มาจับเคียวเกี่ยวข้าวกัน


 

การลงแขกเกี่ยวข้าว   เป็นวัฒนธรรมประเพณีแห่งความเอื้อเฟื้อและเกื้อกูลซึ่งกันและกันของสังคมไทยอีสานในอดีต จะสืบสานประเพณีนี้  การแสดงความมีน้ำใจที่ผู้คนในชุมชนมอบให้กัน ในการช่วยเหลือกิจการงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว  ทำให้มีความรัก และอยู่อย่างมีความสุข  บ้านไหนเกี่ยวข้าวยังไม่เสร็จ  จะต้องช่วยกัน

ปัจจุบัน นับวันจะสูญหายไปอาจจะด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจที่ใช้เงินตรา   เป็นตัวกำหนด  ทำให้ความเอื้ออาทรแต่งต่างไปจากอดีตมาก

 

คนอีสาน ส่วนมากประกอบ  อาชีพด้านเกษตรกรรม   การทำนา ทำไร่ ทำสวน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของฟ้าและฝน จะต้องเร่งรีบในการเพาะปลูก ปักดำ เก็บเกี่ยว ในครอบครัวใดมีแรงงานมากก็จะทำได้เร็วและทันเวลา แต่ครอบครัวที่มีคนน้อยก็จะทำสำเร็จได้ยาก ณ จุดนี่เองที่ก่อให้เกิดประเพณี ลงแขก  แต่ขณะนี้ไม่มีแล้ว

 

  การที่ รถเกี่ยวข้าว   ควายเหล็ก   เข้ามาสู่ชุมชนพร้อมกับการส่งเสริมให้มีการปลูกเพื่อขาย ยุคเศรษฐกิจเงินตราเป็นใหญ่จึงทำให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในอดีต กลายมาเป็นการว่าจ้างแรงงานแทน และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามอย่าง การลงแขก จึงพลอยสูญหายไปด้วย

 

สำหรับครอบครัวของผู้บันทึกเอง มีโอกาสเสาร์- อาทิตย์ ก็จะชวนลูกหลานไปช่วยเกี่ยวข้าว และเพื่อนเขายังชักชวนเพื่อนที่เป็นนิสิตนักศึกษาด้วยกันไปช่วยเกี่ยวข้าว ทำให้เกิดบรรยายกาศอีกอย่างหนึ่ง  นิสิตและหลานๆ มีความสุขกับการทำงาน เข้าใจถึงความยากลำบากของผู้ปกครองต้องทำงานในการส่งลูกเรียนหนังสือ ในเวลาพักแดด หรือหลบแดดร้อน ก็จะมีการตั้งวงในการพูดคุยกัน  เก็บเกี่ยวข้าว  ได้เรียนรู้อะไรบ้าง 

ที่จะเห็นได้ ได้ประสบการณ์ ได้ฝึกความอดทน ได้รู้ว่า ข้าวทุกเม็ดมีคุณค่า่ยวข้าว และเพื่อนเขายังชักชวนเพื่อนที่เป็นนิสิตนักศึกษาด้วยกันไปช่วยเกี่ยวข้าว  ทำให้เกิดบรรยายก

การดำเนินชีวิตของชาวอีสานเริ่มเปลี่ยนไป เด็กวัยรุ่น  หรือ ลูกๆ ก็จะหนีไปทำงานที่เมืองหลวง หรือต่างจังหวัด  เพื่อที่จะหาเงินมาจุนเจือครอบครัว  ในบางครอบครัวก็จะทิ้งลูกเล็ก เด็กแดงไว้กับพ่อแม่  ความห่างเหิน ความรักความอบอุ่นที่แม่มีต่อลูกก็น้อยลง เมื่อเด็กเติบโตมาทำให้เปราะบาง อาจภูมิต้านทานในการดำเนินชีวิต   ถึงเวลาหน้าเกี่ยวเกี่ยวจะส่งเงินให้พ่อแม่ ในการจ้างแรงงานมาทำงานแทน  ยิ่งขาดแคลนแรงงานหนัก  แต่  คนที่ทำงานหนักจะต้องคนที่ยืนตัวหลักในการประกอบอาชีพเกษตรกร

 

จะทำอย่างไร ที่จะสืบสานประเพณี  การลง แขก  จะต้องมีการฟื้นฟูและกล่าวถึงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม การลงแขก ให้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง 

 

 

 ภาพ เกี่ยวข้าวเมื่อ อาทิตย์ที่ 15 พ.ย.52 (บ้านห้วยแคน-โนนสูง อ.กุดรัง มหาสารคาม)

หมายเลขบันทึก: 315214เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2009 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

คิดถึงการเกี่ยวข้าว ที่เคยเห็นตอนเด็กๆคร้าบบ

สวัสดีค่ะคุณPyouuue

ขอบคุณค่ะ

เป็นความรู้สึกที่เข้าใจ  และการลงมือทำ ของ เด็กๆในการช่วยเหลืองานผู้ปกครองในวันหยุด

ขอให้มีความสุขในวันหยุดค่ะ

 

สวัสดีคะพี่นงค์

พอลล่าอยากมีประสบการณ์การเกี่ยวข้าวสักครั้งค่ะ

นัดที่เกษตร แต่พอลล่ายังไม่ได้ไปเลยค่ะ อิอิ

สวัสดีค่ะน้องP♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

มาได้เลยค่ะ ช่วงนี้ ที่บ้านก็ยังเกี่ยวข้าวไม่เสร็จ

ปีที่แล้ว นิสิตจีนไปช่วยเกี่ยว

ปีนี้ นิสิต เพื่อนหลานๆ อาสาอยากไปเกี่ยว  เขามีเพื่อน และสนุกด้วย

อาทิตย์หน้า  น่าจะเรียบร้อย

ขอบคุณมาก

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

งานลงแขกเกี่ยวข้าวอาตมาทำเป็นประจำตั้งแต่อำเภอหนงบัวนครสวรรค์ยังไม่มีรถเกี่ยวข้าวเลย

ถึงจะเหนื่อยแต่ก็สนุกดี(๓๐ กว่าปีมาแล้ว)

เป็นกิจกรรมที่ดีมากเห็นเด็กรุ่นใหม่ลงสู่พื้นนาอันเป็นอาชีพหลักพ่อแม่ แต่ส่วนใหญ่ลูกหลานเราก็ทำไม่เป็น

เคยทำมาก่อนเลยไม่จำเป็นต้องบอกว่า ดูน่าสนุก จริง ๆ ทำเป็นกลุ่มแบบนี้เด็ก ๆ จะชอบแม้จะเหน็ดเหนื่อยบ้างก็ตาม

อยากเห็นแบบนี้เยอะ ๆ โรงเรียนสถานศึกษาผู้นำชุมชนพาทำ กิจกรรมนักเรียนนักศึกษามีมากมาย ลองเปลี่ยนมาทำแบบนี้บ้างก็ดี

  • ช่วงนี้คนงานขาดหายเยอะเลยนะคะ
  • เพราะกลับไปเกี่ยวข้าวกันหมด
  • แต่ประเพณีลงแขกก็เป็นสิ่งดีๆที่น่าชื่นชมมากค่ะ

สวัสดีค่ะพี่นงค์

นัดกับพี่ชายเกษตรไว้ค่ะ อ้ะ เร็วจริง ถึงฤดูเกี่ยวอีกแล้ว

ชอบทุกภาพ ทีชีวิตชีวามากค่ะ ขอบคุณค่ะ

นมัสการค่ะท่านพระมหาแล ขำสุข

ขอบพระคุณค่ะท่านการแบ่งปัน และมองเห็นภาพ

และชื่นชมการทำกิจกรรมที่ดีๆของเด็ก ทำให้ได้สัมผัสชีวิตจริงๆของชาวนาค่ะ

สวัสดีค่ะอ.Pพิชชา

ปัจจุบันเกษตรกร ต้องใช้แรงงานสู้ค่ะ

สบายดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท