ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพของชาวเหนือ


ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพของชาวเหนือ


ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือ


          ชาวเหนือมีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จากบรรพบุรุษ และปฏิบัติสืบทอดกันมาได้อย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง แม้ว่าการแพทย์แผนปัจจุบันจะมีความเจริญก้าวหน้าและมีสถานพยาบาลมากแล้วก็ตาม บางครั้งมีการดูแลปฏิบัติตนตามความเชื่อถือดั้งเดิมควบคู่ไปกับการรักษาด้วยแผนปัจจุบัน สำหรับการแพทย์แผนโบราณในภาคเหนือนับว่ามีส่วนผสมผสานอยู่ในชีวิตประจำวันมาแต่เดิม เพราะถือว่าการรู้จักดูแลสุขภาพ รู้จักใช้ยาสมุนไพรที่ใกล้มือ และปฐมพยาบาลด้วยวิธี ง่าย ๆ เป็นการประหยัดและทั่วถึง จากการสำรวจคัมภีร์ใบลานที่พบในวัดต่าง ๆ เมื่อแยกหมวดหมู่แล้วจะเป็นตำรายาหลากหลายด้วยกัน การรักษาโรคของแพทย์แผนโบราณในภาคเหนือจะมีการวิเคราะห์โรคและวิธีการรักษาต่าง ๆ ได้แก่ ใช้ยารักษาตามอาการคนไข้ เช่น ยารสขมใช้รักษาอาการไข้ ยารสเผ็ดร้อนใช้รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และมีการแนะนำการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง หรือใช้ยาปรับธาตุตามฤดูกาล หรือแนะนำอาหารตามธาตุของผู้ป่วย เช่น ธาตุดินควรรับประทานผักผลไม้ที่มีรสฝาด เช่น ฝรั่งดิบ หัวปลี ธาตุน้ำควรรับประทานผักผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะเขือเทศ มะนาว มะม่วงดิบ ธาตุลมควรรับประทานผักผลไม้ที่มีรสเผ็ดร้อน เช่น กะเพรา ตะไคร้ ขิง ข่า และธาตุไฟควรรับประทานผักผลไม้ที่มีรสเย็น เช่น แตงโม แตงกวา นอกจากนั้นโรคและอาการบางอย่างอาจรักษาด้วยการนวด เช่น ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ อัมพฤกษ์ อัมพาต ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ คอเคล็ด ปวดหัวไหล่ ข้อเท้าเคล็ด และการอบสมุนไพรเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยเวียนศีรษะ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและบำรุงผิวพรรณ นอกจากรักษาด้วยยาแล้ว ผู้ป่วยต้องระมัดระวังไม่รับประทานอาหารที่ถือว่าเป็นอาหารแสลง ซึ่งได้แก่ ฝรั่ง แตงโม มันแกว กล้วยหอม กล้วยไข่ ขนุน โดยเฉพาะคนเป็นไข้หวัดให้รับประทานมะขามป้อม สมอไทย เป็นโรคตับให้รับประทานมะเฟือง สับปะรด ท้องเสียให้รับประทานฝรั่ง ทับทิม ส่วนท้องผูกให้รับประทานมะขาม เป็นต้น

การใช้สมุนไพรเป็นยา
หมอเมือง

ภาคเหนือยึดถือสืบต่อกันมาว่า การเก็บและการใช้สมุนไพรให้ได้คุณค่าสูงสุดต้องเก็บสมุนไพรจากแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ หากเคลื่อนย้ายออกไปจากแหล่งกำเนิดจะทำให้สรรพคุณของตัวยาลดลง และต้องใช้สมุนไพรให้ครบพระเจ้าทั้ง ๕ องค์ เพื่อให้ตัวยามีคุณค่าครบถ้วน ช่วงเวลาการเก็บสมุนไพร คือ เก็บตามฤดูกาลที่สมุนไพรแต่ละชนิดเจริญเติบโต และต้องเก็บตามชั่วยามที่เหมาะสมแบบไทย (๑ ชั่วยาม มี ๓ ชั่วโมง) ซึ่งระบบนิเวศของพืชทำงานเต็มที่ เช่น ฤดูร้อนต้องเก็บส่วนรากและแก่นของสมุนไพร ฤดูฝนต้องเก็บส่วนใบ ดอก และผล ฤดูหนาวเก็บส่วนเปลือก ลำต้น กระพี้ และเนื้อไม้ การเก็บสมุนไพรให้ได้ผลด้านสรรพคุณทางยาเต็มที่ สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจในกระบวนการทางธรรมชาติของการสังเคราะห์แสง การปรุงอาหาร และการเก็บสะสมสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช บางครั้งการเก็บพืชสมุนไพรยังอิงกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น การเกิดจันทรุปราคา เป็นต้น
สำหรับการอบสมุนพร ชาวเหนือมีการอบสมุนไพรมานานแล้ว แต่ทำแบบง่าย ๆ โดยใช้ไม้ไผ่ทำโครงกระโจม เอาผ้าคลุมโครงไม้ไผ่ แล้วนำไปตั้งไว้พื้นที่มีร่อง (ฮูร่อง) สำหรับให้ท่อไอน้ำจากหม้อต้มยาโผล่เข้ามาในกระโจม ข้างล่างจะมีหม้อต้มยา ซึ่งอาจใช้ปี๊บน้ำมันเก่า หม้อดินหรือภาชนะอื่น ที่ใช้เป็นหม้อต้มได้ และมีฝาปิด ต่อท่อที่ทำด้วยลำไม้ไผ่หรือวัสดุอื่น จากหม้อไปยังร่องในกระโจม โดยมีเตียงหรือตั่งสำหรับนอนหรือนั่งเตรียมไว้ จะอยู่ในกระโจมนานเท่าไรขึ้นอยู่กับความพอใจและความทนทานของผู้อบ สมุนไพรที่ใช้อบประกอบด้วย ขิง ข่า ตะไคร้ ใบกะเพรา ขมิ้น หัวหอม ใบเปล้า ไม้ก้างปลา หญ้าใบยืด ผักบุ้ง ฯลฯ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้เริ่มเป็นหวัดครั่นเนื้อครั่นตัว หลังจากอบแล้วเหงื่อจะออกทำให้หายจากการเป็นหวัด

วิธีการรักษา
          ตามธรรมเนียมของภาคเหนือ การรักษาโรคด้วยสมุนไพร (herbal folk medicine) ต้องดำเนินควบคู่ไปกับการแพทย์เชิงพิธีกรรม (magico religio folk medicine) เพราะเป็นการบำบัดรักษาคู่กันระหว่างกายกับใจ ซึ่งการแพทย์แผนไทยทุกภาคก็ปฏิบัติแบบเดียวกัน การสวดคาถา ประพรมน้ำมนต์ ปัดรังควาน และการเรียกขวัญระหว่างบำบัดรักษา ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดกำลังใจต่อสู้กับความเจ็บป่วย ซึ่งแต่เดิมการรักษาด้วยวิธีการแพทย์สมัยใหม่ไม่เห็นความสำคัญ (เอกวิทย์ ณ ถลาง ๒๕๔๐ : ๖๘)
          หมอเมืองซึ่งเป็นหมอพื้นบ้านภาคเหนือ เป็นตำแหน่งทางสังคมของบุคคลที่มีความรู้ในการปัดเป่าเยียวยาปัญหาโรคภัยไข้เจ็บทุกข์ร้อนต่าง ๆ ของชุมชน ด้วยพืชสมุนไพรหรือวิธีการ อื่น ๆ หมอเมืองจึงมิได้เป็นเพียงตำแหน่งทางวิชาชีพ และมิใช่พ่อค้าขายยาหรือคนสมุนไพร แต่หมอเมืองและตำราหมอเมืองเปรียบเสมือนองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีการสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ อย่างไรก็ดีมีบทบาทและวิธีการรักษาของหมอเมืองปัจจุบันถูกจำกัดจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบโรคศิลป์ของรัฐบาล ทำให้หมอเมืองไม่สามารถทำการรักษาเยียวยาแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากกฎหมายระบุว่า ผู้ที่จะประกอบอาชีพเป็นแพทย์แผนโบราณต้องสอบผ่านวิชาเวชกรรมแผนโบราณของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน ๕ เล่ม แต่ปัญหาที่หมอเมืองภาคเหนือประสบ คือ ตำราเวชกรรมแผนโบราณเป็นภูมิปัญญาภาคกลางมิใช่ภูมิปัญญาภาคเหนือ ดังนั้นหากหมอเมืองต้องการจะได้รับใบประกอบโรคศิลป์ ก็จำเป็นต้องละทิ้งแนวทางการรักษาโรคตามแบบอย่างภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคเหนือ ด้วยเหตุนี้หมอเมืองภาคเหนือส่วนหนึ่งจึงต้องทำหน้าแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ
หมอเมืองซึ่งเป็นหมอพื้นบ้านภาคเหนือ เป็นตำแหน่งทางสังคมของบุคคลที่มีความรู้ในการปัดเป่าเยียวยาปัญหาโรคภัยไข้เจ็บทุกข์ร้อนต่าง ๆ ของชุมชน ด้วยพืชสมุนไพรหรือวิธีการ อื่น ๆ หมอเมืองจึงมิได้เป็นเพียงตำแหน่งทางวิชาชีพ และมิใช่พ่อค้าขายยาหรือคนสมุนไพร แต่หมอเมืองและตำราหมอเมืองเปรียบเสมือนองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีการสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ อย่างไรก็ดีมีบทบาทและวิธีการรักษาของหมอเมืองปัจจุบันถูกจำกัดจากกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบโรคศิลป์ของรัฐบาล ทำให้หมอเมืองไม่สามารถทำการรักษาเยียวยาแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากกฎหมายระบุว่า ผู้ที่จะประกอบอาชีพเป็นแพทย์แผนโบราณต้องสอบผ่านวิชาเวชกรรมแผนโบราณของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน ๕ เล่ม แต่ปัญหาที่หมอเมืองภาคเหนือประสบ คือ ตำราเวชกรรมแผนโบราณเป็นภูมิปัญญาภาคกลางมิใช่ภูมิปัญญาภาคเหนือ ดังนั้นหากหมอเมืองต้องการจะได้รับใบประกอบโรคศิลป์ ก็จำเป็นต้องละทิ้งแนวทางการรักษาโรคตามแบบอย่างภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคเหนือ ด้วยเหตุนี้หมอเมืองภาคเหนือส่วนหนึ่งจึงต้องทำหน้าแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ
          อย่างไรก็ดี ปัจจุบันแพทย์จากโรงพยาบาลหลายแห่งในภาคเหนือ ดังเช่น แพทย์ที่โรงพยาบาลพญาเม็งราย เริ่มเปิดกว้างยอมรับวิธีการบำบัดโรคของหมอเมืองเข้ามาผสมผสาน เนื่องจากการขาดแคลนแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเฉพาะในกรณีที่คนไข้กระดูกหัก โดยแพทย์ที่โรงพยาบาลจะวินิจฉัยอาการบาดเจ็บเบื้องต้นด้วยวิธีการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซเรย์ เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งหักของกระดูก จากนั้นก็เริ่มรักษาด้วยการเข้าเฝือกที่โรงพยาบาล ก่อนจะอนุญาตให้คนไข้ไปรับการรักษาต่อด้วยวิธีการนวดน้ำมนต์กับหมอเมือง การที่หมอเมืองให้ความร่วมมือด้วยดี มีสาเหตุมาจากการได้รับการยอมรับนับถือจากแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเท่าเทียมกัน และสิ่งสำคัญก็คือการเข้าใจสภาวะภายในจิตใจของมนุษย์ ซึ่งต้องการการเยียวยาเช่นเดียวกันสภาวะทางกาย (เอกวิทย์ ณ ถลาง ๒๕๔๐ : ๑๒๙ - ๑๓๐)

 


หมายเลขบันทึก: 319575เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2009 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ
  • บางครั้งก็ต้องยอมรับสมุนไพรค่ะ
  • ชาวอิสานก็ยังนิยมรักษาตัวเหมือนสมัยโบราณเหมือนกัน
  • ขอบคุณค่ะ

....................................

ว้าว วววว

สมุนไพรรรร

คนไทย สุด ยอด ไป เลยย

ขอบคุณสำหรัความรู้

.....................................

wowww

สมุนไพรไทยนีเยี่ยมมากๆๆๆๆๆ

สู้ยาสมัยใหม่ได้สบายเลย

thank a lot

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท