งานที่ท้าทายสำหรับอาจารย์สอนกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง : ภารกิจที่ไม่มีวันเสร็จ


ประเด็นฯน่าคิดทางกฎหมายจากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทย และกัมพูชา

ผมพักเรื่อง ร้อนๆ ระหว่างไทยและกัมพูชามาหน่อยนะครับ เพราะว่าอารมณ์กระเจิงไปแล้ว แต่ในฐานะที่เป็นคนสอนกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ซึ่งถึงแม้ปัจจุบันจะไม่ได้สอนเพราะอยู่ระหว่างศึกษาต่อ แต่ผมก็มีสิ่งท้าทายที่ได้จากการตามข่าวสารไทยทุกวันระหว่างอยู่ที่นี่เหมือนกัน

ถ้าตัดเรื่องความชอบและความเห็นต่อการเมืองไทยออกไป แล้วลองหันมาเป็นนักวิชาการแท้ๆ แล้งลองมองปัญหาความขัดแย้งของไทยและกัมพูชา อาจจะได้คำถามทางกฎหมายอยู่หลายข้อที่น่าศึกษาเหมือนกันครับ  

1.ข้ออ้างที่ทางคนเสื้อแดงพูดฟังขึ้นแค่ไหนในประเด็นเรื่องท่าทีของรัฐบาลไทยต่อกัมพูชา ในประเด็นเรื่องการลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยแนวปฏิบัติ

 ถ้าพูดภึงกฎหมายระหว่างประเทศ กัมพูชาก็ทำผิดกฎบัตรสหประชาชาติเต็มๆ ในเรื่องของการแทรกแซงรัฐอื่น (แต่ข้อนี้ยกไว้ก่อนเพราะในอดีตไทยก็ทำบ่อยๆ ทั้งกับพม่าและกัมพูชา  เข้าทำนอง ทีมึงกูไม่ว่า ทีข้ามึงอย่าโวย)   แต่

ในเรื่องการตอบโต้ที่ชอบด้วยกฎหมายที่ ไม่ถึงกับเป็นการทำสงคราม หรือที่เรียกว่า retortion ก็มีอยู่ และการลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตก็เป็นหนึ่งในนั้น ฉะนั้นการกระทำของรัฐบาลไทยนี่ก็ไม่ผิดกฎหมาย แต่ด้วยความที่ผมไม่เคยสัมผัสงานทางปฏิบัติของกระทรวงการต่างประเทศ ผมจึงไม่แน่ใจว่าข้ออ้างของกลุ่ม สส พรรคเพื่อไทยที่บอกว่ารัฐบาลทำผิดแนวปฏิบัตินั้นฟังขึ้นไหม ถ้าเอาหลักกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปมาจับเรื่องดังกล่าว การตอบโต้ หรือการกระทำต่างๆ ในทางกฎหมายระหว่างประเทศมักจะใช้หลักการต่างตอบแทน  ในความเห็นผมจึงไม่น่าผิด เพราะเป็นก่ารตอยโต้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของกัมพูชา แต่ถ้าใครมีตัวอย่างของประเทศอื่นๆ ในการตอบโต้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของอีกรัฐหนึ่งก็บอกกันเข้ามาได้นะครับ เพราะ ผมเองก็กำลังค้นหาประเด็นนี้อยู่เหมือนกัน อยากทราบแนวทางปฏิบัติไว้ครับ

 

2. เรื่อง MOU เขตทับซ้อนไหล่ทวีป เรื่องนี้คุยยาวครับ มีประเด็นทางกฎหมายเยอะมาตั้งข้อสังเกตได้ ไว้พรุ่งนี้ ผมเรียนเสร็จ และนอนไปอีก 1 ตื่น จะมาเขียนเพิ่มครับ เพราะคืนนี้ท่าจะไม่ได้นอนครับ แล้วจะมาต่อนะครับ...

หมายเลขบันทึก: 314055เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2009 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เขียนเสร็จแล้ว มาเปิดอ่าน หนังสือพิมพ์ ก็ไปเจอข่าน่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ ลองดู เห็นด้วย หรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นครับ เพราะเป็นเรื่องวิชาการล้วนๆ http://www.prachatai.com/journal/2009/11/26639

  • สวัสดีครับ
  • ผมว่าน่าจะทำมากกว่านี้ด้วยซ้ำ
  • อารยประเทศอย่างอเมริกา ยังไม่เห็นสนใจกฎหมายระหว่างประเทศเลย
  • บางครั้งการทะเลาะกับคนบางพวก (ไม่รู้ใครได้ประโยชน์บ้าง) เราไม่ควรไปเกลือกกลั้วด้วยซ้ำ
  • แต่ถ้าจำเป็นก็เอาให้หนักสักทีเถอะครับ ให้มันรู้ไปว่าไม่คบเขมรแล้วเศรษฐกิจเราจะพัง
  • ลองสลับตัวผู้เล่นดู ถ้าอดีตนายกฯ อยู่ในสถานการณ์แบบนี้บ้างจะทำอย่างไรกับเขมร หรือจะฮั้วผลประโยชน์อย่างเดียว ศักดิ์ศรีประเทศไม่เกี่ยว

แวะมาทักทายค่ะ อากาศที่พิษณุโลกเริ่มเย็นแล้วค่ะ แต่คงหนาวสู้ที่นั้นไม่ได้ อ.วิวกับอ.อุ๋มสบายดีนะค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ

ขอบคุณคุณ Khan และ คุณเตี้ยที่แวะมาทักทายครับ

ที่นี่ 10 องศาครับ ยังไม่หนาวจัดมาก พอไหวครับ

ว่าที่จริงคำถามที่คุณกานต์พูดนั้นลึกนะครับ เรื่องสหรัฐอเมริกา คุยได้เป็นวันๆ เรื่องทฤษฎีการมีผลใช้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และหน้าที่ของกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงการเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศด้วยถ้าจะคุยกันจริงๆ ถ้าผมจำไม่ผิด พวก Realism หรือFunctionism [ไม่แน่ใจ]จะมองกฎหมายระหว่างประเทศว่าเป็นเครื่องมือสร้าง และแสวงหา ผลประโยชน์ของรัฐใหญ่ๆ ครับ ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องอำนวยความยุติธรรม อย่างที่พวกเราคิด เห็นได้จากการที่สหรัฐบุกอิรักโดยใช้ข้ออ้างในทางกฎหมายระหว่างประเทศนั่นเองครับ (มติของสหประชาชาติ) นั่นเป็นหลักฐานให้เห็นว่า US ไม่ได้ไม่เคารพ กฎหมาย เพราะขนาดจะทำอะไรอย่างที่คิดยังต้องหากฎหมายมารองรับ แต่ถ้าถามว่ามีใครกล้าไปฟ้องUS ไหม และถ้ามีการตัดสินว่าUS ผิดที่ไปบุกอิรัก ก็ไม่มีใครจะบังคับใช้กฎหมาย เพราะกฎหมายระหว่างประเทศยังอยู่ระหว่างพัฒนาการครับ บังไม่สมบูรณ์การบังคับใช้ทำโดยสมาชิกของสังคมระหว่างประเทศ ซึ่งก็คือรัฐต่างๆนั่นเอง ไม่ใช่มีรัฐใดเป็นตำรวจโลก อย่างที่เข้าใจกัน อยู่ภาบใต้กฎแห่งป่าครับ ผู้ใดเข้มแข็ง อยู่รอด

นั่น เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมเกรงว่าไทยจะอยู่ไม่รอดในสังคมโลก ถ้า นักการเมืองของเรายังเป็นอย่างนี้ แต่ เวทีนี้ผมเว้นวรรคตัวเองออกจากการแสดงความเห็นทางการเมืองครับ เข้ามาอยู่ทางวิชาการสบายใจดี ไม่เครียด แต่ถ้ามองการเมืองไทยปัจจุบันก็ลุ้นดีครับ เป็นช่วงฝุ่นตลบว่าหลังศาลตัดสินคดี ยึดทรัพย์นักโทษทางการเมือง ในเดือนธันวาถึงมกราคมแล้วจะเป็นอย่างไร รัฐบาลปัจจุบันจะอยู่รอดไหม แล้ว ถ้ามีรัฐบาลใหม่จะมีการแทรกแซงอำนาจศาลหรือไม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท