โครงการสนองน้ำพระทัย ห่วงใยสุขภาพประชาชน คัดกรองเบาหวานความดันอายุ35 ปีขึ้นไป


วันที่ 27 พฤศจิกายน ทุกปีเป็นวันสาธารณสุขไทย ความภูมิใจของชาวสาธารณสุขที่ทำงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่กินหวาน ไม่กินของมัน ไม่กินเค็ม และไม่อ้วน เท่านี้ สุขภาพดีจะไปไหนคะ

สรุปการเปิดโครงการสนองน้ำพระทัยในหลวง ห่วงใยสุขภาพประชาชน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2552

ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านน้ำหลง หมู่ 3 กลางเวียง อ.เวียงสา จ.น่าน

                เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคล  ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84  พรรษา  ในวันที่  5  ธันวาคม   พ.ศ.  2554  เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและระลึกในพระมหากรุณาของพระองค์ท่านที่ทรงห่วงใยในสุขภาพของพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี  กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทำ  “โครงการสนองน้ำพระทัยในหลวง ห่วงใยสุขภาพประชาชน ”   ถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา

วัตถุประสงค์ 

                1. เพื่อถวายเป็นราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา    5  ธันวาคม  2552

                2. เพื่อตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชนจังหวัดน่าน และกระตุ้นให้ตระหนักต่อการดูแลสุขภาพของตนเองก่อนเกิดการเจ็บป่วยรุนแรง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข        

3. เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น

                4.  เพื่อสำรวจค้นหาคนพิการหรือผู้สงสัยเป็นคนพิการ โดยคนพิการได้รับขึ้นทะเบียนและมีสิทธิได้รับบริการจากภาครัฐอย่างทั่วถึง

                5. ให้ อาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

 กิจกรรมและกลุ่มเป้าหมาย

                1. ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ได้รับการตรวจสุขภาพเชิงรุก เพื่อคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เพื่อจำแนกประชาชน ออกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข  และทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ตั้งแต่เครือข่ายระดับปฐมภูมิ จนถึง รพช. 

                -  กลุ่มประชากรเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป อำเภอเวียงสา  39019 คน 90 % คือ 35117 คน คัดกรองไปแล้ว 9192 คน ค้าง 29822 คน 

2. ร่วมมือกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทยสำรวจผู้พิการทางกายรายใหม่ทุกกลุ่มอายุที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  สำรวจเบื้องต้น  และส่งรายชื่อให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่านภายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2552  เพื่อตรวจและขึ้นทะเบียนผู้พิการหลังวันที่  5  ธันวาคม 2552 

                3.  คัดเลือกบุคคลต้นแบบ อายุ 82 ปี (ปีที่เกิดปี พ.ศ.2470) ที่แข็งแรงไม่เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและหรือความดันโลหิตสูง แต่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ดี   ร่วมกิจกรรมรณรงค์และเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ  84  พรรษา  ในวันที่   5  ธันวาคม  พ.ศ. 2552โดยให้สถานีอนามัย 26 แห่ง 1 โรงพยาบาลคัดเลือก บุคคลต้นแบบประเภทละ 1 คน ส่งให้ สสอ.เวียงสา ภายในวันที่ 4 ธันวาคม 2552

4. ดำเนินกิจกรรมทุกหมู่บ้าน โดยทีมสุขภาพ ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ ทุกสถานีอนามัย ทั้งนี้ส่งจำนวนการคัดกรอง ทุกวัน ถึงเวลา 12.00 นของวันที่ 2 ธันวาคม 2552

                5. บำเพ็ญประโยชน์ : อสม.หนึ่งล้านดวงใจปลูกต้นไม้สองล้านต้นถวาย โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะสนับสนุนกล้าไม้ให้กับตัวแทนของ อสม. / จนท.สาธารณสุข ในวันที่  27 พฤศจิกายน 2552  เพื่อนำไปปลูกในตำบล คนละ 2 ต้น

                6. วันที่  5  ธันวาคม  พ.ศ. 2552   จัดกิจกรรมโครงการฯ ประกอบด้วย จัดนิทรรศการโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ,  จัดหน่วยบริการตรวจคัดกรอง ความดัน – เบาหวาน และมอบรางวัลแก่ผู้สูงอายุดีเด่นระดับตำบล 17 ตำบล  ตำบล จำนวน 27  แห่ง จัด ณ ท่าน้ำบ้านบุญยืน เวลา 13.00 น เป็นต้นไป มีกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการ รวมพลคนเฒ่า ม่วนอก ม่วนใจ๋ ในการสร้างสุขภาพอำเภอเวียงสา มีกิจกรรมของแกนนำ อสม ไร้พุง ชมรมผู้ประกอบการค้าอาหารไร้พุง การแสดงและแสดงสินค้าของผู้สูงอายุจาก 17 ตำบล

 กิจกรรมวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 

- นายสุทัศน์ จิตรประเวศน์สาตร์ ปลัดอวุโส รักษาราชการแทนนายอำเภอเป็นประธานโครงการ

- นายเกตุ สมบัติแก้ว สาธารณสุขอำเภอเวียงสา กล่าวรายงาน

- นายบุญเสริญ ไชยชนะ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเวียงสา ให้กำลังใจปับประชาชนที่มารับบริการคัดกรองสุขภาพ

 -นายสมเกียรติ จันต๊ะ กำนันตำบลกลางเวียง เป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ขอบคุณคณะทำงาน หน่วยงาน องค์กร ที่เกี่ยวข้องที่ให้บริการสุขภาพการคัดกรองเบาหวานและความดัน

-นายแพทย์สุรเดช บุญยเวทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวียงสา อธิบายเรื่อง สุขภาพดี ต้อง 3 ต้อง 6 ไม่  สุขภาพดี ไม่ต้องซื้อหา ร่วมพากัน สร้างด้วยตัวเอง

- แกนนำ ตัวแทนผู้มารับบริการถ่ายภาพร่วมกัน เพื่อเป็นพลังในการสร้างสุขภาพที่ดีต่อไป  

1. ประธานเปิดการดำเนินงาน  โครงการ ปลัดสุทัศน์ จิตรประเวศสาตร์ รักษาราชการแทนนายอำเภอเวียงสา(นายจตุพร ชนะศรี)

2. กล่าวรายงาน นายเกตุ สมบัติแก้ว สาธารณสุขอำเภอเวียงสา  คณะทำงานNCDระดับอำเภอจากสถานีอนามัยและโรงพยาบาลเวียงสา          แกนนำ อสม

3. คณะทำงานหลัก  ในส่วนของสถานีอนามัย

3.1      นางภิญยา ไปมูลเปี่ยม  

3.2      นางดวงดาว คำบาง  

3.3      นางกนกรัตน์ แปงกันทา

3.4      นางเพ็ญศรี นุยศ

3.5      นางหอมหวล  ปัญญานะ

3.6      นางอารีรักษ์ ไชยธรรม

3.7      นางพรรณดวง คงคำเปา

3.8      นางจงรักษ์ ชุ่มเย็น

3.9      นางหัตถาภรณ์ คำนามะ

3.10     นางสุภาพร ปัญญาอินทร์

ในส่วนของโรงพยาบาลเวียงสา

3.11                       นายชำนาญ พิเคราะห์

3.12                       นางวิภาดา อินทนนท์

3.13                       นางดวงเดือน  เทศใต้

3.14                       นางสมจิตร วงศ์วิเศษ

3.15                       นายทวัชชัย  ใจจะดี

3.16                       นางจารุ ชนะภัย

3.17                       นางจุรีรัตน์ พิมสาร

3.18                       นางสะอาด สังขะตะอำพน

3.19                       นายอาทิตย์ ดีนาน

3.20                       นายชัยวรรณ สิทธิยศ

3.21                       นักศึกษาการสาธารณสุขจากวิทยาลัยอุตรดิตถ์ จำนวน 2 คน

4. ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม/โครงการ

ยุทธสาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมสุขภาพและปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง

เป้าประสงค์.2 ประชากรเป้าหมายได้รับการส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง 

เกิดบุคคลครอบครัวต้นแบบด้านสุขภาพ 

 4.2.1 มีบุคคลต้นแบบเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ10ของปีที่ผ่านมา

4.2.2.ร้อยละของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ที่ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

4.2.3ร้อยละของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ที่ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีผลความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์

3. งบประมาณ / แหล่งงบประมาณ ในการดำเนินโครงการ    เบิกค่าใช้จ่าย จาก งบ PP

4.เอกสารและอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม

    4.1 แบบคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต

     4.2 เครื่องวัดความดันโลหิต

    4.3 หูฟัง

  4.4 เครื่องชั่งน้ำหนัก

4.5 เครื่องตรวจหาน้ำตาลในเลือดและอุปกรณ์

4.6 สายวัดรอบเอว

4.7 ที่วัดส่วนสูง

4.8  ขั้นตอนและวิธีการรายงาน

5.กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งหมด   283 คน

5.1กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 18  คน

5.2กลุ่มแกนนำ อสม  30  คน

5.3       กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 คน

5.4      กลุ่มแกนนำกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  22  คน

5.5 ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปและรวมข้อ 9.2 ,9.4,          250  คน

6 .รูปแบบการจัดเป็น

     - ให้ความรู้และชี้แจงการดำเนินการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต ฯ และ

-การวัดความดันโลหิตตามมาตรฐาน การคัดกรองเบาหวานด้วยวาจาและเจาะหาน้ำตาลในเลือด การให้คำแนะนำเบื้องต้น

-การวัดรอบเอว วัดส่วนสูง และชั่งน้ำหนัก หาค่าBMI

     - การให้คำปรึกษา ให้ความรู้ ในการดูแลตนเองของ ผู้มารับบริการ

7                 Before Action Review : BAR

-กิจกรรม กำหนดให้ทุกสถานบริการทำการคัดกรองประชากรอายุ35ปีขึ้นไปในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2552 ให้ได้ 90% ของเป้าหมายในพื้นที่

-กำหนดให้ค้นหาบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพอายุ 82 ปี(เกิด ปี พ.ศ.2470) ตำบลละ 1 ประเภท สุขภาพดี และ ผู้เป็นโรคเบาหวานหรือความดันที่ดูแลสุขภาพได้ดี

คุณสมบัติ :

ประเภท เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อัมพฤกษ์

อัมพาต เป็นต้น

ประเภท เป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรืออัมพฤกษ์อัมพาต แต่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพ ควบคุมโรคและปัจจัยเสี่ยงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และสามารถดำเนินชีวิตเช่นคนปกติที่อยู่ในวัยเดียวกัน และไม่เป็นภาระครอบครัวและสังคม

สรุปโดยย่อ

1.เป็นโครงการเร่งด่วน ที่ต้องใช้การทำงานเป็นทีม การประสานงาน การใช้บทบาทหน้าที่ รวมถึงวิธีการสื่อสาร ขั้นตอนการเชื่อมโยงระหว่างการปฎิบัติและการรายงาน

2.วิธีการกสร้างกระแสการตื่นตัวให้กับประชาชนเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง ให้เห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาสนใจเรื่อง อาหาร การออกกำลังกาย ลดความเครียด ลดภาวะเสี่ยงจากสิ่งที่ก่อให้เกิดภัยเงียบ ต่างๆ

3.การคืนข้อมูลให้ผู้รับบริการและชุมชน เป็นที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นพลังขับเคลื่อนร่วมใจกันสร้างสุขภาพ

4.เป็นการทำงานเชิงรุกเป็นภาคีเครือข่าย  การมีส่วนร่วม ของประชาชน พหุภาคี รัฐ องค์กร สมัชชา ประชาคม

5.ได้รูปแบบการคัดกรองที่ชัดเจน และมีCPG  ในการดำเนินกิจกรรม

หลักการคัดกรองเบาหวาน

1. ใช้แบบสัมภาษณ์การคัดกรองเบาหวานด้วยวาจา เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งในข้อต่อไปนี้

  • • มีประวัติพ่อ แม่ ญาติพี่น้องสายตรงเป็นเบาหวาน
  • • รอบเอวเกิน ในชาย > 90 ซม. หญิง > 80 ซม. หรือ มีภาวะอ้วน ดัชนีมวลกาย > 25 กก./ม2
  • • ความดันโลหิต > 140/90 มม.ปรอท หรือ เคยมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • • มีประวัติน้ำตาลในเลือดสูง
  • • มีประวัติมีภาวะไขมันในเลือดสูง
  • • ผู้หญิงที่เคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ มีบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดเกิน 4 กิโลกรัม

2. ถ้าคัดกรองแล้วพบว่ามีปัจจัยเสี่ยง ตั้งแต่หนึ่งข้อขึ้นไป ให้ส่งตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยวิธี

เจาะปลายนิ้ว (Capillary Blood Glucose )โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทั้งนี้ผู้รับการตรวจต้องอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด

หลักการคัดกรองความดันโลหิต

การเตรียมตัวเพื่อวัดความดันโลหิต

1. ควรหยุดกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก 1 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจวัดความดันโลหิต เช่น ออกกำลังกายหรือทำงานหนักมาก เป็นต้น

2. ไม่ดื่มสุรา ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน หรือสูบบุหรี่ก่อนวัดความดันโลหิต อย่างน้อย 30 นาที

3. ควรสวมเสื้อแขนสั้น หรือสวมเสื้อหลวมๆ สบายๆ สามารถพับแขนเสื้อขึ้นไปเหนือข้อศอกและ

ต้นแขน เพื่อความสะดวกในการวัด

4. ควรปัสสาวะก่อนวัดความดันโลหิต

5. ก่อนวัดความดันโลหิต ควรนั่งพักอย่างน้อย 5 นาที โดยนั่งหลังพิงพนักเก้าอี้และเท้าทั้งสองวางราบกับพื้น วางพักแขนบนโต๊ะที่ระดับหัวใ

ขณะวัดความดันโลหิต

1. ต้องไม่พูดคุยกัน

2. วัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 3 – 5 นาที

3. แจ้งค่าและอธิบายความหมายระดับความดันโลหิตที่วัดได้ แก่ผู้ที่ได้รับการคัดกรอง

4. แนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับระดับความดันโลหิต

หมายเหตุ

เครื่องมือวัดความดันโลหิตที่มีมาตรฐานเพื่อการคัดกรอง ได้แก่

1. เครื่องมือวัดความดันโลหิตชนิดปรอท ที่มีการสอบเทียบค่าเป็นระยะ

2. เครื่องมือวัดดิจิทอลชนิด cuff พันรอบแขน ที่มีขนาดเหมาะสมกับผู้ถูกคัดกรองและเทียบ

ค่ากับเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท ที่มีการสอบเทียบค่าเป็นระยะ

การรายงานผลการดำเนินงาน

1. รวบรวมแบบคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปรายบุคคล จาก อสม./เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและดำเนินการกรอกข้อมูลในส่วนที่ 2

2. สรุปผลจากข้อ 1 และบันทึกข้อมูลลงในแบบรายงานสรุปผลการคัดกรอง ฯ กรอกข้อมูลลงใน

ของประชาชน

  รูปภาพกิจกรรม                  

                                                              

  ผู้สรุปกิจกรรม ภิญยา ไปมูลเปี่ยม  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

เลขานุการโครงการสนองน้ำพระทัยในหลวง ห่วงใยสุขภาพประชาชน

อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน        

หมายเหตุ มีหลายๆคนบอกว่า วันที่ 27 พฤศจิกายน เป็นวันสาธารณสุข ทำไมพวกเราจึงไม่ได้เหมือนวันครู วันตำรวจ ที่รวมพลังมาทำกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเรา

หยุดให้เรา 1 วัน เหมือนคุณครู วันนี้อย่าออกไปไหน เพราะยกให้ครู 1 วัน ตำรวจ 1 วัน

          เออน่าคิดเน๊าะ แต่เราทำเพื่อประชาชนก็ดีแล้ว แต่กระทรวงน่าจะมีอะไรเป็นกำลังใจให้พวกเราบ้างในวันนี้ ทำงานในชุมชนลำบากเหลือหลาย ทำตามตัวชี้วัดKPI ยุทธศาสตร์ KM อะไรต่อมิอะไร เพื่อการปรับเปลี่ยนวิธีทำงานเชิงรุกที่ดี เอาใจช่วยตัวเองและเพื่อนๆที่มีใจเข้ามาสายอาชีพสุขภาพค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 317266เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาเยี่ยมคนเมืองน่านครับ

เคยไปเยี่ยมพี่สุภาวดีที่สถานีอนามัยอะไรสักอย่างก่อนถึงเวียงสาครับ (จาก จ.แพร่)

  • ขอบคุณ หนานเกียรติ ที่เข้ามาเยือนและอ่าน แลกเปลี่ยน
  • เป็นการสรุปกิจกรรมเพื่อเป็นหลักฐานการทำงานระบบแท่งค่ะ
  • ทำงานอะไรให้บันทึกและถ่ายภาพ
  • เห็นภาพท่านสสอ.และผอ.เวียงสาแล้ว อย่างนี้เค้าเรียกว่าถึงเวลาคุณหมอโดนเจาะเลือดบ้างแล้ว
  • ยังไงก็รีบทำให้ทะลุเป้านะครับ เอาใจช่วย

เห็นหน้าตาทีมงาน ทุกคนคงมีความสุขกับการทำงาน

เป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ

เยี่ยมมากครับ หากบุคลากรสาธารณสุขทำงานแล้วเผยแพร่ผ่านเวปแบบนี้

ให้กำลังใจชาวสาสุขน่าน ทุกคน ได้พัฒนางานอย่างต่อเนื่องครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท