89.ถกขแมร์ ตอนที่ 1 : ทำไมฉันจึงไปเขมร??


"ไป เขมร ทำไม???"  คำถามที่พบมากเมื่อยืนยันที่จะไป

ความจริงการเดินทางครั้ง...ตั้งใจจะไปเสียมเรียบ
แต่นั่นล่ะ...เสียมเรียบอยู่เขมร...จึงเป็นประเด็นที่ถูกถาม
ในช่วงเวลาที่ใครๆ บอกว่าไทยมีปัญหากับเขมร
ฉันกลับคิดว่า เราไม่ได้มีปัญหากับเขมร
เพียงแต่ เรามีปัญหากับ "ฮุนเซน" ก็เป็นเพียงคนเขมรคนหนึ่งที่ชวนทะเลาะกับคนไทย(บางคน)
ยังมี คนเขมร อีกมากมายที่เป็นเพื่อน เป็นมิตร และยินดีต้อนรับคนไทย
(แล้วฉันก็พบเช่นนั้นจริงๆ เมื่อไปเยือนมา)
 
มุมมองของฉันต่อการไปเยือนนครวัด นครธม
ฉันไปเยือนในฐานะของความเป็น "มรดกแห่งโลก"
(คำๆ นี้สะท้อนความเป็นเจ้าของของมวลมนุษย์ทุกคนบนโลก ไม่ใช่ใครคนใดเป็นเจ้าของ...มิใช่หรือ??)
และเป็นแหล่งอารยธรรมของชนชาติขอมที่เคยอยู่บนสุวรรณภูมิร่วมกัน
(คนไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของหลายชาติพันธุ์ที่สืบเชื้อสายจากขอม...มิใช่หรือ??)
เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะมีการแบ่งกั้นด้วยเขตแดนของความเป็นรัฐสมัยใหม่
ด้วยเขตแดนแห่งรัฐนั้นเกิดขึ้นภายหลัง...แต่อารยธรรมร่วมของชาวสุวรรณภูมิเกิดขึ้นมาเนิ่นนาน
 
ความเป็นขอม ไม่ได้หมายความว่าเป็นเพียง เขมร ในปัจจุบัน
แต่นั่นหมายถึง ความเป็นสุโขทัย เป็นอยุธยา  เป็นรัตนโกสินทร์ และเป็นอื่นๆ อีกมากมาย
เพราะเราล้วนมีรากของอารยธรรมร่วมกันอย่างเลี่ยงไม่ได้
แล้วใยเราจะต้องแย่งชิงความเป็นเจ้าของโบราณวัตถุ เช่น เขาพระวิหาร
ว่าเป็นของใคร...ทั้งๆ แท้จริงแล้ว ก็เป็นของเราร่วมกันได้
 
และยิ่งเมื่อไปเยือน เรายิ่งเห็นความเหมือนร่วมกัน มากกว่าความแตกต่าง
ไม่ว่าจะเป็น ความคิด ความเชื่อ ศิลปะ วัฒนธรรม
รวมไปถึงผู้คน...ที่มีชาติพันธุ์ เผ่าพันธุ์ และหน้าตาไม่ได้แตกต่างกันนัก
จะมีก็เพียงภาษาที่แตกต่างไป...แต่เชื่อไหม คนเขมร จำนวนมากทีเดียวที่ฉันพบ
เข้าใจ "ภาษาไทย" ได้ดีทีเดียว (และฉันคิดว่าเมื่อคนเขมร มาเยือนไทย ก็คงคิดเช่นนั้น)
 
การไปเยือนนครวัด นครธม
ทำให้ฉันได้รำลึกถึงอดีตที่มนุษย์สร้างความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมด้วยสองมือธรรมดา
เพื่อสะท้อนความอหังการ์ของมนุษย์ การใช้อำนาจเหนือมนุษย์ด้วยกันเอง
ความยิ่งใหญ่ที่มีวันเวลาแห่งการล่มสลาย...ซึ่งเป็นนิรันดร์
และการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ มากมายผ่านประดิษฐกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนต้องการบอกว่า มนุษย์ คิดอย่างไร และทำอะไรบ้าง
คุ้มนะ ถ้าสักครั้งหนึ่ง ที่จะได้ไปเยือน...มรดกโลกแห่งนี้
(จบตอนที่ 1)
 

สิงห์ และ นาค สัตว์ในจินตนาการ เรียงรายอยู่ตามทางเดินเข้าสู่นครวัด
 
 
ทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท แม้จะดูทรุดโทรมไปบ้าง
แต่การเก็บไว้โดยไม่เสริมแต่งให้สะดวกสบาย
ทำให้การเดินเข้าสู่ตัวปราสาทเป็นไปอย่างกลมกลืน
 

 
บรรยากาศยามเดินเข้าสู่ปราสาทนครวัด
การทอดยาวของทางเดิน และพื้นที่กว้างใหญ่ๆ รอบ ตัว
ทำให้มหาปราสาท ยิ่งใหญ่ และมีอำนาจ
  
 
อีกวิวหนึ่ง...แอ่งน้ำที่ถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ
เหมาะสำหรับการถ่ายรูป ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างดี
 
 
ต้นไม้ที่ขึ้นอย่างกลมกลืน และถูกดูแลไม่ให้บดบังตัวปราสาทมากไป
แต่ก็ไม่ถอนทิ้ง ทำลาย เพื่อให้ปราสาทโดดเดี่ยว
ทำให้ปราสาทมีชีวิตชีวา ไม่แห้งแล้ง
 

 

 
ความเก่าแก่ของโบราณสถาน ที่ถูกดูแลไว้ท่ามกลางธรรมชาติ
ทำให้เกิดความงดงาม เยือกเย็น
 

 
เรื่องราวบนหน้าบรรณ บ่งบอกเรื่องราว ความเชื่อ ความศรัทธาในอดีต
ที่ยังถูกเก็บรักษาไว้อย่างสมบูรณ์...อย่างไม่น่าเชื่อ
 

 

 
ความตั้งใจในการดูแล แต่ไม่รุกรานธรรมชาติ และตัวปราสาท
ทำให้มรดกโลกแห่งนี้มีเสน่ห์ และเก็บความขลัง
ไว้ได้มากกว่าโบราณสถานแบบเดียวกันในประเทศไทย
ที่เน้นความสะดวกสบายในการเข้าถึง
และการจัดการที่ไม่กลมกลืน ที่ยึดการท่องเที่ยวเป็นหลักมากไป
 

 

 

หลากหลายชีวิต ที่อาศัยนครวัด เป็นแหล่งพักพิง
และทำให้นครวัด...มีชีวิตชีวา.

 

...........

pis.ratana บันทึก

 

หมายเลขบันทึก: 320119เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2009 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ   P
  • ยินดีค่ะที่แวะมา สบายดีนะ
  • สวัสดีค่ะ  P
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

 พลาดจากการเยี่ยมชม เนื่องจากงานยุ่งๆๆ เหยิงๆๆๆ  ไปชมตอนที่ 2 มาแล้ว  ติดอกติดใจเมืองเขมร  ไม่เคยไปเลย (รวมถึงไม่เคยไปภาคอีสานเลย อีกต่างหาก...)  ขอบคุณเรื่องราวที่เล่า ประทับใจมาก ทั้งเรื่อง และภาพค่ะ

ระลึกถึงเสมอค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท