วิมุติ- เกิดที่จิตหลุดพ้น ก็ออกจากจิต หมายเอา อัตตา-ที่มีอยู่ในจิตออก สิ่งที่ฝังอยู่ในจิต เราเรียกว่า อุปาทาน เมื่อจิตกำเนิดเป็นกายกับใจ กายใจ -ก็เป็นส่วนหนึ่งของจิต แต่เมื่อจิตวิมุติ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ก็สลัดอัตตา(กาย) ที่อยู่ในจิตออกจากจิต(อุปาทายรูป)-"สิ่งที่นำเข้าจิต แล้วออกจากจิตได้" เช่น ปากรับประทานอาหาร น้ำ....จมูก-นำลมหายใจเข้าสู่กาย แล้วเข้าใจว่า กายคือเรา กายคือของๆเรา.....แท้จริงแล้ว จิตอาศัยธาตุ 4 เพื่อดำรงจิตอยู่ในโลก ในการศึกษาธรรม ค้นหาธรรม แล้วละธรรม เข้าสู่วิมุติ-ความหลุดพ้น จากสสาร-พลังงาน......
ก็อันเดียวกันนั่นแหละ ถึงวิมุติ จิตก็หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไง.....ที่จริงสรรพสิ่งในโลกก็คือสมมุติทั้งสิ้น แต่ก่อนที่เราจะถึงวิมุติ เราก็ต้องศึกษาทำความเข้าใจกับสมมุติให้ดีก่อน ว่ามันคืออะไร? จะทำยังไงกับมัน?.....เมื่อเข้าใจสมมุติ ยอมรับสมมุติ ใช้สมมุติให้เป็น ใช้สมมุตินั้นให้เป็นประโยชน์ แต่ไม่ยึดติดในสมมุตินั้น ทำสมมุติให้เป็นวิมุติ ทำสัญญาให้เป็นปัญญา......โดยวิธีใส่"ตัวรู้" คือ ตัวสติสัมปชัญญะ ตัวสำคัญนี่แหละเข้าไปตามพิจารณาดูมันทุกฝีก้าว ทุกลมหายใจเข้าออก จดจ่อ ตามมันให้ทันทุกอิริยาบถ ท่วงท่วงท่า ทุกลีลา ทุกสภาวะ ไม่ว่าจะสงบ เอะอะ ค่อย ดัง วุ่นวายขนาดไหน อย่างไร เมื่อเราตามทัน รู้เท่าทัน รู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว ทุกอย่างมันก็คือธรรมชาติ มีการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-เปลี่ยนแปร-แล้วดับไป ตามกฎไตรลักษณ์ทุกอย่าง ไม่มีกฎไหนที่กว้างและครอบคลุมความจริงได้มากไปกว่านี้อีกแล้ว นั่นแหละจะพบเองว่า ทุกอย่างเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ไม่สลักสำคัญอะไรเลย ปล่อยวางทุกอย่างลงไว้ตามที่เดิมของมัน แล้วจิตใจเราจะเบาสบาย สงบ สว่าง เย็น ไม่มีอะไรจะมามีอิทธิพล ทำร้ายจิตใจเราได้อีกต่อไป นี่แหละคือความเป็นอิสระเสรีที่แท้จริง คือ การหลุดพ้น หรือวิมุติละนะ......
ทีมา:
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amatamahanippan&group=6&month=01-2006&date=16&blog=1
ขอบคุณ ดร วรภัทร์ ภู่เจริญ http://www.gotoknow.org/profile/worapat ที่ช่วยจุดประกายให้ครับ
เลือกทำงานให้ตรงกับจริตของตนเองได้อย่างมีความสุข
ได้ฟังบรรยายของ ดร.ปราชญา กล้าผจัญ แล้วมีหลายประเด็น ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ เรื่องของจริต (น่าจะเป็นคำเดียวกับที่สมัยก่อน เขามักใช้คำเรียกผู้หญิงบางคนว่า "ด้ดจริต" เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ยินแล้ว)
จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการคือ ราคจริต,โทสจริต,โมหจริต,สัทธาจริต,วิตกจริตและพุทธิจริต ตามรายละเอียดดังนี้