วิชิต "เชียร์ ..."


ว่า กันต่อ .. ภาคที่ 2 กับภารกิจ พิชิต รางวัลกองเชียร์

เก็บตกจาก การแข่งขันกีฬา อปท. ที่การเขียนบันทึกครั้งที่แล้ว ได้เล่าผ่านถึงประสบการณ์ที่ได้จาก สนามแข่งขัน เปตอง ในชื่อบันทึก เรื่องของฝีมือ (ค่อยว่ากันอีกที) มาเล่าสู่กันฟัง แบบ ขำขำ สบาย-สบาย กันไปแล้ว

คราวนี้ .. ก็เป็นอีกหนึ่งภาระกิจ นั้นคือ การนำเชียร์กีฬา เลยมองหา ข้อดีและประโยชน์ของการ เป็นกองเชียร์ หรือผู้ชมกีฬา มาให้พอเป็นข้อมูล สนับสนุน ทางวิชาการ สักเล็กน้อย ว่า มีผลดีอย่างไรบ้าง ??

การเล่นกีฬาทำให้คุณมีสุขภาพกายดีอย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่าการติดตามชมการแข่งขันกีฬา ก็ช่วยให้คุณมีสุขภาพจิตดีขึ้นได้ ผู้ที่กล่าวไว้ดังนี้คือ เดเนียล แวนน์ ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเมอเรย์ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือ แฟนกีฬา: จิตวิทยาและผลกระทบทางสังคมของผู้ชม (Sport Fans: The Psychology and Social Impact of Spectators) และผู้เขียนเองก็เชื่อเช่นนั้น จึงไม่ปฏิเสธ การทำหน้าที่นำเชียร์ในครั้งนี้

โจทย์ครั้งนี้ ยากที่สุดก็ตรงที่ ทำอย่างไรให้กองเชียร์ส่งเสียงร้องเพลง ปรบมือ หรือเคลื่อนไหวร่างกาย ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียง มีพลัง มีความสวยงาม และความสนุกสนาน ดังนั้น คุณสมบัติของผู้นำเชียร์ ที่ขาดไม่ได้ นั่นคือ การเป็นผู้นำที่ดี และต้องมีทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม มีความสามารถในเชิงวาทศิลป์ ใช้โน้มนำให้กองเชียร์เกิดความสนุกสนานและมีความสามัคคีในการร้องตะโกน ร้องเพลงเชียร์ออกไป

ผู้เขียน เองยอมรับว่า บางช่วงเวลา ก็ อาจจะท้อและรู้สึกเหนื่อยบ้าง โดยเฉพาะ ตอนเหลือบไปเห็นกองเชียร์ บางคน ไม่ร้อง ไม่ทำ ไม่หือ ไม่อือ .. แต่ก็พยายามไม่เก็บภาพเหล่านั้นมาใส่ไว้ในใจ มองผ่านเลยไป ว่าสมาชิกท่านอื่นที่ คาดหวังกับการทำหน้าที่ของเรา ทั้งนี้ หากเก็บ เรื่องเล็กๆน้อยๆ มาหงุดหงิด เราก็จะยิ่งร้อน และทำให้ส่งผลกระทบ ต่อภาพรวม "เราเหนื่อย .. ทุกคนก็เหนื่อย"

จำได้ว่า วันนั้น ท่อง คำนี้ "เราเหนื่อย .. ทุกคนก็เหนื่อย" จนวินาทีที่ประกาศ ผลรางวัล ยอมรับว่า ดีใจมาก เพราะการแข่งขันครั้งนี้ ไม่ได้คาดหวังอะไร นอกจากทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แต่เมื่อผลสรุปออกมา ก็คุ้มค่า .. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มันรู้สึกหายเหนื่อยไปเลย ผู้เขียนขอสรุปประเด็นสำคัญ ของการเชียร์ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

1. ต้องมีการฝึกร้องเพลงและตบมือเข้าจังหวะ

2. ต้องฝึกซ้อมการใช้อุปกรณ์ประกอบการเชียร์

3. ต้องจัดสถานที่ให้เอื้อ และเหมาะสมกับอุปกรณ์และกองเชียร์

4. ต้องไม่สร้างความกดดัน หรือคาดหวังจากกองเชียร์มากจนเกินไป

5. จำเป็นต้องมีผู้ใหญ่ (งานนี้ก็มีผอ.กองศึกษา) เข้ามาร่วมควบคุม ^^

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เชียร์
หมายเลขบันทึก: 314418เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2009 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เหนื่อย แต่สนุก ดี

เก่งๆ

ยอดเยี่ยมครับ, วันนั้นแอบขึ้นไปชมวิว และฟังเสียงเชียร์บนเขารังครับผม อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท