โครงการพัฒนาทักษะการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินของยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map)


เริ่มต้นการทำงาน ด้วยการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์

ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้ สำนักงาน ดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ตามมาตรา18(9)และมาตรา 47

โดยได้เริ่มเนินงานในปี 2549 มี อบต.และเทศบาลจำนวน 3,940 พื้นที่จากทุกจังหวัดจัดทำข้อตกลงกับสปสช. เข้าร่วมดำเนินงานและได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพทุกพื้นที่ตามหลักเกณฑ์ ได้โอนงบส่งเสริมสุขภาพในชุมชนเข้าในบัญชีกองทุนฯ ทุกพื้นที่ และองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลนำร่องทั้ง 888 แห่งได้โอนเงินสมทบในสัดส่วนตามหลักเกณฑ์เข้ากองทุนฯด้วยแล้ว

รวมทั้งได้จัดทำระเบียบการดำเนินงานและแผน/กิจกรรมโครงการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม 4 ลักษณะคือกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมโรค และการฟื้นฟูสภาพ ทั้งนี้เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยใช้แผนที่ทางเดินของยุทธศาสตร์ (strategic Route Map)เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้เกิดการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม
เพื่อเป็นการาพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

เทศบาลตำบลวิชิต ได้เริ่ม เข้าร่วมในโครงการดังกล่าว ตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2550 โดยได้มีการศึกษา และพัฒนา รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนอย่างต่อเนื่อง และก็ต้องยอมรับว่า เมื่อ เป็นเรื่องใหม่ ก็ต้องศึกษาและทำความเข้าใจกันหลายส่วน ทั้งในส่วนของผู้ที่ดำเนินการเป็นคณะกรรมการบริหารเอง ผู้ที่รับผิดชอบงาน หรือแม้กระทั่งองค์กรและหน่วยงานอื่นๆที่จะเข้ามาขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน จึงได้มีการดำเนินการจัดให้มีเวที เพื่อที่จะทำความเข้าใจร่วม และหาแนวทาง รวมทำกำหนด ทิศทางการก้าวเดินของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือตำบลวิชิต

โดยมีนายกรีฑา แซ่ตัน นายกเทศมนตรีตำบลวิชิต เป็นประธานในการประชุม วิทยากรหลัก จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต วิทยากรประจำกลุ่ม จากสถานีอนามัยแหลมชั่น และสถานีอนามัยตำบลวิชิต การดำเนินงานครั้งนี้ มีระยะเวลา ทั้งสิ้น 2 วัน ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2552 ( กำหนดการประชุม )

 

ท้ายที่สุดเป้าหมายของการดำเนินการครั้งนี้ คือการได้ใช้แผนที่ทางเดินของยุทธศาสตร์(Strategic Route Map) เป็นเครื่องมือบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น และกองทุนสามารถดำเนินโครงการด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 317827เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีจ๊ะ น้องอรุฎา มาทำความรู้จัก

หน่วยงานพี่ก็ต้องทำแผนที่ยุทธศาสตร์ค่ะ และไปชักชวนให้ท้องถิ่นทั้งเทศบาลและ อบต.ทำในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ท้องถิ่นนำเงินกองทุนตำบลมาใช้กับเรื่องเหล่านี้บ้าง ปี 52 ได้ทำโครงการร่วมกับท้องถิ่น โดยเลือกพื้นที่นำร่องก่อน

ขอบคุณครับ, เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ไหนยังไม่ได้ทำก็ลองอ่านบันทึกนี้ดูเป็นแนวทางนะครับ

  • สวัสดีคะคุณพี่ nana งาน พสว.ศอ.8 จริงๆแล้วงานและงบของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และ ต้องศึกษารูปแบบการทำงานที่หลากหลาย บางเรื่องก็เป็นเรื่องใหม่ที่น่าทดลอง ลองผิดลองถูก เรียนรู้กันไป
  • อำนวย สุดสวาสดิ์  ขอบคุณมากนะคะ ที่เข้ามาทักทายเสมอ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท