เมื่อนศ. นำเสนอผลการค้นคว้า (PBL : 2)


หลังจากจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ในสัปดาห์ที่แล้ว สัปดาห์นี้นักศึกษาจะต้องนำเสนอผลการค้นคว้าด้วยตนเองให้แก่กลุ่ม

ในการสอนได้จัดให้กับนศ. 2 กลุ่มค่ะ ปรากฎว่า ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับนศ. กลุ่มแรก คือ เค้ายังใช้วิธีนำเสนอแบบเดิมๆ คืออ่านคนละหัวข้อ ที่สำคัญไม่ได้ค้นหาตามหัวข้อที่ได้วิเคราะห์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ส่วนกลุ่มที่ 2 เกินคาดค่ะ เค้าค้นหาเกินเป้าหมาย ค้นคว้าเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนที่เชื่อมโยงกันมาด้วย และยังสามารถเชื่อมโยงโจทย์ปัญหาที่ได้รับ กับการอธิบายข้อมูลต่างๆ ได้

แต่ปัญหาคือ เนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องนั้น เค้าค้นมาน้อย จากการสอบถาม เค้าบอกว่า ปัญหา คือ ห้องสมุดมีหนังสือไม่พอ หาหนังสือไม่เจอบ้าง และยังมีความกลัวว่าสิ่งที่จะค้นหานั้นจะไม่ถูกต้อง

ส่วนเรื่องทัศนคติจากการเรียนด้วย PBL พอสรุปได้ว่า

1. รู้สึกสนุก และช่วยสร้างความกระตือรือร้นในการค้นหาข้อมูลได้

2. ส่วนใหญ่ตอบว่า ไม่ต้องการเอกสารประกอบการสอนจากผู้สอนทั้งหมด ขอแค่เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะหากสอนแบบเดิม ถึงจะได้เอกสารจากอาจารย์ก็ไม่อ่านค่ะ

3. รู้ และมั่นใจในความสามารถทางการเรียน การค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเองมากขึ้น

ส่วนเรื่องที่ยังเป็นปัญหา

     นศ. ยังรู้สึกกดดัน กับการเรียนด้วยวิธีการนี้อยู่บ้างเนื่องจาก ไม่เคยค้นคว้าด้วยตัวเอง เคยชินกับบรรยากาศการเรียนแบบเดิมๆ ทำให้ไม่มั่นใจและกลัวความผิดพลาด

จากกิจกรรมแม้จะลุ้นกับนักศึกษาจนตัวโก่ง แต่ก็ทำให้ได้ประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบ PBL มากขึ้น ส่วนนักศึกษา หากจัดต่อไปเค้าก็จะคุ้นเคย และมีทัศนคติที่ดีขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 314384เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2009 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

เพิ่งจะถึงบ้าน....

เข้ามาอ่านแล้วจ้า เห็นทีผมต้องเริ่มปัญหาที่ 1 ในสัปดาห์หน้าได้แล้ว เพราะเรียบเรียงหนังสือให้เด็กอ่านเสร็จแล้ว

จะได้ไม่ต้องพะวงอยู่กับเนื้อหา

ถ้าได้เรื่องยังไง จะมาเล่าให้ฟังนะ..

อ้อ ตาล อาจารย์เอ ปรับปรุงแบบบันทึก pbl จากที่ได้อ่านของคนอื่น ๆ ..ถ้ายังไงอย่าลืมถามอาจารย์เอนะ...

เห็นนั่งยิ้มภูมิใจอยู่คนเดียว

เข้ามาให้กำลังใจคะ

พรุ่งนี้..ปัญหาที่ 1 เด็กนำเสนองานแล้ว.. ตื่นเต้นจัง...

  • คงต้องปรับและทำความเข้าใจกับนักเรียนกลุ่มแรก
  • ต่อไปเขาจะเข้าใจและนำเสนอได้ดีว่านี้ครับ
  • ขอเอาใจช่วยอาจารย์ครับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต

ก็ได้ทำคว่ามเข้าใจกันใหม่แล้วในเบื้องต้นค่ะ

ส่วนจะดีขึ้นแค่ไหน ต้องประเมินในกิจกรรม ครั้งที่ 2 ค่ะ

แต่เชื่อว่าเค้าจะดีขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ (แอบสร้างกำลังใจให้ตัวเองค่ะ)

"ถึงจะได้เอกสารจากอาจารย์ก็ไม่อ่านค่ะ"....นั่นนะสินะ ยอมรับกับประโยคนี้ แต่ว่ายังไง ก็ต้องสนับสนุนให้นักศึกษาอ่านมาก ๆ จะได้มีพื้นฐานความรู้ ถ้ามีอะไรแนะนำก็บอกได้นะครับ http://gotoknow.org/blog/ajarnaod/317529

ค่ะ อาจารย์ นักศึกษายอมรับแบบนั้นจริงๆ เค้าบอกว่าเค้าจะอ่านก่อนสอบ

แต่ก็ได้แนะนำนักศึกษาให้เห็นความสำคัญของการอ่าน การศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองค่ะ

เพราะที่สุดแล้วเมื่อเค้าเรียนจบจะได้สามารถแข่งขันกับบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้ค่ะ

นักศึกษาพยักหน้ารับแล้วด้วยค่ะ 5555555

แต่ก็หวังว่าเค้าจะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนแนวคิดค่ะ

ขอแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะคะ

นักศึกษา Food ของเรา ให้เอกสารไปอ่าน กำชับว่าออกข้อสอบนะ

ผลปรากฎว่าทำข้อสอบไม่ได้ แถมกลับมาบอกว่า..หนูไม่ได้อ่านคะ..

... 55555 น่าอายจัง

ชอบการสอนแบบPBLของอาจารย์ค่ะเพราะทำให้เราเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น

หนูชอบการสอนของอาจารย์ค่ะ....เพราะอาจารย์สอนไม่เหมือนกับอาจารย์ท่านอื่น.....

สนุกที่ได้เรียนกับอาจารย์คะ เข้าใจมากขึ้นคะ

ขอบคุณค่ะ นักศึกษาที่น่ารักของอาจารย์ทุกๆ คนนะคะ ที่ให้ความร่วมมือ และตั้งใจร่วมกิจกรรมจนผ่านมาด้วยดี

ทุกๆ คนทำได้ดีมากๆ คะ

สวัสดีครับ

แวะมาเรียนรู้ด้วยคนครับ

ก็เป็นอีกวิธีการสอนที่ดีมากครับ

แต่บางครั้งนักเรียนก็อาจไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นค้นคว้าอย่างไร หากไม่ได้รับการแนะนำก่อน

ในเบื้องต้นครับ(จากประสบการณ์ที่เคยเป็นนักเรียนนะครับ อิอิ...)

และไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ได้มาจะหรือหามานั้นมันถูกต้องหรือเปล่าครับ

ก็เลยเกิดความกลัวในจุดนี้ ต้องทะลายกำแพงความกลัวนี้ให้ได้ครับ

เป็นกำลังใจให้อาจารย์นะครับ

ขอบคุณสำหรับวิธีการสอนที่ดีๆครับ

ฉัตรวิไล อินคง สพล.ยล. ศษ.บ

ตนเองเคยนำไปใช้แล้วเหมือนกัน เด็กชอบมาก แล้วตอนนี้อาจารย์ลัลน์ลลิต ยังใช้อยู่อีกไม่ อยากทราบความคืบหน้า ถ้าเป็นไปได้เราน่าจะให้นศ.สองสถาบันซึ่งอยู่ใกล้กันมาเครือข่าย PBL กันจะดีไม่

สวัสดีค่ะ อ.เทพ และอ.ฉัตรวิไล ดีใจค่ะที่ได้แลกเปลี่ยนกับผู้มีประสบการณ์การใช้รูปแบบการสอนแบบ PBL ขออนุญาติแลกเปลี่ยนประเด็นแรกของอ.เทพนะคะ เรื่องการเริ่มต้นค้นคว้าค่ะ ในกิจกรรมของ PBL จะมีการระดมสมอง หาวิธีการแก้ปัญหา กำหนดวิธีการค้นคว้าอยู่ ในขั้นตอนนี้จะเปิดโอกาสให้เค้าช่วยกันวิเคราะห์เต็มที่ค่ะ ว่าจะค้นคว้าอย่างไร ด้วยวิธีไหน แต่ในครั้งแรกๆ อาจารย์ประจำกลุ่มต้องให้คำแนะนำ หรือสะกิดไอเดียค้นคว้าด้วยวิธีการที่หลากหลายให้ค่ะ เค้าจะมั่นใจขึ้น

-----ในส่วนของความถูกต้องของเนื้อหาที่ค้นคว้ามา แน่นอนที่สุดในครั้งแรกๆ ของการเริ่มต้น ความไม่มั่นใจเกิดขึ้นกับผู้เรียนแน่นอนค่ะ แต่อาจารย์จะให้กำลังใจ เสริมแรงทั้งบวก และลบ รวมทั้งวิธีการอื่นๆ ตลอดกระบวนการของกิจกรรม ซึ่งก็พบว่าผู้เรียนมีความมั่นใจมากขึ้นนะคะ ความกลัวว่าจตะทำผิด ความกลัวว่าจะไม่ถูกใจผู้สอน หมดไป แล้วเค้าจะเรียนและค้นคว้าแบบสนุกพร้อมที่จะเรียนรู้ค่ะ

----- อ.ฉัตรวิไล คะ เราบ้านใกล้เรือนเคียงกันใช่มั๊ยคะ ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนค่ะ ส่วนเรื่องทำสอนด้วยวิธีนี้อาจารย์จัดกิจกรรมแบบ PBL ต่อเนื่องค่ะ เต็มรูปแบบบ้าง ไม่เต็มรูปแบบบ้าง แต่มักจะมีปัญหาไปให้นักศึกษาแก้เสมอ และมักจะให้นักศึกษานำเสนอผลการค้นคว้าเป็นชิ้นงานที่ได้จากการค้นคว้าค่ะ บางเทอมก็ให้จัดแสดงผลงานเล็กๆ จากการค้นคว้า และทำงานวิจัยควบคู่ไปค่ะ ซึ่งได้ผลดีทั้งคู่ค่ะ บางกลุ่มผลงานดีเกินกว่าที่คาดไว้มาก เลยทำให้คิดว่า ถ้าเราจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กล่างของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อาจจะ PBL หรือรูปแบบอื่นๆ เด็กๆ ของเราจะเพิ่ม และรู้ศักยภาพของตัวเอง และเป็นนักเรียนยุคใหม่ได้ไม่แพ้นักเรียน นักศึกษา จากศูนย์กลางแน่นอนค่ะ

----- ขอให้กำลังใจอาจารย์ทั้ง 2 ท่านนะคะ และยินดีที่จะได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนทุกรูปแบบค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท