ธรรมะ คือ....อา..ไร..ครับ


ธรรมะ คือ....อา..ไร..ครับ

(1) ตัวของธรรมะ คือ “ความเป็นหนึ่ง” ไม่มีด้านตรงข้าม แต่ตัวของธรรมชาติ คือ “สิ่งตรงข้ามซึ่งประกอบกันเป็นหนึ่ง”



(2) กฎของธรรมะ คือ “การดำรงอยู่ได้เอง” ตลอดกาล แต่กฎของธรรมชาติ คือ “การอาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับไป”



(3) หน้าที่ของธรรมะคือ “การปกครอง” เหนือกฎเกณฑ์ต่าง ๆแต่หน้าที่ของธรรมชาติ คือ “การปฏิบัติ” ภายใต้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ



(4) ผลของธรรมะ คือ “เหตุแห่งการให้” เพื่อสนองตอบการปกครอง แต่ผลของธรรมชาติ คือ “ผลแห่งการรับ” เมื่อปฏิบัติตามนั้น
เพราะฉะนั้น “ธรรมะ” กับ “ธรรมชาติ” จึงแตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำมาทดแทนกันได้เลย



ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “คำว่า “ธรรมะ” ในภาษาบาลีก็ตาม ในภาษาสันสกฤตก็ตาม เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุดคือ หมายถึงสิ่งทุกสิ่งทั้งที่มนุษย์รู้จักและยังไม่รู้จัก คำ ๆ นี้เป็นคำพูดคำเดียวที่ประหลาดที่สุดในโลกจนไม่อาจจะแปลเป็นภาษาอื่นได้นอกจากภาษาที่ทำให้กำเนิดแก่คำ ๆ นี้....โดยคำจำกัดความของ “ธรรมะ” นั้น จะครอบคลุมถึง 4 ประการ คือ
(1) ตัวธรรมชาติ
(2) ตัวกฎของธรรมชาติ
(3) ตัวหน้าที่ที่มนุษย์จะต้องกระทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติ
(4) ตัวผลต่าง ๆ อันเกิดขึ้นจากการกระทำหน้าที่นั้น ๆ นั่นเอง
แต่เมื่อผู้เขียนค้นหากลับพบว่า “ธมฺม” (บาลี) และ “ธรฺม” (สันสกฤต) ที่แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หรือ “สิ่งซึ่งดำรงอยู่” จะไปคล้องจองกับคำว่า “Y-H-W-H” (ฮีบรู) ที่แปลว่า “ผู้ทรงดำรงอยู่” โดยคำจำกัดความ “ธรรมะ” จะครอบคลุมถึงสภาวธรรม 4 ประการ ได้แก่
(1) ตัวของธรรมะ คือ “ความเป็นหนึ่ง” ไม่มีด้านตรงข้าม แต่ตัวของธรรมชาติ คือ “สิ่งตรงข้ามซึ่งประกอบกันเป็นหนึ่ง”
(2) กฎของธรรมะ คือ “การดำรงอยู่ได้เอง” ตลอดกาล แต่กฎของธรรมชาติ คือ “การอาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับไป”
(3) หน้าที่ของธรรมะคือ “การปกครอง” เหนือกฎเกณฑ์ต่าง ๆแต่หน้าที่ของธรรมชาติ คือ “การปฏิบัติ” ภายใต้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ
(4) ผลของธรรมะ คือ “เหตุแห่งการให้” เพื่อสนองตอบการปกครอง แต่ผลของธรรมชาติ คือ “ผลแห่งการรับ” เมื่อปฏิบัติตามนั้น
เพราะฉะนั้น “ธรรมะ” กับ “ธรรมชาติ” จึงแตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำมาทดแทนกันได้เลย



เรื่องที่ 3 แด่ธรรมะซึ่งไม่มีชื่อ
(หลักในการตีความหมายของ “ธรรมะ” ที่ถูกต้อง)

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ทางฟิสิกส์และทางเคมี เขาต้องรู้คุณสมบัติของสารด้วยว่า อะไรผสมกับอะไรได้ อะไรผสมกับอะไรไม่ได้
ความรู้ทางไสยศาสตร์ เช่น การเล่นแร่แปรธาตุ เขาต้องรู้ว่าเมื่อนำสิ่งนี้ไปผสมกับสิ่งนั้นแล้วจะเป็นอะไร อะไรผสมกับอะไรไม่ได้
ความรู้ทางธรรมะ เช่น การเล่นแง่แปลธรรม ก็เหมือนกัน หากถอดความของ “ธรรมะ” ผิดไปจุด ๆ หนึ่ง ก็จะคลาดเคลื่อนไปเป็นพัน ๆ ข้อ สังคมจะเสื่อมสลาย ผู้คนจะเลวทราม และสถานการณ์คับขันจะอุบัติขึ้นในชั่วพริบตา เพราะฉะนั้น การถอดความของ “ธรรมะ” จะต้องรู้ถึง “ข้อยกเว้น” ของธรรมะทั้ง 4 ประการ ได้แก่
(1) เมื่อเรานำคำว่า “ธรรมะ” ไปผสมกับคำอื่น ๆ “แล้วมีด้านตรงข้าม” เช่น กุศลธรรม-อกุศลธรรม, ปรมัตถธรรม-สมมติธรรม, อนุตรธรรม-ธรรมชาติ ฯลฯ คำเหล่านี้จึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง เพราะ “ธรรมะ” นั้น “สูงสุด” จึงไม่มีด้านตรงข้าม
(2) เมื่อเรานำคำว่า “ธรรมะ” ไปผสมกับคำอื่น ๆ “แล้วมีการแบ่งแยกได้” เช่น กุศลธรรม-อกุศลธรรม-อัพยากฤตธรรม, โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม ฯลฯ คำเหล่านี้จึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง เพราะ “ธรรมะ” เป็น “หนึ่ง” จึงไม่มีการแบ่งแยก
(3) เมื่อนำ “ธรรมะ” ไปผสมกับคำอื่น ๆ “แล้วมีความหมายไปในทางชั่ว” เช่น ธรรมะฝ่ายดี-ธรรมะฝ่ายชั่ว-ธรรมะฝ่ายไม่ดีไม่ชั่ว คำเหล่านี้จึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง เพราะ “ธรรมะ” นั้น “สมบูรณ์แบบ” จึงอยู่เหนือกรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว, อยู่เหนือกรรมสุข-กรรมทุกข์-กรรมที่ไม่สุขไม่ทุกข์, อยู่เหนือกรรมเกิด-กรรมดับ-กรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ ฯลฯ เราจึงไม่อาจนำเอา “ธรรมะ” นั้นไปเปรียบเทียบกับคำอื่น ๆ ได้นอกจากตัวของธรรมะนั้นเอง เช่น ธรรม-อธรรม-ธรรมาธรรม, ธัมมะธัมโม ฯลฯ
(4) เมื่อนำเอา “ธรรมะ” ไปใช้ต้องดูที่ “บริบท” ด้วย เพราะ “ธรรมะ” นั้นสูงสุดเป็นหนึ่ง และสมบูรณ์แบบ จึงไม่ควรเติมคำว่า กุศล, ดี, ปรมัตถ์, อนุตร ฯลฯ ไว้ด้านหน้าหรือด้านหลัง “ธรรมะ” หากเติมคำเหล่านี้ลงไป ก็จะเกิดคำตรงข้าม และภายหลังใครก็ตามที่นำเอาคำเหล่านั้นไปใช้โดยไม่ได้พิจารณาที่ “บริบท” ก็จะเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าคำตรงข้ามเหล่านั้นก็เป็นธรรมะด้วย เช่น

เราไม่เรียก “ธรรมะ” ว่า “โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม” เพราะ “ธรรมะ” เป็นสภาวะสูงสุด เป็นหนึ่ง และสมบูรณ์แบบ จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แต่จะเรียกสิ่งอื่น ๆ ที่พึ่งอาศัย “ธรรมะ” ต่างหากว่าเป็น “โลกธรรม-โลกุตรธรรม-อมตะธรรม” โดยสิ่งนั้น ๆ จะถูกเรียกชื่อแตกต่างกันไปตาม “พฤติธรรม” ของ “ธรรมะ” ในขณะนั้น โดยจะครอบคลุม “สภาวธรรม” ทั้ง 3 ประการ เช่น
(1) ถ้า “ธรรมะ” ดำรงอยู่ “ใน” ธรรมชาติ เราจะเรียก “สภาวธรรม” นั้นว่า “โลกธรรม” หรือ “อันตรธรรม” (Immanence Dharma)
(2) ถ้า “ธรรมะ” ดำรงอยู่ “เหนือ” ธรรมชาติ เราจะเรียก “สภาวธรรม” นั้นว่า “โลกุตรธรรม” หรือ “อุตรธรรม” (Transcendence Dharma)
(3) ถ้า “ธรรมะ” ยังคงดำรงอยู่กับธรรมชาตินั้นตลอดไป แม้ว่าธรรมชาติอื่น ๆ จะแตกดับไปแล้ว เราจะเรียก “สภาวธรรม” นั้นว่า “อมตะธรรม” (Immortal Dharma)

เราไม่เรียก “ธรรมะ” ว่า “กุศลธรรม-อกุศลธรรม-อัพยากฤตธรรม” เพราะทั้ง 3 มิตินั้นไม่ใช่ “ธรรมะ” ที่แท้จริง แต่เป็นเพียง “ช่องทาง” ในการเข้าถึง “ธรรมะ” เท่านั้น เพื่อชี้ให้เห็นว่าเราสามารถเข้าถึง “ธรรมะ” ได้ 3 ช่องทาง คือ
(1) กุศลธรรม เล็งถึง การทำความดี
แต่กุศลกรรม เล็งถึง การทำกรรมดี
(2) อกุศลธรรม เล็งถึง การหยุดทำความชั่ว
แต่อกุศลกรรม เล็งถึง การทำกรรมชั่ว
(3) อัพยากฤตธรรม เล็งถึง ปฏิสัมพันธ์ของการทำความดีและหยุดทำความชั่ว
แต่อัพยากฤตกรรม เล็งถึง ปฏิสัมพันธ์ของการทำกรรมดีและการทำกรรมชั่ว
ดังนั้น การสรุปว่า “กุศลธรรม-อกุศลธรรม-อัพยากฤตธรรม” ที่หมายถึงความดีก็เป็นธรรมะ-ความชั่วก็เป็นธรรมะ-ความไม่มีดีไม่มีชั่วก็เป็นธรรมะทั้งนั้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น จึงเป็นทัศนะที่ผิดพลาด เพราะพวกเขาแบ่ง “ธรรมะ” ออกเป็น 3 หมวด ไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่อาจลดทอนลงมาเป็นสิ่งเดียวกันได้ อยู่ตรงข้ามกัน ไม่ขึ้นแก่กัน แต่สัมพันธ์กันได้
โครงสร้างพื้นฐานของ “ธรรมะ” ทั้ง 3 ด้าน

“ธรรมะ” หมายถึง สภาวะสูงสุด เป็นหนึ่ง และสมบูรณ์แบบ เราจึงไม่อาจนำเอา “ธรรมะ” ไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นได้นอกจากตัวของ “ธรรมะ” เอง ในอดีตนั้น การเปรียบเทียบจึงมักจะปรากฏในรูปแบบ 3 มิติ คือ “ธรรมะ-อธรรม-ธรรมาธรรม” เช่น
(1) มิติของ “ธรรมะ” คือ “สภาวะสูงสุด” ไม่มีด้านตรงข้าม โดยจะมุ่งเน้นไปที่คุณงามความดี (เท่านั้น) ที่มนุษย์ต้องกระทำ
(2) มิติของ “อธรรม” คือ “สภาวะเป็นหนึ่ง” ไม่มีการแบ่งแยก โดยจะมุ่งเน้นไปที่ความชั่ว (เท่านั้น) ที่มนุษย์ต้องละเว้น ไม่ควรกระทำ
(3) มิติของ “ธรรมาธรรม” คือ “สภาวะสมบูรณ์แบบ” โดยจะมุ่งเน้นดำรงตนให้อยู่เหนือทุกสิ่ง หากธรรมะใดอยู่ใต้กรรมดี-กรรมชั่ว, อยู่ใต้กรรมสุข-กรรมทุกข์, อยู่ใต้กรรมเกิด-กรรมตายของสรรพสิ่งทั้งปวง สิ่งนั้นจึงไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง
โดยทั้ง 3 มิตินั้น เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งหมด เพื่อยืนยันว่า “ธรรมะ” นั้นเป็นหนึ่ง ไม่แบ่งแยก สิ่งใดแบ่งแยกได้ สิ่งนั้นไม่ใช่ธรรมะที่ถาวร แท้จริง

คำสำคัญ (Tags): #ร้อยเอ็ด7
หมายเลขบันทึก: 316416เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009 00:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท