ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

ขยับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ระยะ ๑๐ เป้าศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาโลก


มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร มีปรัชญาว่า "จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม " ปณิธานว่า " ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาขั้นสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์" วิสัยทัศน์ว่า "เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา ระดับนานาชาติ ที่สร้างคนดีและเก่งอย่างมีสมรรถภาพ จัดการศึกษาและวิจัยดีอย่างมีคุณภาพ บริการวิชาการดีอย่างมีสุขภาพ บริหารดีอย่างมีประสิทธิภาพ

           เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ประชุมผู้บริหารแผนงานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน ๑๐๐ รูป/คน โดยมีพระมหาสุเทพ สุปณฺฑิโต ผู้อำนวยการกองแผนงาน และคณะร่วมเสวนา เน้นกระบวนการในการสร้างและติดตามตัวชี้วัด
           ที่ประชุมนำเสนอแผนปฏิบัติราชการ ๕ ปี พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยในแผนพัฒนาเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์  ตัวชี้วัด มาตรการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย 
           มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร มีปรัชญาว่า "จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม " ปณิธานว่า " ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาขั้นสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์" วิสัยทัศน์ว่า "เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา ระดับนานาชาติ ที่สร้างคนดีและเก่งอย่างมีสมรรถภาพ จัดการศึกษาและวิจัยดีอย่างมีคุณภาพ บริการวิชาการดีอย่างมีสุขภาพ บริหารดีอย่างมีประสิทธิภาพ 
            ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับความไว้วางใจจากมหาเถรสมาคม รัฐบาล และสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมชาวพุทธศาสนาชาติเป็นประจำทุกปี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเป็นที่ตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ มีพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเป็นประธานสมาคม
            การจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ ๑๐ กำหนดจัดขึ้น ๒ วัน คือ วันที่ ๒๕-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยพระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีกำหนดเดินทางมาเป็นประธานในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

คำสำคัญ (Tags): #มหาจุฬาฯ
หมายเลขบันทึก: 318333เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2009 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 01:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อบอุ่บทางวิชาการครับ

ได้ ฟัง ดู พระอาจารย์ นำเสนอ KM มจร แล้วประทับใจครับ......

http://km.mcu.ac.th/video.php?vdo_id=1

ครั้งหนึ่ง เคยได้ฟัง พระอาจารย์ได้ คอมเม้นท์ วิทยานิพนธ์ ป.เอก ประมาณว่าเรื่อง เกี่ยวกับพระพุทธบาท ที่วัดมหาธาตุ ของอาจารย์เจ้าคุณ รูปหนึ่ง พระอาจารย์ ยกพุทธดำรัสที่ตรัสแด่พระอานน์ ก่อนที่จะพูดว่า

"มีไหม บุคคลใดที่มีความเพียรอย่างต่อเนื่อง แแล้วไม่บรรลุผลสำเร็จ" ผมเป็นนิสิตร่วมฟังอยู่ด้วย...ยังประทับใจพระอาจารย์อยู่เลย (พระอาจารย์ ขอลา กลับไปประชุมที่วังน้อยเสียก่อน )

ความแตกต่างระหว่างกรอบการวิจัยกับ Conceptual Framework แตกต่างกันอย่างไร

หลวงพี่ครับ

  • ขอบคุณครับที่กรุณาติดตามการทำงานของผม
  • ถูกต้องที่สุดครับ ไม่มีอะไรที่คนมีความเพียรทำแล้วไม่เสร็จหรือสำเร็จ
  • คำถามที่่ท่านถามว่า "ความแตกต่างระหว่างกรอบการวิจัยกับ Conceptual Framework แตกต่างกันอย่างไร" สรุปคือ "เป็นคำเดียวกันครับ" ไม่ต่างกัน
  • กรอบแนวในการทำวิจัยมี 2 กรอบใหญ่ครับ คือ กรอบของทฤษฏีที่ใช้ในการวิจัย กับกรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งเป็นคำถามที่ท่านถามผม
  • แต่หากผมเอาใจท่านไม่ผิด ผมคิดว่า ท่านกำลังถามผมว่า กรอบแนวคิดในการวิจัย กับ กระบวนการในการทำวิจัยมากกว่า
  • กรอบแนวคิด หรือ Conceptual Frameworm เป็นกรอบสำหรับการทำงานวิจัยครับ ว่างานวิจัยของท่านกินพื้นที่ขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นจะเป็นประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง เนื้อหา และประเด็นของการนำเสนอกว่าหรือแคบมากเพียงใด  เหตุที่จะตอ้งมีเพราะเราจะใช้กรอบนี้เป็นตัวกำหนดทิศทางในการทำงานเพื่อไม่ให้หลงประเด็น และเห็นความคิดของผู้ทำว่าทำอะไร เครื่องมือคืออะไร แล้วจะได้อะไร กับสิ่งใด
  • ส่วน Research Process เป็น กระบวนการในการทำวิจัย เพื่อต้องการจะชี้ให้ผู้อ่านหรือผู้ศึกษาได้เห็นว่า เรามีกระบวนการและขั้นตอนในการทำงานอย่างไร แต่ละขั้นตอนจะได้อะไร เริ่มต้นจากอะไร และจะไปสิ้นสุดที่ไหน ครับ
  • ไม่ทราบว่าจะตรงกับสิ่งที่ท่านต้องการไหม
  • เมตตา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท