Reflect from practice: หนี้บุญคุณ portal.in.th


วันเกิด http://portal.in.th/cmupal

   วันนี้มีโอกาสได้ไปร่วมการปฐมนิเทศ พระนิสิต อาสาสมัครดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่จัดโดยคณะกรรมการ palliative care ที่พี่พายุรี พี่ลัดดาวัลย์ พี่ประไพ พี่พิมประพรรณ พี่พัชรินทร์ พี่อัญชัญ และพี่เอ ลดารัตน์ (ยังมีท่านอื่นอีก แต่จำชื่อไม่ได้ ต้องขออภัยคะ) จัดขึ้น
ได้ฟังท่านพระครู พูดถึงหลักการให้กำลังใจกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย แล้ว ประทับใจ กับนิทานเรื่อง แพะบูชายัญ ที่ว่ามีแพะตัวหนึ่งร้องไห้ เมื่อมีผู้มาจะฆ่าบูชายัญ ปรากฎว่า ที่แพะร้องไห้ เพราะสงสารผู้จะฆ่ามัน ว่าต้องมาชดใช้กรรมไป 500 ชาติ ทั้งๆ ที่วันนี้ชีวิตของมันก็ถึงคราวจะดับลงเองอยู่แล้ว  เมื่อผู้จะลงมือฆ่าหยุดรอ เพียง 2 นาที ก็ปรากฎว่ามีฟ้าผ่ามาลงที่แพะโชคร้ายนั้นต่อหน้าต่อตา  สรุปได้ว่าตามหลักพุทธศาสนา แต่ละชีวิตมีระยะเวลาของตนเอง ไม่จำเป็นที่จะต้องไปตัดทอน ให้เกิดบาป หรือ การพยายามยื้อยุดก็สุดวิสัยหากถึงคราว
..ซึ่งตรงกับหลัก Palliative ที่ว่า no prolong or hasten death process...

   หลังถวายเพลแล้ว ระหว่างทานอาหารร่วมกัน พี่ลดารัตน์ ก็พูดถึงการทำ เวบไซต์รวบรวมข้อมูลและผลงานของทีม palliative ม.ช. เพื่อจะนำไปเสนอกับเวชสารสนเทศของโรงพยาบาลพรุ่งนี้  ซึ่งฉันเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่จะทำอย่างไรให้เวบไซต์มีชีวิตตลอดไป..

1. การ update ต้องไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้ภาษาคอม.. เป้าหมายคือให้คนทำงาน แต่ละคนสามารถรับผิดชอบ update งานของตัวเองก็ได้ไม่ต้องรอ webmaster

2.ทำได้แม้ไม่ต้องเข้า network ของคณะ  เพราะจากประสบการณ์ทำ webpage ให้ภาควิชาฯ ซึ่งต้องใ้ช้เครื่องในภาควิชาเพื่อไปแก้ใน server ของคณะ  ปรากฎว่า update ล่าสุดที่ฉันทำไว้คือ กันยายน 2551!  ก็ตอนอยู่ที่ภาค ไม่มีเวลาเอาเสียเลย แถมการใช้โปรแกรม frontpage ตอนจัดหน้ากับตอนออกมาใน browser ไม่เหมือนกันเสียอีก..
แต่ปัญหา คือ จะมี server ฟรีที่ไหน ที่เสถียร ไม่ใช่วันดีคืนดี ก็ล่ม หายไปเฉยๆ

3. หน้าของเวบเพจไม่สับสน หาข้อมูลที่ต้องการง่าย ไม่สวยมากก็ไม่เป็นไร ขอให้ทำ function เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่ดี

ด้วยคุณสมบัติทั้งปวง จึงมาลงที่ portal.in.th ซึ่งผู้สร้างสรรระบบนี้ ทำได้น่าทึ่งมาก เพราะใช้ง่าย มีความยืดหยุ่นสูง  (ถึงแม้การทำให้หน้าตาสวยขึ้น เล่นเอาฉันปวดหัวนิดหน่อย)
อีกอย่างคือ ฉันต้องขอบคุณแรงบันดาลใจและตัวอย่างจาก http://portal.in.th/ MS-PCARE ของ อ.เต็ม นั่นเอง แอบเอาอย่างการจัดสารบัญมาด้วยคะ

http://portal.in.th/cmupal/ จึงเกิดขึ้นในวันนี้..เพิ่งจะร่างได้ส่วนหนึ่ง  หน้าตายังไม่งามนัก แต่ก็เชื่อว่า พี่ๆในทีมสามารถช่วยกันเติม ช่วยกันแต่งบ้านน้อยๆ หลังนี้ ไปเรื่อยๆ คะ

หมายเลขบันทึก: 315830เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2009 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีใจจังครับ ที่จะมี เว็บเกี่ยวกับ palliative care เพิ่มขึ้นอีก เยี่ยมมากครับ

เริ่มเปิดเป็นทางการเมื่อไร บอกด้วยนะครับ จะเอาเข้าไปใส่ไว้ใน link เว็บ MS-PCARE ครับ

ลืมบอกไปว่า

อยากจะรบกวนให้ใส่ คำว่า ms-pcare ใน tag สำหรับทุกบันทึกนะครับ เพื่อการสืบค้นในอนาคตจะได้รวดเร็วขึ้นครับ

ยินดีด้วยครับ สำหรับเว็บไซต์ใหม่

ทีมงานของ Portal.in.th คงจะดีใจไม่น้อยครับ

ติดปัญหาอย่างไรสอบถามทีมงานได้เลยครับ

แนะนำอีกอย่างว่า ถ้าจะให้ยั่งยืน ควรขอคณะให้มีผู้จัดการเว็บไซด์หนึ่งคน ซ฿่งไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ แต่เป็นคนเอา content ขึ้นเว็บ เป็น parttime ก็ได้ครับ เพราะเราเองคงไม่ว่างมานั่งทำเองตลอดกาลนะครับ

ช่วงแรกอาจจะลองทำเอง จนรู้เทคนิคเพื่อสอนน้องเขาได้ แล้วเราก็ค่อยๆถอยออกมาดูห่างๆครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจคะ อาจารย์ และคุณชยินทร์
ขอถามนอกเรื่องนิดหนึ่งคะทำอย่างไรให้เวลา Quat เป็นแบบนี้

 

qoat

web เสร็จแล้วยังครับ อยากรู้ อยากรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท