ผู้ป่วยระยะสุดท้าย


หน้าที่สุดท้าย
  • ส่วนใหญ่ ญาติที่มาเยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้าย ยิ่งถ้าผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ซึมลง ไม่สามารถสื่อสารได้ ญาติก็ได้แต่ยืนดู

  • ที่จริงแล้ว ญาติยังสามารถคุยให้ผู้ป่วยฟังได้ คุยในเรื่องดีงาม บุญกุศลที่ผู้ป่วยเคยทำมา เพื่อเหนี่ยวนำจิตสุดท้ายให้เป็นกุศล  ไปสู่แดนที่สงบ

  • อันเป็นหน้าที่สุดท้ายของลูกหลานที่คอยส่งให้ดวงจิตนั้นๆ เกิดในภพภูมิที่ดี

  • ท่านที่รู้ธรรมเนียม พาลูกหลานเตรียมขันธ์ 5 ดอกไม้ธูปเทียนมาขออโหสิกรรมกับผู้ป่วย

  • เคยได้ยินพระกล่าวว่า จิตก็เหมือนซิม ที่เปลี่ยนเครี่องแล้วเครื่องเล่า แต่จิตก็ยังคงอยู่ ทำให้ญาติเข้าใจได้ง่าย และเห็นว่าความตายไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว

  • อนึ่ง คู่สมรสที่เหลือ เป็นบุคคลที่ยังต้องให้การดูแล ด้วยความเสื่อมตามวัย ร่วมกับความเศร้าโศก อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ลูกๆ คำนึงถึงประเด็นนี้ด้วย

หมายเลขบันทึก: 316131เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2009 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พยาบาลสามารถเป็นตัวกลางที่จะแนะนำญาตินะคะ เพราะเวลานั้นญาติอาจลืมทำทุกสิ่งค่ะ

ประสบการณ์ตรงคือ

ถึงเวลานั้นจริงๆ คนที่เป็นญาติจะรู้สึกงงๆ ค่ะ  ต้องอาศัยพยาบาลเป็นผู้คอยแนะนำ

ทั้งๆ ที่เราก็เคยทำหน้าที่นี้อยู่บ่อยครั้ง แต่พอถึงเวลาของตัวเอง ก็ทำอะไรไม่ถูกเลยค่ะ 

ประสบการณ์ พยาบาลห้องฉุกเฉิน พบ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทั้งที่ผู้ป่วยและญาติยังไม่สามารถยอมรับได้ เราต้องให้ความช่วยเหลือช่วยชีวิต ทั้งที่ทราบผลลัพธ์แล้ว ซึ่งเราถือว่าเป็นการเยี่ยวยาด้านจิตใจ ตรงนี้ สุดท้ายก็นำไปสู่ความสงบด้วยวิธีที่เขาเลือกค่ะ

เชิญ ส่งความสุขและรอยยิ้ม..ให้ผู้ป่วยของเรา  blogger  รพ ศรีนครินทร์ น้องกุ้ง น้อง 2 ไก่ น้อง 2 เล็ก ลดา น้องเกด กระติก แดงฯลฯ  ร้องเพลงปีใหม่พร้อมตัดเค๊กให้คนไข้ของเราด้วยนะคะ

P   P  P 

ขอบคุณค่ะ พี่แก้ว พี่แขก กระติก ที่มาให้กำลังใจ

เราคงได้ผลัดกันเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในแต่ละบทบาท 

เติมเต็มในงานและชีวิตให้สมบูรณ์ยิ่งๆขึ้นไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท