานะฮุวะตะอาลา  นั้นขึ้นอยู่กับความยินดีของบิดามารดา เช่นเดียวกับความไม่พอของพระองค์นั้นก็อยู่กับความไม่พอใจของพ่อแม่ด้วยเช่นกัน” (บันทึกโดย ติรมีซี)
          และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือลูกๆต้องขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา  ทรงประทานความเมตตาแด่พ่อแม่ของท่านอยู่เสมอ ด้วยดุอาอฺจากอัลกุรอ่าน ดังนี้
رَبِّ ارْحِمْهُمَا كَمَا رَبَّيـَانىِ صَغِيْرًا                                       
แปลว่า “โอ้พระผู้อภิบาล ขอพระองค์ทรงโปรดประทานความเมตตาแก่ท่านทั้งสอง ดุจดังที่ท่านทั้งสองเลี้ยงดูฉันเมื่อครั้งเยาว์วัย” (กุรอาน 17 : 24)
               อย่างไรก็ดี ตามหลักศาสนาอิสลามลูกจะปฏิบัติดีต่อพ่อแม่อย่างไรหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพ่อ  พ่อต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว  รักษาตัวเองและครอบครัวในพ้นจากไฟนรก  ต้องรับผิดชอบเต็มที่ต่อควมสำเร็จ หรือความล้มเหลวของครอบครัว รวมถึงการปฏิบัติของลูกที่มีต่อพ่อแม่ โดยไม่อาจจะปัดภาระความรับผิดชอบนี้ไปได้

               จากตัวอย่างของคุฏบะฮฺของพ่อนี้ เป็นประเด็นคำสอนที่ประสงค์จะให้ทราบว่า พ่อทุกคนมีภาระอันหนักอึ้ง ทั้งต่อตนเองและครอบครัว เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตของลูกๆ  พ่อให้ความยุติธรรมแก่ลูกและทุกคนในทุกโอกาส ไม่กระทำการใดๆ โดยหุนหัน ใช้อารมณ์  พ่อที่ต้องสร้างความสุข และมีความสนุกกับลูกๆเสมอ ทั้งที่บางครั้งลูกอาจทำให้พ่อมีความทุข์ เนื่องจากลูกทำผิดพลาด พ่อกลับมองเป็นเรื่องธรรมดาเพราะพ่อคิดว่าใครๆก็อาจทำพลาดได้  แต่พ่อสอนเสมอว่าเมื่อผิดก็ยอมรับผิดแล้วขออภัยและขออภัยโทษจากอัลลอฮฺสุบหานะฮุวะตะอาลา  พร้อมทั้ง อย่าได้ทำพลาดซ้ำอีก จำได้ว่าพ่อไม่เคยตีลูกคนใดเลยทั้งๆมันไม่ได้อย่างใจพ่อ นี้คือบางประการของความเป็นพ่อของทุกคน ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราทุกคนมีพ่อ แล้วเราทำอะไรให้พ่อบ้าง การทำดีต่อพ่อ หากเราไปสอบถามผู้อาวุโสหลายท่านในสังคมเรา จะพบว่าถ้าเราปฏิบัติดีต่อพ่อ หากลูกเราจะมองเห็นการปฏิบัติของเราแล้ว ลูกเราเองก็จะทำความดีกับเรา ซึ่งเป็นสัจจะธรรมดังคำกล่าวของท่านนบีมูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม  คือ

 

بروا آباءكم تبركم ابناؤكم

 

                ท่านทั้งหลายจงทำดีต่อบุพการีของท่านทั้งหลาย (หากเป็นเช่นนั้น) ลูกหลานของท่านก็จะทำความดีต่อท่านทั้งหลาย

                อย่างไรก็ดีเป็นหน้าที่ของลูกๆทุกคน ต้องปฏิบัติดีต่อพ่อ หมั่นขอดุอาอฺ ขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา  รักษาสัญญาของพ่อที่ให้ไว้กับคนอื่น ให้เกียรติและติดต่อสัมพันธภาพกับญาติ พี่น้อง เพื่อนพร้องของพ่อ อันเป็นสุนนะฮฺของท่านนบีบีมูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม แต่การทำความดีต่อพ่อสักปานใด มันไม่มีน้ำหนัก หรือไม่สามารถตอบแทนได้หมด ดังที่ท่านนบีบีมูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม  ได้กล่าวว่า

 

لا يجزي ولد والدا الا ان يجده مملوكا فيشتريه فيعتقه رواه مسلم

 

                ลูกไม่สามารถที่จะทดแทนบุญคุณพ่อได้ เว้นแต่กรณีเขาได้พบพ่อที่ตกเป็นทาส แล้วเขาก็ซื้อพ่อที่เป็นทาสนั้นไถ่ตัวเป็นเสรีชน

                ในตอนเย็นพ่อได้พากลับบ้านก่อนกลับบ้านได้ซื้อน้อยหน่าประมาน ๒กิโลกรัม แล้วมอบให้ถือกลับบ้าน ในระหว่างเดินกลับบ้าน ก็เอาน้อยหน่าวางบนขาอ่อนใกล้กับหัวเข่าเพื่อเวลาถือจะได้ไม่หนัก ปรากฎว่าพอถึงบ้านไม่สามารถกินน้อยหน่ากินได้เนื่องจากเหละหมด   จึงรู้ว่าที่ทำเพื่อความสบายแก่ตัวเองเช่นนั้น เป็นที่สิ่งไม่ถูกต้อง     ทุกคนที่บ้านรวมถึงพ่อต่างหัวเราะและยิ้มในผลงานที่เกิดขึ้นในวันศุกร์นั้น  

               

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท