บันทึกแรก


บอกหน่อย

 

สวัสดีค่ะทุกท่านที่ผ่านเข้ามาในบันทึก

  บันทึกนี้เป็นบันทึกแรกของดิฉัน  ที่เป็นสมาชิกใหม่  ขอความกรุณาผู้รู้ทุกท่าน

ได้โปรดให้คำแนะนำด้วยนะคะ  ขอบคุณค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #รอ7
หมายเลขบันทึก: 319172เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2009 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

  • เมื่อแรกเริ่มก็กลัว ๆ  ค่ะ แต่ที่นี่มีมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่ เรียนรู้และพัฒนา จากท่านที่เก่งกล้า จะต้องพัฒนาและดียิ่งขึ้น
  • มิบังอาจแนะนำเพราะยังด้อยประสบการณ์เช่นกันค่ะ ยังไม่เป็นโปร ฯ
  • มีสุขกับการก้าวย่าง ณ G2K ค่ะ

 

Brww3

CONGRATULATIONS! เป็นกำลังใจให้ค่ะ เขียนเยอะๆนะคะ

ขอบคุณทุกท่านนะคะที่ให้กำลังใจ phayorm แซ่เฮ และคุณเกศนีย์ ค่ะ

สวยทั้งคู่ คนสวยมักจะเก่งเสมอ

สวัสดี ค่ะน้องอร

สงสัยพี่จะไม่ได้พร้าเล่มทองหรอก ช้างกๆเลยคงได้พร้าเข้าสนิมน่ะไม่ว่า

การใช้ ECT ในการเรียนการสอน บทนำ สภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเดิมมาเป็นสังคมที่เน้นในเรื่องการใช้เทคโนโลยีโดยที่เทคโนโลยีที่นำมาใช้ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) โดยจะเห็นได้จากนโยบายในปี 2550 ที่มีการสนับสนุนให้มีการใช้ ICT มาพัฒนาประยุกต์เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานในด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็น การนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการและการบริการของภาครัฐ การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น ทางด้านวัฒนธรรม ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสังคม และด้านการศึกษา รวมไปถึงมีการกำหนดมาตรฐานกลางต่างๆ ทางด้าน ICT เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างเป็นสากลที่เรียกว่า มาตรฐานเปิด ในการนำ ICT มาใช้ในด้านการศึกษาอาจเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา( ETC) ซึ่งหมายถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อให้การศึกษาเกิดประโยชน์สูงสุด เน้นให้ผู้สอนและผู้เรียนเป็นผู้มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ เน้นการเรียนรู้แบบรายบุคล และเพิ่มปฏิสัมพันธ์ในการเรียน โดยรูปแบบการจัดการศึกษาจะอยู่ในรูปของการเรียนในระบบ การเรียนนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ความหมาย เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา (ETC) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการสื่อสารเพื่อการศึกษา โดยเน้นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน เน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา สามารถแยกความหมายออกได้เป็น 2 ความหมายดังนี้ ความหมายที่ 1 เป็นสื่อที่เกิดจาการปฏิวัติทางการสื่อสาร หรือเกิดจากการนำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม มาประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ ทั้งที่เป็นเครื่องมือ (Hardware) ได้แก่ เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องรับโทรทัศน์ ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ และวัสดุ (Sorftware) ได้แก่ รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ เป็นต้น ความหมายที่ 2 เป็นการออกแบบระบบ การดำเนินการ การวางแผน ดำเนินการตามแผน และประเมินกระบวนการทั้งหมดของการเรียนการสอน ในลักษณะของจุดมุ่งหมายเฉพาะด้วยการใช้ผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ การสื่อสาร เป็นพื้นฐานการดำเนินงาน เพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอน การใช้ ETC ในการเรียนการสอน เทคโนโลยีที่มีการใช้ในทุกวันนี้มีผลกระทบกับทุกส่วนของระบบการศึกษาไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของนโยบาย การบริหารจัดการ การจัดหลักสูตร การวัดประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียน การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้กับการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่ต้องวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเพื่อพิจารณาให้เห็นถึงผลได้ผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมา หลักการสำคัญอย่างหนึ่งในการเลือกใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาก็คือ เทคโนโลยีนั้นจะต้องมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความคุ้มค่า อีกทั้งต้องสามารถปรับเปลี่ยนรองรับการเปลี่ยนแปลงและเข้าได้กับเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นในอนาคต การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาจะทำให้บทบาทของผู้สอนและผู้เรียนเปลี่ยนไปจากเดิม จุดมุ่งหมายในการเรียนจะถูกกำหนดอยู่ใน 4 ลักษณะ (Delors 1998:97) คือ 1 เรียนเพื่อที่จะให้รู้ (Learning to know) หมายถึง การเรียนจะก่อให้เกิดทักษะทางปัญญา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ 2 เรียนเพื่อให้สามารถกระทำได้ (Learning to do) หมายถึง การเรียนที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานในสภาพที่เป็นจริง 3 เรียนเพื่อที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น(Learning to live together) หมายถึง การเรียนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตให้อยู่ในสังคมได้ เคารพการตัดสินใจของส่วนรวม เห็นคุณค่าในความแตกต่างกันทางสังคม เชื้อชาติและศาสนา 4 เรียนเพื่อที่จะเป็น(Learning to be) หมายถึง การเรียนเพื่อพัฒนาบุคคลเพื่อยกระดับให้สูงกว่าที่เป็นอยู่ สามารถเป็นในสิ่งที่ผู้เรียนคาดหวังไว้ได้ จากจุดมุ่งหมายในการเรียนข้างต้นทำให้สามารถเปรียบเทียบวิธีในการเรียนการสอนในรูปแบบเดิมและแบบใหม่ได้ดังนี้ แบบเดิม แบบใหม่ ผู้สอนเป็นศูนย์กลางในการสอน ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียน สื่อมีเพียงชนิดเดียว สื่อเป็นแบบมัลติมีเดีย การรับรู้ของผู้เรียนใช้ช่องทางเดียว การรับรู้ของผู้เรียนใช้หลากหลายช่องทาง การทำงานเป็นแบบงานเดี่ยว การทำงานเป็นแบบร่วมมือ ผู้เรียนเป็นผู้รับข้อมูลสารสนเทศ ผู้เรียนและผู้สอนต่างแลกเปลี่ยนสารสนเทศกัน การเรียนเป็นแบบ Passive การเรียนเป็นแบบ Active/exploratory/inquiry การเรียนในบริบทที่เป็นแบบจำลอง การเรียนในบริบทที่เป็นโลกความเป็นจริง การเรียนเป็นแบบอยู่บนพื้นฐานของความรู้ การเรียนแบบการใช้วิธีการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ในการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับการศึกษาอาจจะอยู่ในรูปของการนำเข้าไปสอนเป็นลักษณะของเนื้อหาวิชา การใช้เป็นเครื่องมือในหลักสูตร หรือการใช้เป็นแหล่งทรัพยากรร่วมในหลักสูตร ซึ่งจากประเด็นข้างต้นจะพบว่าสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนจะเปลี่ยนไป โดยที่ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงจะพบว่า จากการที่เคยเรียนเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ก็จะอยู่ในรูปของกลุ่มเล็ก จากการเรียนแบบวิธีการจดบันทึกและท่องจำจะเปลี่ยนไปสู่การแนะนำโดยผู้สอน จากการเน้นเฉพาะผู้เรียนที่ดีไปสู่การเน้นผู้เรียนที่เรียนอ่อน จากการเรียนแบบแข่งขันไปสู่การเรียนแบบร่วมมือ จากการสอนโดยวิธีเดียวกันกับคนทั้งชั้นไปสู่การเรียนแบบรายบุคคลตามความเหมาะสม จากการประเมินผลโดยการวัดผลสัมฤทธิ์ไปสู่การวัดผลที่คุณภาพของผลงาน ความก้าวหน้าและความพยายาม โดยที่มีงานวิจัยที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นดังนี้ 1 The report on effectiveness of technology in schools 2000 (Sivin-Kachala and Bialo 2000) พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเมื่อมีการใช้เทคโนโลยีเข้าร่วมกับการเรียน โดยสามารถใช้ได้กับวิชาทางการอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา 2 Meta analysis of hypermedia studies published between 1986-1998 (Liao 1999) พบว่าเมื่อมีการใช้ไฮเพอร์มีเดียในการเรียนการสอนจะช่วยเพิ่มผลสำเร็จในการเรียนให้กับผู้เรียน 3 Online learning : A study of student attitudes towards web base instruction(Gulsun Kurubacak) ที่ศึกษาถึงทัศนคติในการใช้เว็บไซต์เพื่อการสอนโดยพบว่า ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้เว็บเพื่อการสอนเพราะสามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคลได้ดี 4 Online training : An evaluation of the effectiveness and efficiency of training law enforcement personal over the internet (Joyce Marie,Schmeekle) ที่ศึกษาถึงการประเมินการฝึกอบรมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยพบว่า การจัดฝึกอบรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมีประสิทธิผลเท่ากับการฝึกอบรมปกติ แต่มีประสิทธิภาพมากกว่าการฝึกอบรมแบบปกติ และมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 5 ในประเทศฮ่องกงมีการทำวิจัยการใช้ U-learning กับมหาวิทยาลัยเปิดแห่งฮ่องกง โดยครอบคลุมไปยังพื้นที่ของประเทศจีน โดยมีลักษณะการสร้างโมเดลการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีของ U-learning แนวโน้มการใช้ ETC ในการเรียนการสอน ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่สามารถนำมาใช้เพื่อการจัดการศึกษา เป็นต้นว่า การใช้คอมพิวเตอร์เน็ตเวอร์ค ระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบโทรศัพท์ ในการใช้ ETC ในการเรียนการสอนเป็นการประยุกต์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับสภาพปัจจุบันและลักษณะของผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สูงสุด สามารถจัดการเรียนการสอนได้ทั้งแบบในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยที่เป็นการศึกษาตลอดชีวิต แนวโน้มการใช้ ETC ในอนาคตจะพบว่า มีการให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส โดยผ่านช่องทางในการสื่อสารในหลายรูปแบบ เป็นการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลา และระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา รูปแบบของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะมีการนำมาใช้ได้แก่ การใช้ e-learning , m-learning , u-learning , second life , blogs , Laptops unleashed , wiki , GPS ,GPRS , WIFI , RFID เป็นต้น บทสรุป การจัดการศึกษาโดยใช้ ETC มีข้อที่ต้องควรคำนึงถึงก็คือ การจัดโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ การประเมินความจำเป็นของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ การกำหนดวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี การวางแผนการใช้เทคโนโลยี การประเมินผลการใช้เทคโนโลยี การปรับปรุงการใช้เทคโนโลยี การใช้ ETC ในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้บริบทและสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงจะทำให้บทบาทของผู้สอนและผู้เรียนเปลี่ยนไปด้วย โดยผู้สอนจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ให้ข้อมูลสารสนเทศไปเป็นผู้ควบคุม ผู้แนะนำ และผู้อำนวยความสะดวก ในขณะที่ผู้เรียนจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้รับไปเป็น ผู้เสาะหา ผู้สอบถาม เป็นลักษณะการเรียนแบบร่วมมือโดยอาศัยสื่อในหลากหลายรูปแบบ ผู้เรียนและผู้สอนจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้สามารถรับกับบทบาทดังกล่าว ETC จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาที่ต้องให้ผู้สอนและผู้เรียนได้ศึกษา รวมไปถึงเป็นเครื่องมือของหลักสูตร และเป็นแหล่งทรัพยากรร่วมของหลักสูตร อันจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดในการสร้างองค์ความรู้และตอบสนองจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ทั้ง 4 ลักษณะ ได้แก่ เรียนเพื่อที่จะให้รู้ (Learning to know) เรียนเพื่อให้สามารถกระทำได้ (Learning to do) เรียนเพื่อที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น(Learning to live together) เรียนเพื่อที่จะเป็น(Learning to be) Prev: การใช้ ETC ในการเรียนการสอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท