การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ข้อคิดจาก Science Show


การเรียนรู้ที่แท้จริงนั้นต้องเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง

   เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว  ผมได้ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) มีเรื่องที่เป็นตัวอย่างของการเรียนรู้แท้ มาแบ่งปัน  ในขณะที่นักเรียนซ้อมทั้งบทพูด ทั้งการสาธิต เพื่อให้ทุกอย่างลงตัวกับที่เตรียมไว้  แต่บางอย่างก็ไม่เป็นไปตามที่วางแผน  และข้าพเจ้ากับนักเรียนก็ร่วมกันคิดแก้ปัญหา  แก้ไปทำไป จนพบความลงตัว  ได้ชื่อเรื่อง Science Show ว่า เล่นกับไฟ  เป็นการบูรณาการเกี่ยวกับเรื่องของไฟ ที่มีจุดเริ่มต้นจากความสนใจของนักเรียนเอง ที่ข้าพเจ้าให้เขาเลือกเอง  โดยนักเรียนเลือกที่จะแสดงเรื่อง การระเบิดของภูเขาไฟ  ผมก็ได้ให้คำแนะนำ  และสิ่งที่ครูไม่ควรมองข้ามเลยคือ  ความคิด และประสบการณ์เดิมของเด็ก ผมให้นักเรียนคิดว่าเราจะมีวิธีทำอย่างไรที่จะแสดงให้ผู้ชมเห็นการระเบิดของภูเขาไฟที่รุนแรง  เด็กเขาก็บอกว่า เคยเล่นมังกรพ่นไฟ  โดยเอาเทียนไขใส่ฝาขวดโซดาเผาไฟให้ละลาย  จากนั้นให้หยอดนำลงไป  จะเกิดเปลวไฟลุกอย่างรุนแรง  ผมฟังเด็กเล่า และก็ลองให้เด็กทำให้ดู  และพบว่าเป็นจริง  จากนั้นก็ไปหาหลักการของเรื่องนี้ทางอินเตอร์เน็ต ตรวจสอบความรู้  ก็พบว่า  การเล่นมังกรพ่นไฟที่เด็ก ๆ เล่นนั้นเป็นเรื่องเดียวกันกับผักบุ้งไฟแดง  ข้อคิดที่ดีจากเรื่องนี้ คือ    การเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา คือ การเรียนรู้ ที่ครูและนักเรียนเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา ในเรื่องที่ยังไม่รู้หรือมีคำตอบสำเร็จ ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง  ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริง  นักเรียนใช้กระบวนการทางปัญญาไม่ใช่การรับรู้ ที่ครูยัดเยียดให้จำ บังคับให้ท่องเพื่อสอบ อย่างที่ผู้ใหญ่กำลังคิดว่าเป็นเรื่องที่ถูก ผมดีใจที่บรรยากาศการเรียนรู้แบบนี้เกิดกับนักเรียน 3 คน คิดว่าจะเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีค่าสำหรับเขา ถึงแม้ว่าจะไม่ชนะเลิศที่ 1 แต่ที่สำคัญเด็กได้ทักษะ กระบวนการคิดแก้ปัญหา เพราะ Science Show เป็นกิจกรรมที่ดีมากที่ช่วยให้นักเรียนได้แสดงความสามารถทางวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการกับสาขาอื่น ๆ ทำให้มีสีสันบนความมีเหตุมีผลอย่างวิทยาศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 315357เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ อ่านแล้วรู้สึกสนใจ ตรงที่ว่า หลักการเดียวกับผักบุ้งไฟแดง นั่นคืออะไรคะ เพราะสงสัยว่าปริมาณเทียนเท่าฝาโซดานี่รู้สึกจะน้อย มันจะเพียงพอเหรอคะ

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบ

หาก มีเวลากรุณาตอบผ่าน email : [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท