การลงไดรเวอร์ สำหรับปรินเตอร์ยี่ห้อ Brother รุ่น DCP-150C


การลงไดรเวอร์ สำหรับปรินเตอร์ยี่ห้อ Brother รุ่น DCP-150C บน Ubuntu โดยการใช้ CUPS

     เมื่อตอนที่ผมไปดูแลโปรแกรมให้กับลูกค้าที่ต่างจังหวัด หลังจากที่เจ้านายได้ไปลงโปรแกรมไว้แล้วก่อนหน้า และผมก็ไปดูความเรียบร้อยเพิ่มเติม  
     เมื่อไปถึงร้านของลูกค้านั้น ร้านลูกค้าจะเป็นร้านเล็กๆ และโปรแกรมที่ซื้อจากเราก็เป็นโปรแกรมที่รันบนระบบปฏิบัติการ Ubuntu ภาษาที่เขียนก็เขียนด้วยภาษา Gambas ใช้ฐานข้อมูล PostgreSQL และ ใช้ pgAdmin ในการจัดการฐานข้อมูล เมื่อดูความเรียบร้อยของโปรแกรมแล้วก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เจ้านายได้จัดการ set up โปรแกรมไว้แล้วเรียบร้อยพร้อมใช้ แต่ติดอยู่นิดเดียวว่า เมื่อดูโปรแกรมที่ set up ไว้นั้น ไม่น่าจะเป็นตัวที่อัพเดทไว้ล่าสุด ผมก็เลยทำการ อัพเดทซะให้เสร็จ ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงอีก แต่ทว่าพอลองทำการปรินท์รายงานออกมาดู กลับไม่ออก และก็รู้ได้ทันทีว่า เจ้านายของเราดันลืม แอดปรินเตอร์ไว้ซะแล้ว เอ้าหล่ะทีนี้ตอนนั้นใจก็ตุ่มๆ ต่อมๆ เพราะว่าตอนนั้นผมเองกะไว้ว่าแวะมาดูนิดเดียว แล้วก็จะรีบกลับกรุงเทพฯ ให้เร็วที่สุด
แต่เมื่อเจ้านายยังไม่ได้แอดปรินเตอร์ไว้อย่างนี้ เสต็ปแรกที่ผมคิดไว้ในใจก็คือว่า ต้องคอยลุ้นดูว่าเมื่อทำการแอดปรินเตอร์นั้น Ubuntu จะเจอปรินเตอร์(ไดรเวอร์)รุ่นที่ตั้งอยู่โด่เด่อยู่ตรงหน้ามั้ย
     และเสต็ปสอง เมื่อได้ลองทำการแอดปรินเตอร์ดูก็ปรากฏว่า โอ้!!!แม่เจ้า Ubuntu มีไดรเวอร์ปรินเตอร์ยี่ห้อ Brother ซะเยอะแยะตะแปะไก่ แต่ดันหาไดรเวอร์ รุ่น DCP-150 ไม่เจอซะงั้น .... -_-!! คงไม่ต้องเดานะครับว่าเสต๊ปต่อมาคือ การเกิดอาการเซ็งเป็ด นั่นเอง...
     ตอนแรกก็บอกตัวเองว่าไม่เป็นไร อาจพอลองแอดโดยใช้รุ่นใกล้เคียงกันดูก่อนก็ได้ เผื่อฟลุ๊ค แต่พระคุณเจ้า ทำไงก็ไม่ได้  และผมก็ต้องยอมให้เสต๊ปสุดท้ายบังเกิดคือ หาวิธีการจาก พี่ Google ของเราและต้องทำให้ปรินเตอร์ตัวนี้ปรินท์ให้ได้ ก่อนกลับบ้าน!!!
และวิธีการลงไดรเวอร์ปรินเตอร์ยี่ห้อ Brother รุ่น DCP-150 ก็ช่างแปลกพิศดารและน่าปวดหัวจริงๆ เลย...หง่ะ -_-!!
     ว่าแล้วก็อย่ารอช้า มาดูวิธีการแอดปรินเตอร์กันเลยครับ

         Step 1: เข้าไปที่เว็บของปรินเตอร์ยี่ห้อนี้ซะเรยย
         http://www.brother.com/index.ht
         เลือก Product Support
         เลือก เอาภูมิภาคตามที่เราต้องการ

Step 2: หลังจากนั้นก็ใส่รุ่นปรินเตอร์ที่เราต้องการตรงช่องสำหรับค้นหา และกดปุ่ม Search เพื่อค้นหา

Step 3: จะปรากฏ Search Result ขึ้นมาให้คลิกที่ลิงก์เพื่อเข้าไปทำรายการต่างๆข้างใน

Step 4: เมื่อคลิกลิงก์เข้ามาจะปรากฏรายการและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับปรินเตอร์รุ่นนี้ ให้เรามาเลือกตรงหัวข้อ Solutions เลือกเอาหัวข้อย่อยว่า Linux

Step 5: ตรงหัวข้อ Instruction เลือกเอา Printer(CUPS): Driver Install เพื่อเข้าไปดูรายการข้างใน

Step 6: หลังจากนั้นก็เลือกเอาลักษณะไดรเวอร์ที่ต้องการ โดยให้เลือกเอาแบบ Cupswrapper Driver Install

Step 7: มาถึงขั้นตอนนี้จะเป็นวิธีการลงไดรเวอร์โดยให้ทำตามขึ้นตอนแบบง่ายๆ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ขั้นตอนใหญ่ๆ ด้วยกัน

Step I: เปิดโปรแกรม Terminal มาและ Login โดย sudo ตามปกติทั่วไป

Step II: ให้เช็คดูว่า Linux ของเรานั้นอยู่ในรายการที่เขากำหนดไว้หรือเปล่า ซึ่งก็คือรายการและรุ่นดังนี้คือ openSUSE, Debian/Ubuntu 64 bit, Ubuntu 8.04/8.04.1, Ubuntu 8.10, Ubuntu 9.04, Fedora 10, Fedora 11 64 bit
        และจะมีลิงก์ For Ubuntu8.04/8.04.1, Ubuntu8.10, Ubuntu9.04 สำหรับทำการสร้างไดเรคทอรีสำหรับ CUPS ให้เปิดโปรแกรมเทอร์มินอลขึ้นมาและพิมพ์ตามขั้นตอนดังกล่าว(ดังรูปข้างล่างสุด ที่ลูกศร ที่ 1 และ 2) 

Step III: ให้ทำการโหลดไดรเวอร์ ตามรุ่นปรินเตอร์ โดยเลือกเอา ไดรเวอร์แบบ LPR driver และ cupswrapper driver ฟอร์แมตแบบ rpm ดาวน์โหลดมาทั้งสองไฟล์

Step IV: เก็บไดรเวอร์ไว้ในโฟลเดอร์ที่เราต้องการเพื่อรอทำการติดตั้ง

Step V: เข้าไปที่โปรแกรม Terminal และใช้ คำสั่ง cd เข้าไปที่โฟลเดอร์ที่เราเก็บไดรเวอร์ไว้ และตามด้วย ติดตั้ง LPR ไดรเวอร์ ใช้คำสั่งคือ (ดังรูปข้างล่างสุด ที่ลูกศร ที่ 3)

rpm  -ihv  --nodeps  (lpr-drivername) เช่น

                rpm  -ihv  --nodeps  dcp150clpr-1.0.1-1.i386.rpm

                Step VI: ติดตั้ง cupswrapper ไดรเวอร์ ใช้คำสั่งคือ (ดังรูปข้างล่างสุด ที่ลูกศร ที่ 4)

rpm  -ihv  --nodeps  (cupswrapper-drivername) เช่น

rpm  -ihv  --nodeps  dcp150ccupswrapper-1.0.1-1.i386.rpm

                Step VII: เช็คดูว่าไดรเวอร์ทั้งสองตัวนั้นถูกติดตั้งไปหรือยังโดยการใช้คำสั่ง(ดังรูปข้างล่างสุด ที่ลูกศร ที่ 5)

rpm  -qa  |  grep  -e  (lpr-drivername)  -e  (cupswrapper-drivername) เช่น

rpm  -qa  |  grep  -e  dcp150clpr-1.0.1-1.i386.rpm -e  dcp150ccupswrapper-1.0.1-1.i386.rpm

 

       ถ้าหากว่าที่เราทำนั้นไม่เกิด error ใดๆ โผล่มากวนใจอีก ก็แสดงว่า เราทำสำเร็จแล้ว ... และคุณก็สามารถพูดได้ว่า ... Yeah, I did it!!! อิๆๆๆ ก็ลองทำการแอดปรินเตอร์ใหม่ก็จะสามารถมองเห็นรุ่นปรินเตอร์ดังกล่าวได้ และก็ลองทดสอบปรินท์ได้ตามสบาย

 

 

หมายเลขบันทึก: 314131เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท