• นี่คือเครื่องมือ KM อย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้การทำงานเป็นการเรียนรู้ ที่เป็นการเรียนรู้แบบเนียนอยู่ในเนื้องาน
• งานที่เสร็จเป็นชิ้นๆ มักเป็นงานแบบ โครงการ (project) ที่ทำโดยทีมงาน (taskforce) ทีมงานที่สมาชิกมาจากหลายหน่วยงาน หลายประสบการณ์ หลายวิชาชีพหรือพื้นฐานการศึกษา เป็นโอกาสของการ “หมุนเกลียวความรู้ข้ามพรมแดน” เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีพลังมาก
• เทคนิค KM โดยการทบทวนหลังเสร็จงาน (Retrospect) ทำอย่างไร ดูได้จากหนังสือ “การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ” หน้า 166 - 167
• ที่จริง Retrospect ก็คล้ายๆ AAR แต่เป็นพิธี มีขั้นตอน ชัดเจนกว่า และความแตกต่างที่สำคัญ คือ AAR ทำกันในกลุ่มที่ทำงานนั้นมาด้วยกัน แต่ Retrospect จะเชิญคนที่เดาว่าในอนาคตจะทำงานแบบนั้นมาร่วม ลปรร. ด้วย
วิจารณ์ พานิช
๒๕ พค. ๔๙
ไม่มีความเห็น