รายการสายใย กศน. 14, 21, 28 ธ.ค.52, 4, 11, 18 ม.ค.53


14 ธ.ค.52 เรื่อง "นโยบาย กศน.ตำบล", 21 ธ.ค.52 เรื่อง "การจัดการศึกษาทางไกลกับเครือข่ายทหารกองประจำการ", 28 ธ.ค.52 เรื่อง "หมู่บ้านส่งเสริมการอ่านบ้านโนนตาล", 4 ม.ค.53 เรื่อง "สวัสดีปีใหม่ 2553", 11 ม.ค.53 เรื่อง "ครู กศน.", 18 ม.ค.53 เรื่อง "การศึกษาตลอดชีวิตในมุมมองของ ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์"

รายการสายใย กศน.  วันที่  18  มกราคม  2553

 

         เรื่อง “การศึกษาตลอดชีวิตในมุมมองของ ดร.ชัยวัฒน์  วิบูลย์สวัสดิ์”
         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์ 
         วิทยากร คือ ดร.ชัยวัฒน์  วิบูลสวัสดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ธนาคารกรุงไทย

         มุมมองด้านการศึกษาของ ดร.ชัยวัฒน์  วิบูลย์สวัสดิ์ นักบริหารด้านเศรษฐศาสตร์  เห็นว่า  การเรียนรู้ของบุคคลสามารถทำได้ตลอดเวลา ตลอดสถานที่ ตลอดอายุ   ผู้ใหญ่เช่น ผู้ปกครอง โรงเรียน ต้องปลูกฝังให้เด็กใฝ่รู้ โดยให้เด็กตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ ว่าเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ดังนี้
         - การเรียนรู้ทำให้เข้าใจชีวิต เข้าใจสังคมรอบตัว ( ต้องมีความรู้หลายด้าน ทันสมัย ทันยุคโลกาภิวัตน์ เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ )
         - การเรียนรู้ทำให้เป็นคนดีมีคุณธรรม เมตตาผู้อื่น ทำประโยชน์ให้สังคม
        - การเรียนรู้ทำให้เกิดความสุข ( การอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความสุข ) ใช้ชีวิตอย่างสมดุล

         การเรียนคือการรับรู้ การเข้าใจ   พบเห็นหรือดูอะไรก็คิดว่าเรื่องนี้ให้แง่คิดอะไร อยากจะขยายผลอย่างไร เช่น อ่านข่าวแผ่นดินไหวในเฮติ ก็คิดต่อว่าเมืองไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวไหม

         ถ้าเราใฝ่รู้ จะมีความสุขกับการค้นคว้า อ่าน คิด พูด เขียน

         ความรู้ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต้องเป็นความรู้ทั้งกว้างและลึก ( ความรู้ด้านอาชีพที่ทำอยู่ต้องรู้ลึก ) ถ้าใฝ่รู้จะรู้ว่าทุกวิชาเป็นประโยชน์ต่อเรา
         เวลาไปทำงาน จะประยุกต์ใช้ความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนรู้มา ( ที่ว่า เรียนสูงมากทำงานไม่เป็นนั้น ไม่จริง )
         ผู้สูงอายุหลังเกษียณ ไม่มีงานให้คิดอะไร ควรเรียนรู้มากขึ้นเพื่อหาความสุขให้ตัวเอง ( เรียนรู้ ดูหนัง ฟังเพลง ศึกษาธรรมะ )
         สมัยนี้มีแหล่งเรียนรู้มากมาย เช่นอินเตอร์เน็ต
         เราสามารถเรียนรู้เพื่อเป็นความรู้ ( ไม่มีปริญญา ) คือเรียนตามอัธยาศัย
         เราควรเรียนรู้กว้าง ๆ ( ทุกสาขาวิชา) 40%  และเรียนรู้เจาะลึกเฉพาะสาขา 60 %  ถ้าเรียนรู้หลาย ๆ ศาสตร์ จะเป็นคนคิดเป็นวิเคราะห์เป็น   การฝึกเด็กให้รู้จักคิดต้องกระตุ้นโดยให้เด็กตอบคำถาม หรือแนะนำให้เด็กไปคิดทำกิจกรรมต่อจากการเรียน ( ไม่บังคับ )   ไม่กำหนดให้เด็กไปเรียนพิเศษ ควรให้เรียนรู้โดยไม่ถูกบังคับ เรียนรู้จากการพักผ่อน   เช่น เล่าเรื่องรามเกียรติให้ลูกสนใจ และนำหนังสือเรื่องรามเกียรติมาวางไว้ให้ลูกเห็นและเปิดดูเอง จากนั้นพาลูกไปดูภาพกิจกรรมฝาผนัง ไปดูโขน    สร้างสิ่งแวดล้อม ทั้งที่บ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน ให้ส่งเสริมการเรียนรู้  มีสื่อมาก ๆ โดยเฉพาะสื่อ ICT

         คนมาใช้คอมพิวเตอร์ห้องสมุดฯ ถ้าเล่นเกมก็ไม่ต้องห้าม แต่ส่งเสริมให้เขาใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลความรู้ด้วย   มุมเด็กเปิดโอกาสให้เด็กส่งเสียงได้  พิพิธภัณฑ์ยุคใหม่ต้องมีส่วนให้เด็กสัมผัสด้วยมือ กดปุ่มต่าง ๆ

 

         การส่งเสริมการอ่านในประเทศไทย ดีขึ้น แต่ยังต้องกระตุ้นอีกมาก   เด็กที่เรียนสายวิทย์ควรสนใจเรียนรู้สายศิลป์ด้วย  เด็กที่เรียนสายศิลป์ก็ควรสนใจเรียนรู้สายวิทย์ด้วย   คนทำงานควรใช้ชีวิตที่สมดุล อย่าทำงานอย่างเดียว ควรทำกิจกรรมอื่นเช่นวาดรูป  ที่ทำงานควรเปิดโอกาสให้พนักงานคิดริเริ่ม

         ทุกคน ( และระดับองค์กร ) มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสิ้น โดย
         1. ตัวเองใฝ่รู้ เรียนรู้เพื่อประโยชน์ตัวเอง
         2. ส่งเสริมการเรียนรู้แก่คนอื่น ให้โอกาสแก่คนอื่น
         การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ขององค์กรควรเน้นการมีส่วนร่วมของทุกระดับ  องค์กรที่ทันสมัยจะมีการประเมินบุคลากรโดยดูความรู้  ส่งเสริมการศึกษาต่อ   การเรียนรู้ตามอัธยาศัยไม่ใช่เรียนรู้เพื่อนำไปใช้ทันที แต่สะสมไว้ เป็นความสำเร็จความสุขตั้งแต่เรียนรู้  ในอนาคตสามารถดึงมาใช้  ต้องตระหนักว่าสิ่งที่เรียนรู้ไว้ เป็นสิ่งที่ดีต่อตัวเอง

 


รายการสายใย กศน. วันที่  11  มกราคม  2553

 

         เรื่อง “ครู กศน.”
         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - ชุลีพร  ผาตินินนาท  ผอ.กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ
         - ตัวแทนครูดอย  ( ชลดา  ครุธมั่น ครู ศศช. กศน.อ.ท่าสองยาง จ.ตาก )
         - ตัวแทนครูชายขอบ  ( นิติกาญจน์  ดมหอม พนักงานราชการ ศูนย์ฝึกฯชายแดน จ.สุรินทร์ )
         - ตัวแทนครูในสถาบันศึกษาปอเนาะภาคใต้  ( วราภรณ์  วัฒนะนุกูล  พนักงานราชการ กศน.อ.ธารโต จ.ยะลา )
         - ตัวแทนครูในชุมชนเมือง  ( นายมานิตย์  พุทธสุวรรณ  ครู ศรช. กศน.อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี )


         ครู กศน. มีหลายประเภท เช่น ครูอาสาฯ ครูประจำกลุ่ม ครูชาวเขา ครูชายขอบ ฯลฯ  ทุกประเภทมีหลักการทำงานในลักษณะเดียวกัน คือ
         1. สร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้
         2. ออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
         3. ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้
         4. ประเมินหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้


         ครูชาวเขา  มีอยู่ที่ภาคเหนือและภาคกลาง เป็นบุคลากรของรัฐประเภทเดียวที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายชาวเขา อยู่กับชาวเขา ต้องเรียนรู้ภาษาชาวเขา  จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เช่นเรื่องของประเทศไทย เรื่องสุขภาพ   สำหรับเด็กเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้ใหญ่เน้นด้านอาชีพ


         ครูชายขอบ  มุ่งจัดการเรียนรู้ด้านการพัฒนาอาชีพ เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย  สร้างชุมชนต้นแบบ ให้รักถิ่นฐานบ้านเกิด เป็นรั้วให้กับชาติ  มีอยู่ที่ชายแดน พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย  มีปัญหาเรื่องภาษาบ้าง  ครูชายขอบทำให้ กศน.เป็นหน่วยงานที่อยู่ในใจประชาชนชายแดน


         ครูในสถาบันศึกษาปอเนาะภาคใต้  ( เป็นครู ศรช. แต่ครู ศรช.จังหวัดชายแดนใต้ทุกคนเป็นพนักงานราชการ )  รู้สึกกลัวบ้าง ( เคยอยู่ใกล้เหตุการณ์ระเบิด 30 เมตร )  ทำงานโดยประสานงานกับผู้นำชุมชนและเข้าถึงประชาชน การทำงานจึงไม่มีปัญหา  จัดการศึกษาทั้งสายสามัญ และ สายอาชีพ ( วิชาเครื่องยนต์เล็ก, อาหาร, เย็บปักถักร้อย )  คิดว่าการศึกษาเป็นสิ่งเดียวที่จะแก้ปัญหาชายแดนใต้ได้อย่างยั่งยืน  การทำงานต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิต  กศน.เป็นหน่วยงานแรก ๆ ที่ได้ใจประชาชน


         ครูในชุมชนเมือง  ก็มีปัญหาความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย เพราะมีประชากรแฝงมาก มีการย้ายถิ่น อพยพ มีเด็กเร่ร่อน ชาวต่างด้าว   ชุมชนเมืองจะรวมคนยากกว่า จัดเวทีประชาคมยาก  ต้องเน้นการใช้เครือข่ายต่าง ๆ และอาสาสมัคร กศน.ช่วยดำเนินการ


         ครู กศน. เป็นกำลังที่สำคัญของ กศน.  แม้กระทั่งในสถาบันพระมหากษัตริย์ก็มีรับสั่งถามถึงครู กศน.บ่อย

 


รายการสายใย กศน. วันที่  4  มกราคม  2553

 

         เรื่อง “สวัสดีปีใหม่ 2553”
         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ


         1. พระศีลญาณโสภณ  รองเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
            อยากให้ทุกท่านดูแลลูกให้ได้รับการศึกษาที่ดี เพื่อความเจริญก้าวหน้าของตระกูลและชาติบ้านเมือง   โดยเฉพาะในช่วงเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ ซึ่งมีความสำคัญมาก ต้องให้สื่อดีๆ
            ปัจจุบันคนพึ่งเทคโนโลยีมากไป ทำให้สมรรถนะในการทรงจำลดถอยลงมาก เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือจำเบอร์โทรศัพท์ต่าง ๆ แทน  แต่ละคนอยู่กับเทคโนโลยีของตัว สนใจสังคมน้อยลง ทำให้วรรณกรรมเกิดขึ้นน้อยลง คนมีความเครียดเพิ่มขึ้น ความสุขน้อยลง    การศึกษาที่ดีต้องมีทักษะทั้ง 4 ครบ ( เขียน พูด ฟัง อ่าน )
            ปัจจุบันประเทศอังกฤษ เปลี่ยนให้เด็กท่องสูตรคูณแทนการใช้เครื่องคิดเลข  ให้เด็กเขียนหนังสือด้วยมือแทนการ Print จากอินเตอร์เน็ต

 

         2. นายเฉลียว  อยู่เสมารักษ์  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
            อวยพรให้ทุกคนมีแต่ความสุขความเจริญ  และกล่าวว่า ที่ผ่านมา กศน. มีส่วนผลักดันนโยบายของ รมว.ศธ. ให้เป็นที่พอใจของประชาชน   ปีนี้ ศธ. ได้รับงบประมาณมาก จึงให้ช่วยกันผลักดันให้นโยบายสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ ต่อไป

 

         3. นายอภิชาต  จีระวุฒิ  เลขาธิการ กศน.
            หวังว่าพวกเราจะช่วยกันยกระดับการศึกษาของประชาชน  พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และห้องสมุดประชาชน ตามนโยบายห้องสมุด 3D   มีมุม ETV เปิด TV ให้ดู   ช่วยกันขับเคลื่อน กศน.ตำบล  ฯลฯ

 

         4. นายประเสริฐ  บุญเรือง  รองเลขาธิการ กศน.
            ให้บุคลากรทุกคนมีความสุขความเจริญฯ

 

         5. นายวิมล  จำนงบุตร  รองเลขาธิการ กศน.
            ให้ทุกคนสมปรารถนาในทุก ๆ เรื่อง  โดยเฉพาะเรื่องที่จะช่วยกันจัด กศน. ให้ประสบความสำเร็จในทุก ๆ เรื่อง

         ( ใช้เวลา  40  นาที )

 


รายการสายใย กศน. วันที่  28  ธันวาคม  2552

 

         เรื่อง “หมู่บ้านส่งเสริมการอ่านบ้านโนนตาล”
         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - น.ส.นพกนก  บุรุษนันทน์  ผอ.สนง.กศน.จ.มหาสารคาม
         - นายกริชพัฒน์  ภูวนา  ผอ.กศน.อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
         - นายดาวเรือง  ภูบังไม้  ผู้ใหญ่บ้านโนนตาล  ม.9  ต.มะค่า  อ.กันทรวิชัย
         - พ่อใหญ่ขุน  ยนศรีเคน  ประธานหัวหน้าคุ้มในหมู่บ้านโนนตาล
         - คณะนักศึกษา กศน. หมู่บ้านโนนตาล  ( ร่วมชมรายการในห้องส่ง )

         สนง. กศน. จ.มหาสารคาม นำนโยบายส่งเสริมการอ่าน และนโยบายห้องสมุด 3D ไปปฏิบัติจัดเป็นหมู่บ้านส่งเสริมการอ่าน นำร่อง ที่บ้านโนนตาล หมู่ที่ 9 ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เพราะประชาชนทุกคนขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา กศน.

         กศน.อ.กันทรวิชัย เริ่มดำเนินการด้วยการสำรวจข้อมูลระดับการศึกษา โดยขึ้นทะเบียนทุกครัวเรือน ( 119 หลังคาเรือน ) และนำกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของ กศน. ไปจัดในหมู้บ้าน ให้แต่ละคนเลือกร่วมกิจกรรมที่ต้องการ
         ในเรื่องการส่งเสริมการอ่าน หัวหน้าคุ้มจะรวบรวมความต้องการประเภทหนังสือ ( รวบรวมจากการประชุม + ออกสำรวจ สัมภาษณ์ ) ส่งให้ห้องสมุดฯจัดหาและนำไปให้บริการ  แล้วให้ผู้อ่านสรุปจากการอ่านเป็นองค์ความรู้ เผยแพร่ทางหอกระจายข่าว
         ผู้ใหญ่บ้านโนนตาลให้ความเห็นว่า ถ้า กศน. จัดหาหนังสือเกี่ยวกับการทำมาหากินที่ทันต่อโลกทันต่อเหตุการณ์ให้ ประชาชนก็จะสนใจการอ่านมากขึ้น   ผู้ใหญ่บ้านฯตั้งให้หมู่บ้านโนนตาลเป็นหมู่บ้านรักการอ่าน  ใช้วิธีการอ่านหนังสือประกอบการดูงาน มาพัฒนากลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน 7-8 กลุ่ม เช่น กลุ่มเลี้ยงสุกร  กลุ่มเลี้ยงเป็ด  กลุ่มเลี้ยงไหม  กลุ่มสมุนไพร  กลุ่มปลูกเห็ดขอนขาว    มีการจัดเก็บข้อมูล-แสดงข้อมูลในแต่ละคุ้ม นอกเหนือจากการแสดงข้อมูลในภาพรวมของหมู่บ้าน    นอกจากนี้ชาวบ้านยังอยากอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน ( กศน.อ. จะจัดให้มีหนังสือพิมพ์รายวันจากเงินบริจาค )

         หลายหน่วยงาน หลายระดับ ลงไปร่วมจัดกิจกรรมที่หมู่บ้านนี้ ประกอบกับผู้นำชุมชนเข้มแข็ง  ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จเกินคาด ปัจจุบันชาวบ้านมีอยู่มีกิน เลิกการพนัน เลิกดื่มสุรา

         - ยุพิน  ภูธรฤทธิ์  นักศึกษา กศน. ร่วมให้ข้อมูลว่า ได้ใช้ข้อมูลเรื่องการปลูกเห็ดจากการอ่านหนังสือที่ส่งไปให้ทุกเดือน  นำสู่การปฏิบัติจนได้ผลประสบความสำเร็จ
         - กิ่ง  ปักกาสิเนย์  นักศึกษา กศน. ระดับ ม.ปลาย  อ่านหนังสือจากหลาย ๆ เล่ม แล้วเกิดความประทับใจ อ่านให้ลูกหลานฟัง  ได้ความรู้มาทำ น้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยจุลินทรีย์น้ำ น้ำหมักสมุนไพรกันยุง ฯลฯ   นอกจากนี้ยังสนใจหนังสือธรรมะ
         - รัตนา  จักรแก้ว  ประธานกลุ่มสมุนไพร  อ่านตำราสมุนไพร หมอชาวบ้าน อยู่ร้อยปีฯ ฯลฯ  นำความรู้มาทำสมุนไพร ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เสริมอาชีพทำนา   ทำหมอนโดยใช้ความรู้จากการอ่าน

         กศน.อ.กันทรวิชัย มีการพัฒนาโปรแกรมเก็บข้อมูลการศึกษาเรียนรู้รายบุคคลไว้เป็นเครดิตแบ็งค์สำหรับการเทียบโอน  และจะจัดให้หมู่บ้านเป็นที่ถ่ายทอดความรู้ เป็นแหล่งศึกษาดูงาน มีศาลาแสดงข้อมูล+ผลงาน ประจำคุ้ม  โดยจะจัดให้คนในคุ้มเข้าอบรม+ศึกษาดูงานเพิ่มเติม

         การพัฒนาบ้านเมือง คือการพัฒนาคน การพัฒนาคนคือการให้การศึกษา ถ้าคนรักการอ่าน การพัฒนาจะไปได้เร็ว

         ผอ.สนง.กศน.จ.มหาสารคาม กล่าวว่า  ผู้นำชุมชนมีส่วนสำคัญ ต้องตระหนัก เห็นความสำคัญของการอ่านต่อชีวิต ว่าสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรม    ต่อไปจะมีการระดมทุนจัดหาแว่นตาให้ผู้สูงอายุใช้อ่านหนังสือ



รายการสายใย กศน. วันที่  21  ธันวาคม  2552

 

         เรื่อง “ความสำเร็จในการจัดการศึกษาทางไกล ของกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์”
         นายอิทธิเดช  สุพงษ์  ดำเนินรายการ

         วิทยากรโดย
         - นายบุญส่ง  คูวรากุล  ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาทางไกล
         - ร.อ.ชำนาญ  ชั่งทอง  อาจารย์ที่ปรึกษาหน่วยบริการ
         - ร.อ.บุญเลิศ  ศิริปาละกะ  เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยบริการ
         - จ่าสิบเอกอภิชาต  ปุลาเลิศ  เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยบริการ

         กศน. ร่วมจัดการศึกษาในหน่วยทหารต่าง ๆ มามากกว่า 20 ปี  จนถึงวันที่ 8 กันยายน 2549 มีการลงนาม MOU ระหว่างปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ( คุณหญิง ดร.กษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา ) กับ ปลัดกระทรวงกลาโหม ตกลงร่วมกันจัดการศึกษาให้ชัดเจน  โดยหน่วยทหารต่าง ๆ มักจะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบพบกลุ่ม

         กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ นอกจากจัด กศ.ขั้นพื้นฐาน ยังมีการฝึกอาชีพต่าง ๆ ให้ทหารก่อนปลดประจำการ  เดิมจัด กศ.ขั้นพื้นฐานแบบพบกลุ่ม  แต่ทหารมีภารกิจมาก ออกฝึกบ่อย ต้องไปต่างจังหวัดเช่นชายแดนใต้ บางครั้งต้องออกปฏิบัติการโดยไม่รู้ตัวล่วงหน้า  ไม่มีเวลาพบกลุ่มตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้จบหลักสูตรน้อย   จึงเปลี่ยนวิธีเรียนเป็นแบบทางไกล ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/49  เป็นหน่วยทหารหน่วยแรกที่เปลี่ยนวิธีเรียนเป็นแบบทางไกล   และสถาบันการศึกษาทางไกลได้เลื่อนกำหนดการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของหน่วยทหาร  รวมทั้งให้สอบปลายภาคในพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น ไปปฏิบัติงานที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็สอบที่ภาคใต้  มีข้อสอบอัตนัยส่งให้ก่อนสอบปลายภาค 1 เดือน เปิดหนังสือตอบได้  
         หน่วยทหารให้บริการต่าง ๆ เช่นถ่ายรูปที่ใช้สมัครเรียนให้  มีการประชาสัมพันธ์จูงใจให้ทหารเรียน ทำให้ทหารสมัครเรียนแต่ละรุ่น 70-80 %  มีนายทหารเป็นครูสอนเสริมในวิชาหลัก 5 คน  ทุกกองร้อยมีห้องสมุดการเรียน กศน. มี จนท.ควบคุมนักศึกษา กศน.  มีการอบรมสัมมนาก่อนจบ  ทำให้มีผู้จบหลักสูตรมากขึ้น  ใช้งบประมาณไม่มาก  สถาบันการศึกษาทางไกลสนับสนุนสื่อการเรียน

         ผู้ที่ปลดประจำการก่อนเรียนจบ ( ส่วนมากขาด 1 วิชา ) ก็ให้ลงทะเบียนเรียนต่อกับหน่วยทหาร แต่ฝากเรียนและสอบที่สถานศึกษาใกล้บ้าน   วันปลดประจำการจะมีใบรับรองผลการเรียนให้ทุกคน ทั้งที่จบและไม่จบ ( รับรองว่าเรียนผ่านหมวดวิชาใดบ้าง )



รายการสายใย กศน.  วันที่  14  ธันวาคม  2552

 

         เรื่อง “นโยบาย กศน.ตำบล”
         ดำเนินรายการโดย นายอิทธิเดช  สุพงษ์ 
         วิทยากร คือ นายประเสริฐ  บุญเรือง  รองเลขาธิการ กศน.


         รัฐบาลเห็นความสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต ให้งบประมาณ กศน. มากกว่าปีก่อน ๆ มาก  กำหนดให้มี กศน.ตำบลทุกตำบล ( 7,409 ตำบล ) ภายในเดือน ก.ย.53    กศน.ตำบลจะจัดการศึกษาทุกรูปแบบ เป็นการศึกษาตลอดชีวิต ไม่เฉพาะการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แต่ส่งเสริมการศึกษาในระบบด้วย รวมทั้งเป็นสถานีปลายทางของ Tutor Channel ( จะให้ กศน.ตำบล เชิญอาจารย์ในระบบมาติวต่อจากรายการทีวี )
         นโยบายเร่งด่วนให้มี กศน.ตำบลต้นแบบ เท่าจำนวน ส.ส. ส.ว.    กศน.ตำบลจะช่วยให้ประชาชนเดินทางไปเรียนรู้ได้สะดวกขึ้น ลดการพลาดโอกาสทางการศึกษา
         มติ ครม. 18 ส.ค.52 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ให้ปรับบทบาท สนง.กศน. เป็น สนง.กศ.ตลอดชีวิต ( ปัจจุบันเป็นกรมที่ไม่เป็นนิติบุคคล อาจจะเปลี่ยนเป็นแท่งองค์กรหลักเลย ) ซึ่งเป็นที่มาของ กศน.ตำบล
         เจตนาของการปฏิรูปครั้งที่ 2 เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้
         1. เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
         2. เป็นคนดี มีความรู้ และความสามารถ

         3. มีความสุข ทั้งร่างกายและจิตใจ มีสติปัญญา
         4. สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

         5. มีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต


         การจัดสรรงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้ กศน.ตำบล
         1. เครื่องคอมพิวเตอร์ใน กศน.ตำบล ( ตำบลละ 6 ชุด ปีนี้ได้ 750 ตำบล จะครบทุกตำบลในปี 2555 )
         2. ติดตั้งและเชื่อมโยงอินเตอเน็ตความเร็วสูง
         3. ค่าจัดกิจกรรมใน ศรช.

         รัฐบาลได้ประสานระหว่าง ศธ. กับ มหาดไทย ให้ อบต. และ สพฐ. สนับสนุนอาคารสถานที่จัดตั้ง กศน.ตำบล ( อาจจะเป็นอาคารเก่าหรือห้องหนึ่ง ) จะให้เป็น “ส่วนราชการระดับตำบล”
         ป้าย กศน.ตำบล ให้มีชื่อ ศรช.อยู่บรรทัดล่าง เพราะยังไม่ได้แก้กฎหมาย ระเบียบการเบิกจ่ายยังใช้ชื่อ ศรช.อยู่   ใน 1 ตำบลให้มีครู ศรช. 1 คน เป็นหัวหน้า กศน.ตำบล โดย ผอ.กศน.จ. เป็นผู้แต่งตั้ง   ส่วนครูอาสาฯให้เป็นผู้ตรวจนิเทศติดตาม   ในอนาคต หัวหน้า กศน.ตำบลอาจจะได้เป็นพนักงานราชการ


         การบริหารจัดการ
         หัวหน้า กศน.ตำบล ปกฏิบัติงานประจำอยู่ที่ กศน.ตำบลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน ( มิฉะนั้นผู้บริหารมีความผิด ) โดยจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานติดไว้ที่ กศน.ตำบล ให้เห็นชัดเจน


         คณะกรรมการ กศน.ตำบล ประกอบด้วย
         1. ประธาน ( เลือกจากตัวแทนคณะกรรมการ )
         2. คณะกรรมการ ( ตัวแทนจากหมู่บ้านละ 2 คน ถ้ามีเกิน 10 หมู่บ้าน ให้หมู่บ้านละ 1 คน )
         3. ผู้แทนองค์กรนักศึกษา ( กรรมการนักศึกษา 2 คน )
         4. ผู้แทนอาสาสมัคร กศน.( ตัวแทนจากตำบล 1 คน )
         5. เลขานุการ ( หัวหน้า กศน.ตำบล )


         คณะกรรมการ ศรช. ประกอบด้วย
         1. ประธาน ( เลือกจากตัวแทนคณะกรรมการ )
         2. คณะกรรมการ ( ตัวแทนหมู่บ้าน 5 คน)
         3. ผู้แทนองค์กรนักศึกษา ( กรรมการนักศึกษา 2 คน)
         4. อาสาสมัคร กศน. ( ตัวแทนอาสาสมัคร 1 คน )
         5. เลขานุการ ( ครู ศรช. )

 

         กศน.ตำบล ต้องทำแผนตำบล โดยนำเงินอุดหนุนรายหัว รายปี และเงินค่าหนังสือเรียน-ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ไปบริหารจัดการว่าจะจ่ายเป็นค่าอะไรเท่าไร ( เงินเดือนครู ศรช.ทุกคนในตำบล, ค่าทำงานนอกเวลาเดือนละ 1,000 บาท/คน, ค่าประกันสังคม, ค่าพัฒนาบุคลากร, ค่าพัสดุจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ) ส่ง กศน.อำเภอ รวมเป็นแผนของอำเภอ  จัดซื้อจัดจ้างตามแผนโดย กศน.อำเภอ
        ( ครูอาสาฯทุกคน ต้องมีนักศึกษาอย่างน้อย 35 คน ไม่เกิน 60 คน ต่อภาคเรียน  เงินรายหัวนักศึกษาของครูอาสาฯ บริหารจัดการโดย กศน.อำเภอ )  ครู ศรช. ก็ห้ามรับผิดชอบนักศึกษาเกิน 60 คน เพื่อให้มีคุณภาพ ถ้าเกินผู้บริหารมีความผิด
         อนาคตอาจมีศูนย์การเรียนรู้ มีหนังสือพิมพ์ทุกหมู่บ้าน


         ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การเรียนชุมชน พ.ศ.2552
         1. ผอ.กศน.อำเภอ ลงนามจัดตั้ง ศรช. ( หมู่บ้าน )
         2. ผวจ. จัดตั้ง ศรช. ประจำตำบล ( กศน.ตำบล )
         3. ผอ.กศน.จังหวัด แต่งตั้งครู ศรช.
         4. ผอ.กศน.จังหวัด แต่งตั้งหัวหน้า กศน.ตำบล
         5. ผอ.กศน.อำเภอ แต่งตั้งคณะกรรมการ ศรช. ( หมู่บ้าน )
         6. ผวจ. แต่งตั้ง คณะกรรมการ ศรช. ประจำตำบล


         สื่อวัสดุครุภัณฑ์ที่ควรมีใน กศน.ตำบล
         สื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือตามหลักสูตร กศน. สื่ออิเล็คทรอนิคส์ โต๊ะเก้าอี้ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่น VCD/DVD เครื่องขยายเสียง เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม อุปกรณ์โสตอื่น ๆ  ( ให้มีห้องสมุดตำบลอยู่ใน กศน.ตำบลทุกแห่ง )


         ภารกิจ กศน.ตำบล
         1. จัดกิจกรรม กศ.นอกระบบและ กศ.ตามอัธยาศัย ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชน อย่างน้อยปีงบประมาณละ 560 คน ( กศน.ขั้นพื้นฐานไม่เกิน 60 คน, ทักษะชีวิตอย่างน้อย 20, ทักษะอาชีพอย่างน้อย 20, พัฒนาชุมชนและสังคม 60, เศรษฐกิจพอเพียง 100 โดย ทักษะชีวิต+อาชีพ+พัฒนาชุมชนสังคม+เศรษฐกิจพิเพียง ทำในหมู่บ้านเดียว และ กศ.ตามอัธยาศัย 300 คน นับทุกคนที่ไปใช้อินเตอร์เน็ต ใช้ห้องสมุดตำบล ร่วมกิจกรรม กศ.ตามอัธยาศัย )
         2. สร้างและขยายภาคีเครือข่าย
         3. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ
( จำนวนอาสาสมัคร, จำนวนผู้จบ ประถม ม.ต้น ม.ปลาย, จำนวนผู้ต้องการเรียนอาชีพ, จำนวนผู้ต้องการทักษะชีวิต, จำนวนผู้ต้องการ Tutor Channel ฯลฯ )
         4. จัดทำแผนงาน/โครงการ ประจำปีงบประมาณ
         5. ประสานงานเครือข่าย
         6. พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
         7. รายงานผลการดำเนินงานต่อ กศน.อำเภอ
         8. ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากอำเภอ จังหวัด กรม ( ประสานงานตรงกับ จังหวัด กรม ได้ )

 

         องค์ประกอบ กศน.ตำบล 7 ประการ ตามนโยบาย รมว.ศธ.
         1. บุคลากรรับผิดชอบไม่เกิน 60 : 1 คน
         2. มีอาคารสถานที่
         3. มีวัสดุอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
         4. มีภาคีเครือข่าย มีอาสาสมัคร กศน. 1 คน ต่อ 50 หลังคาเรือน
         5. มีคลังวิทยากร ( ขึ้นทะเบียนปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้รู้ อาชีพต่าง ๆ )
         6. มีองค์ความรู้ ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน
         7. จัดกิจกรรม กศ. ทุกประเภท

 

         อาสาสมัคร กศน.
         เป็นบุคคลที่มีความสามารถ และสมัครใจทำงานเพื่อสังคมในด้านการศึกษา โดยไม่รับค่าตอบแทนในหมวดเงินเดือน และได้รับการฝึกอบรมก่อนได้รับการแต่งตั้ง ( แต่งตั้งโดย ผอ.กศน.อำเภอ มีบัตรประจำตัวห้อยคอ ) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้าน อ่านออกเขียนได้ กรรมการหมู่บ้านหรือประชาชนรับรองว่ามีความประพฤติดี-ซื่อสัตย์   1 คน ต่อ 50หลังคาเรือน

 

         หัวข้อการอบรมอาสาสมัคร กศน. ( จัดอบรมโดย สนง.กศน.จ. )
         - การสร้างพลังจิตอาสาในชุมชน
         - งาน กศน. กับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
         - กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการทำงาน
         - 30 วันสู่ความสำเร็จ ( แผนปฏิบัติงานรายเดือน )

 

หมายเลขบันทึก: 320347เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 03:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณ อ.เอก มากครับ ข้อมูลแน่นจัง โดยส่วนตัว ต้องยอมรับว่าไม่เคยดูรายการสายใย กศน. เนื่องจากว่าต้องคอยดูแลผู้มาใช้บริการห้อง ICT ชุมชน

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะท่านผอ.เอกชัย

ครูณัฐ (สถาบันฯสิรินธร) ขออนุญาตนำสรุปรายการสายใย กศน.ของท่าน ผอ.เอกชัย นำเสนอ ผอ.สถาบันฯสิรินธรนะคะ ได้อ้างอิงด้วยค่ะว่ามาจากที่ไหน ครูดูรายการเหมือนกัน แต่จับประเด็นได้ไม่ครอบคลุมเหมือนท่าน ผอ. ขออนุญาตนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ครูณัฐ

ยินดีครับ คุณอภิบาล ศรช.บ้านเจษฏา 5 ลำไทร และคุณครูณัฐ
( ผมเคยบอกคุณครูณัฐแล้วว่าผมเป็นข้าราชการครูเหมือนคุณครูณัฐ ไม่ได้เป็น ผอ. ครับ )

ขออนุญาตนำสรุปรายงานขออาจารย์เสนอท่านผู้อำนวยการนะคะ เนื่องจากหนูดูรายการเหมือนกันคะที่ในเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาทางไกลกับทหารกองประจำการนั้นหนูยังสรุปเนื้อหาไม่ถูก ขอขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะคะ

พัชรา ศูนย์วิทย์ฯ ตรัง

สวัสดีค่อ.เอกชัย ชื่ออ.ตู่

เป็นครู กศน.มา 4 ปี แต่รู้สึกว่าตัวเองทำงานไม่มีประสิทธิภาพเลย

ไม่เคยได้รับมอบหมายงานสำคัญเลย ยกเว้นเป็นงานที่คนอื่นปฏิเสะถึงจะได้รับมอบหมาย

รู้สึกท้อแท้มาก

แต่วันนี้รู้สึกอยากจะเริ่มต้นกับตัวเองใหม่อีกวักครั้ง อยากเป็นครูที่ดี

ขออนุญาตเข้ามาแลกเปลี่ยนและขออคำชี้แนะจากอาจารย์ด้วยนะคะ

ไม่ว่าจะได้รับมอบหมายงานอะไรก็ตาม เราก็ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายนั้นให้ดีที่สุด ให้ผู้บริหารเห็นฝีมือครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท