ระบบห้องสมุดอัตโนมัติโคฮา Koha


เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ กับการพัฒนาซอฟท์แวร์ระบบบริหารงานห้องสมุดอัตโนมัติแบบเปิดเผยรหัสโคฮา Koha

       เมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน  2552 ผมมีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาการ ใช้ซอฟท์แวร์เปิดเผยรหัสระบบบริหารงานห้องสมุดอัตโนมัติโคฮา (KOHA)  ณ หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดโดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในนามของเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่เป็นซอฟท์แวร์เปิดเผยรหัส Open Source มาพัฒนาใช้แทนระบบห้องสมุดอัตโนมัติเชิงพาณิชย์เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ในการจัดซื้อและดูแลรักษาระบบ ซึ่งแนวคิดนี้ตรงกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่กำลังพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้กับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา โดยมอบหมายให้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ใช้ต้นแบบ  VTLSมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใช้ต้นแบบ Dynix และ Innopac และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ใช้ต้นแบบ Innopac ในเรื่องเดียวกันนี้เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ศึกษาระบบห้องสมุดอัตโนมัติหลายระบบพบว่าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ  Koha เป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบรหัสเปิดตัวแรก ที่มีโมดูลการทำงานครบทุกโมดูลเหมือนกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติเชิงพาณิชย์ เช่น โมดูล ระบบบริหารจัดการ ระบบการทำรายการ ระบบบริการยืม-คืน ระบบสืบค้นและบริการสมาชิก ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ระบบการจัดหา ทุกด้านทั้ง INNOPAC, VTLS, Alice, Dynix ต่างก็มี และ Koha ยังรองรับการทำงานทุกด้านเช่นเดียวกัน และสามารถปรับแต่งโปรแกรมเป็นภาษาไทยได้ ซึ่งเมื่อพัฒนาสำเร็จจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่ต้องซื้อระบบจากต่างประเทศ หรือในประเทศไทย (ที่พัฒนาเอง) แต่เป็นซอฟต์แวร์มีลิขสิทธิ์

       มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดย ผศ. ธนา จารุพันธุเศรษฐ์ เป็นหัวเรือใหญ่ ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ หากพัฒนาระบบดังกล่าวสำเร็จจะเป็นประโยชน์กับห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

 

 

ปัจจุบันนี้ในประเทศไทยก็ได้มีการพัฒนาระบบ Koha บ้างแล้ว เช่น  

       ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศวท.)  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำมาใช้ในการบริหารจัดการระบบการทำงานของ ศวท.

       มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร สำนักหอสมุด และหน่วยปฏิบัติการวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะการประมวลผลภาษาธรรมชาติและเทคโนโลยีสารสนเทศอัจฉริยะ ได้ร่วมกันพัฒนาต่อยอดเป็นระบบห้องสมุด "จินดามณี"

หมายเลขบันทึก: 315979เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2009 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์..

  • เมื่อไหร่จะเอามาใช้กับมหาวิทยาลัยเราคะ
  •  *^__^*

สวัสดีครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาทักทาย

อยากนำมาใช้เร็ว ๆ ครับก็เร่งพัฒนากันอยู่ และก็จะนำไปเสนอในงาน สัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ ๒๗ เรื่องแนวทางการปฏิบัติเพื่อความเลิศ (Best Practices) ในงานห้องสมุด วันที่ ๑๔ - ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมพิมานทิพย์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีนี้ราชภัฏเป็นเจ้าภาพจัดสัมมนาโดยใช้สถานที่ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ขณะนี้ห้องสมุดเราก็ใช้ระบบ Alice อยู่ก็ใช้ได้ดีครับ แต่ต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาระบบปีละ 200,000 กว่าบาทถ้านำ Koha มาใช้แทนระบบที่ต้องจ่ายเงิน ไม่ต้องจ่ายก็น่าจะดีกว่าครับ แต่งานนี้ผมคงไม่ได้ไปร่วมนำเสนอด้วย

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท