บทบาทและภารกิจของ กศน.ตำบล


กศน.ตำบล มีภารกิจที่สำคัญ ดังนี้1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนอย่างน้อยปีงบประมาณละ 560 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรมดังนี้

บทบาทและภารกิจของ กศน. ตำบล

กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน.อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน

กศน.ตำบล มีภารกิจที่สำคัญ ดังนี้

1.  จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนอย่างน้อยปีงบประมาณละ 560 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรมดังนี้

      1.1  การศึกษานอกระบบ 260 คน ประกอบด้วย

             1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน  60  คน

             1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  จำนวน  20  คน

             1.1.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  จำนวน 20 คน

             1.1.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน 60 คน

             1.1.5 กระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 100 คน

      1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 300 คน

2. สร้างและขยายภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน

3. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข็มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วมและศักยภาพในการจัด

4. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.

5. จัดทำแผนงาน โครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายและชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน.จังหวัด และ กศน.อำเภอ ที่สังกัดเพื่อการสนับสนุนงบประมาณจาก กศน.อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัว ตามที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดคูณด้วย จำนวนนักศึกษา 60 คน สำหรับกิจกรรมอื่นๆนั้น จัดทำแผนงาน โครงการเพื่อเสนอของบประมาณให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ

6. ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและ กับ กศน.อำเภอที่สังกัดตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานบนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพ ด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฎิบัติ

7. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอก

ของ กศน.อำเภอ ที่สังกัด

            8. รายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้

            9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆที่ดีรับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ สำนักงาน กศน.จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมายกำหนด.

 

(คัดลอกเผยแพร่ จากคู่มือการดำเนินงาน  กศน.ตำบล

หลักการดำเนินงานของ กศน.ตำบล มีต่อติดตามต่อไปในฉบับหน้า)

หมายเลขบันทึก: 318730เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2009 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

งาน กศน.ตำบลมากมาย อย่าลืม! มอบขวัญกำลังใจ ให้กับผู้ปฎิบัติงานในพื้นที่ อย่างน้อยให้เป็น "พนักงานราชการ"ก็ดี มีเงินเดือนสัก 10.000 บาท เป็นอย่างน้อย จะเข้าท่าอย่างมาก ท่านผู้บริหารระดับกรม มองเห็นหรือปล่าวเอ๋ย............หรือมีแต่มอบงานให้.....มอบงานให้.....โดยไม่คิดเลยว่าเงินเดือน 7.940 บาท ลูกจ้างชั่วคราวพร้อมภรรยากับลูกๆ เขาอยู่รอดได้อย่างไง.......หนอ. ช่วยดูและให้กำลังใจด้วย...ครับท่าน.......ฟ้าน่าประทานพรให้ หัวหน้า กศน.ตำบลได้สัมฤทธิ์ผล สมความปรารถนาด้วยเถิด..........

เราก็ต้องยอมรับกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มันคงจะไม่ง่ายเลยที่จะทำให้ครู ศรช.ทุกคนเป็นครูอาสา ในบางครั้งถ้าเราไม่ยึดติดกับมัน จะทำให้เราทำงานอย่างสนุก สบาย การที่เรามีงานทำ ได้อยู่ใกล้ ๆ บ้าน ได้อยู่กับครอบครัว มันก็ดีกว่าที่เราจะไปทำงานไกล ๆ ถึงในบางครั้งงานมันจะหนัก เยอะบ้าง ก็อย่าได้ยอมแพ้ อย่าไปดูคนที่เขาสบายกว่าเรา ยังมีอีกหลาย ๆๆๆๆๆ คนที่เขาต้องทำงานหนักกว่าเรา มีงานเยอะกว่าเรา เขาเหล่านั้นยังอยู่ได้ สำหรับครูอาสาเขาจะสบายก็ช่างเขา เขาไม่ทำงานก็ช่างเขา ถ้าเขาไม่ละอายแก่ใจก็ช่างเขาเถอะ สำหรับเรื่องเงินเดือนที่ครูอาสาได้มากกว่า มันก็จริง แต่....ว่าถ้าเขาไม่รู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัดเขาก็ไม่มีเก็บเหมือนกัน จงทำใจให้สบายเถอะ ทำงานให้สนุกกับงาน คิดดูซิเราได้สอนหนังสือ ได้จัดกิจกรรมในชุมชน มีคนอีกตั้งมากมายคอยเราอยู่พร้อมที่จะเดินไปด้วยกันกับเรา แล้วเราจะท้อแท้แค่ความแตกต่างระหว่าคำว่า ครูอาสา .. ครูศรช.ทำไม การที่ครูศรช.จะปรับเป็นครูอาสา มันก็คงจะต้องใช้เวลาบ้าง สำนักของเราไม่ใช้เป็นคนเห็นชอบเพียงคนเดียว ฉนั้นในฐานะครูด้วยกัน อยากจะให้พวกเราทำงานให้เต็มที่ อย่ามัวไปคิดแต่เรื่องปรับเงินเดือน เป็นครูอาสา แล้วคิดหรือว่า เงินขึ้น เป็นครูอาสา แล้วชีวิตของเราจะดีขึ้น มันอยู่ที่ตัวเราเองมากกว่า นึกเสียว่าชีวิตนี้เสียสละให้กับชุมชน กศน.ให้เราตั้งมากมาย ทำให้มีงานทำ ได้อยู่กับครอบครัว แล้วทำไมเราจะตอบแทน กศน. บ้างไม่ได้ จิงไหม

เจตน์สฤษฏิ์พงศ์ รัตนบวรกรกูล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท