Primary Health Care Mobile Doctor (2)


โครงการหมออนามัยเคลื่อนที่ Primary Health Care Mobile Doctor เป็นเพียงแค่เครื่องมือในการพัฒนาเพื่อ เพิ่มศักยภาพและขยายบริการปฐมภูมิให้เข้าถึงชุมชน

  

หมออนามัยเคลื่อนที่ (Mobile Doctor) ครั้งที่ 2

1.   ระยะเวลา  วันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา 09.00-12.00 น.

2.   สถานที่  ณ  ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 6 ตำบลชุมพล

3.   ผู้ปฏิบัติงาน  (บุคลกร)

      แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว                 1            คน

      พยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป                    1           คน

      นักวิชาการสาธารณสุข                       1           คน

      ทีมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)        6           คน

      นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 รายวิชา Family Medicine          3          คน

4.   ผลการปฏิบัติงาน    มีผู้มารับบริการทั้งหมด 34 คน โดยแยกตามรายโรคได้ดังนี้

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง   จำนวน   15   ราย

  1. โรคเบาหวาน จำนวน                   7            ราย
  2. โรคความดันโลหิตสูง                 11            ราย
  3. ไขมันในเลือด                          10            ราย
  4. ทั้งเบาหวานและความดัน             5             ราย
  5. เบาหวานและไขมัน                    6             ราย
  6. ความดันและไขมัน                     8             ราย
  7. เบาหวาน ความดัน และไขมัน       4             ราย

 

ผู้ป่วยโรคทั่วไป    จำนวน   19    ราย

  1. โรคทั่วไป                      18            ราย
  2. ไข้เลือดออก                  1              ราย

                               

5.     เยี่ยมบ้าน 

ได้รับการเยี่ยมบ้าน                 2              ราย

นัดเยี่ยมบ้านเพิ่ม                    2              ราย

6.     ตามประวัติจากศูนย์การแพทย์ ฯ                2              ราย

7.     ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab)               0             ราย

8.     ได้รับการส่งต่อ                                        1              ราย

         ผู้ป่วยฉุกเฉิน                                          0              ราย

9.      ผลการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ 

ความพึงพอใจโดยเฉลี่ย    88.75 %    (เป้าหมาย > 80 % )     

รูปภาพการออกหน่วยอนามัยเคลื่อนที่ หมู่ 6 ตำบลชุมพล

ทีมหน่วย IT ศูนย์การแพทย์ ฯ กำลังวางแผนเพื่อเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลผู้ป่วย ประวัติการรักษา การใช้ยา ระหว่างหมู่บ้าน สถานีอนามัย และศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ ผ่านระบบ Telemedicine

นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 ร่วมออกตรวจ Mobile Doctor ในการเรียนการสอนเวชศาสตร์ครอบครัว

 

พยาบาลเวชปฏิบัติ ส่งเสริมสุขภาพขณะรอตรวจกับแพทย์

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 กับการมีส่วนร่วมส่งเสริมสุขภาพด้าน Smoking Cessation

จากการดำเนินการโครงการหมออนามัยเคลื่อนที่ (Mobile Doctor) ซึ่งได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเขตตำบลชุมพล ส่งผลทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมารับบริการตามนัด และผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลจากสถานบริการ ผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้ารับบริการได้อย่างสะดวกมากขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามดูแลผู้ป่วยและประชาชนในชุมชนได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น

นอกจากนี้ยังได้ก่อให้เกิดภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนของหลายภาคีเครือข่ายเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ อบต. ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน  อสม. โรงเรียน เป็นต้น ได้เข้ามามีส่วนร่วมและตื่นตัวกับการดำเนินโครงการอย่างมาก มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของสถานที่ และการอำนวยความสะดวกต่างๆแก่เจ้าหน้าที่ ถือเป็นการแสดงความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายในการที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ซึ่งจะส่งผลในการพัฒนารูปแบบบริการปฐมภูมิที่จะทำให้ประชาชนได้รับการเข้าถึงบริการหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึง และยั่งยืนต่อไปได้

                การดำเนินงานครั้งนี้นอกจากจะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการแล้ว ยังส่งผลให้เจ้าหน้าที่และประชาชนได้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้เจ้าหน้าที่ได้เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมตามบริบทของชุมชน ทำให้มีความเข้าใจและมีกำลังใจที่จะทำงานเพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนพ้นทุกข์จากความเจ็บป่วยมากขึ้นด้วย และจากการได้ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ทำให้ได้มองเห็นสภาพชีวิตและความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย แต่ในมุมกลับกันก็ยังได้เห็นภาพที่สวยงามและน่าประทับใจของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวอย่างดี และที่สำคัญทำให้เจ้าหน้าที่มีความเห็นอกเห็นใจกันในการทำงานมากขึ้น ส่งผลดีต่อการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาบุคลากรด้านการบริการปฐมภูมิต่อไป

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน/การใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย/การพัฒนาระบบงาน

 

  1. ประชาชนสามารถเข้าถึงการให้บริการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากบุคลากร  โดยการดูแลแต่แรกทุกเรื่อง ต่อเนื่อง เบ็ดเสร็จ ผสมผสาน บริการเข้าถึงสะดวก รวมถึงระบบการให้คำปรึกษา และระบบส่งต่อ
  2. สร้างทัศนคติและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขกับประชาชน รวมถึงการสร้างภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชน
  3. สามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนระบบบริการปฐมภูมิ เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนแก่นิสิตแพทย์ แพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข รวมทั้งผู้สนใจทั่วไปต่อไป
  4. พัฒนาเป็นต้นแบบและแนวทางในการปรับปรุงการจัดระบบบริการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขด้านระบบบริการปฐมภูมิแก่หน่วยงานอื่นๆ


บทเรียนที่ได้รับและปัจจัยความสำเร็จ

 

  1. โครงการหมออนามัยเคลื่อนที่ Primary Health Care Mobile Doctor เป็นเพียงแค่เครื่องมือในการพัฒนาเพื่อ เพิ่มศักยภาพและขยายบริการปฐมภูมิให้เข้าถึงชุมชนโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างสอดคล้องกับบริบท โดยเป็นเครื่องมือมีประโยชน์เบื้องต้นดังนี้
  • ทำให้เกิดโอกาสการสร้างทำงานเป็นทีมของผู้ให้บริการ
  • เปิดโอกาสการสร้างทำงานเป็นทีมกับภาคีเครือข่ายต่างๆในชุมชน
  • เป็นการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิแบบเชิงรุกเพื่อประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
  • พัฒนาศักยภาพของ อสม. เช่น วัดความดัน เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ของตนเอง และยังเพิ่มความมั่นใจในการดูแลประชาชนในหมู่บ้านของตนเอง โดยมีทีมแพทย์เป็นพี่เลี้ยง
  • เป็นจุดเริ่มต้นในกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการพัฒนาฐานข้อมูลระดับครอบครัวและชุมชน Family & Community Folder จากการเยี่ยมบ้านของภาคีเครือข่ายในชุมชนตามแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัวในช่วงบ่าย

  2. โครงการหมออนามัยเคลื่อนที่ Primary Health Care Mobile Doctor ทำให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงจากประชาชนและชุมชนที่มีหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการรับส่ง-ต่อที่เกี่ยวข้องทำให้มีการพัฒนาจัดระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและสนับสนุนการพัฒนาบริการปฐมภูมิ

  3. ได้มีการพัฒนาฐานข้อมูลระดับตำบล ระบบการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและฟื้นฟูผู้พิการ ระบบรายงานปรึกษาและส่งต่อโดยชุมชน เพื่อชุมชนต่อไปได้

  4. จากโครงการหมออนามัยเคลื่อนที่ Primary Health Care Mobile Doctor จะสามารถพัฒนาเชื่อมโยงข้อมูลกับโครงการศึกษาชุมชนโดยใช้กระบวนการเรียนรูแบบมีสวนรวมเพื่อการวินิจฉัยชุมชน (Participatory Learning Development in. Health: PLD) ต่อไป

  5. นโยบายที่ชัดเจนของคณะกรรมการบริหารเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ ในการพัฒนาการบริการปฐมภูมิออกนอกโรงพยาบาล ซึ่งเป็นระดับตติยภูมิ ทำให้โครงการหมออนามัยเคลื่อนที่ Primary Health Care Mobile Doctor เป็นเครื่องมือที่สำคัญและตอบสนองนโยบายดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

  6. การมีทีมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนโครงการนี้ ทำให้สามารถประสานความร่วมมือทั้งในและนอกโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี ตลอดจนการประสานภาคีเครือข่ายในชุมชนเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมก็สามารถสำเร็จได้โดยง่าย

เอกสารอ้างอิง

  1. ม.ร.ว.ธันยโสภาคย์ เกษมสันต์ “แนะนําเวชศาสตร์ครอบครัว” พ.ศ.2538
  2. นายแพทย์ยงยุทธ  พงษ์สุภาพ “ กรอบแนวคิด หลักการ และแนวทางการจัดการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน (Context Based Learning: CBL) เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ให้บริการปฐมภูมิที่อยู่ในชุมชน ”

โครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข

http://www.rasihosp.com/modules.php?name=NukeBlog&op=fetch_blog&blog_id=7

  3.  พ.ญ.ดาริน จตุรภัทรพร . Sicko ระบบการแพทย์แบบไหน  ใครจะเป็นคน(ได้)เลือก ,มองด้วยใจ ,2552

  4. Rifat A., Henrietta Lang What is good primary care?-What is the evidence that it is “good” ? Developing Primary Care Resource Pack, Jan 1996, M2-4

  5. ข้อมูลอ้างอิงจากการคัดกรองโรคและเยี่ยมบ้านของศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านทำนบ ตำบลชุมพล ปี 2552

 

คำสำคัญ (Tags): #mobile doctor
หมายเลขบันทึก: 317572เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2009 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ กฤษณ์

แวะมาเยี่ยมครับ

ขอบคุณครับ พี่โรจน์ ถ้าแวะมากรุงเทพฯ บอกบ้างนะครับ

กฤษฎิ์

สนใจ เทเลเมดฯครับ เล่าให้ฟังหน่อยดิ

สวัสดีค่ะ

เป้นโครงการที่น่าสนใจและน่าติดตามมากค่ะ

 

P

สวัสดีค่ะเป็นโครงการที่น่าสนใจและน่าติดตามมากค่ะ

ขอบคุณมากครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท