กรอบอนาคตของประเทศไทยในปี 2020 นัยต่อการพัฒนาประเด็นด้านการศึกษา


แนวคิดพื้นฐาน หรือ Keyword ของการวางโครงสร้างในการทำงาน ประกอบด้วย ๗ คำสำคัญ Creative Content , Creative Children , Creative Knowledge ,Creative Culture , Creative Space , Creative Society และ Creative Database management

สิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อพัฒนากรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ในประเด็นด้านการศึกษา

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๑ เรื่องประเด็นหลักอันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการจัดทำกรอบ

  • พบว่ามี ๕ ปัจจัยหลักที่นำไปสู่การคิดกรอบเชิงนโยบายในรอบ ๑๐ ปี กล่าวคือ (๑) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น รวดเร็วมากขึ้น (๒)  รูปแบบของการใช้งานหลากหลายมากขึ้น (๓) การหลอมรวมทางเทคโนโลยี ทำให้เครื่องมือในการใช้งานมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้มนุษย์มีโอกาสในการเข้าถึงและใช้งานไอซีทีในการสื่อสารมากขึ้น (๔) การสื่อสารในโลกแห่งความเป็นจริงน้อยลง และ (๕) มีโอกาสในการใช้ประโยชน์ด้านการสื่อสารเพื่อการศึกษาได้มากขึ้น

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๒ เรื่องแนวคิดพื้นฐาน หรือ Keyword ของการวางโครงสร้างในการทำงาน ประกอบด้วย ๗ คำสำคัญ

  • Creative Content เน้นการสร้างและพัฒนาสื่อเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีสาระที่ครบถ้วนทั้งในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา มีรูปแบบที่หลากหลาย และมีคุณภาพที่มากขึ้น
  • Creative Children เน้นการส่งเสริมการสร้างและพัฒนาเนื้อหาจากเด็ก เยาวชน ร่วมกับ ครู
  • Creative Knowledge จัดทำฐานข้อมูลความรู้เกี่ยวกับแนวทางในการส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และ บุคคลต่างๆสร้างและพัฒนาสื่อเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้
  • Creative Culture เน้นการสร้างเสริมวัฒนธรรมการใช้สื่อไอซีทีเชิงสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง รวมไปถึง วัฒนธรรมพื้นฐานในการใช้ไอซีที
  • Creative Space เพิ่มพื้นที่ในการใช้สื่อไอซีทีเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งพื้นที่ออนไลน์ และ พื้นที่ออฟไลน์
  • Creative Society สนับสนุนการสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่สร้างสรรค์ที่ร่วมกันสร้างและพัฒนาสื่อเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ออนไลน์
  • Creative Database management บริหารจัดการฐานข้อมูลสื่อเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อง่ายต่อการสืบค้น ค้นหา และนำไปใช้ประโยชน์

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๓ ข้อเสนอในการจัดทำกรอบ

  • หากพิจารณาบทเรียนของประเทศเกาหลี พบว่า มีนโยบายและการบริหารจัดการในการใช้สื่อไอซีทีเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้
  • มีการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนให้เด็ก เยาวชน ครู ร่วมกับผลิตเนื้อหาเพื่อส่งเสริมการศึกษาในรูปของ E-Learning โดยหน่วยงานกลางที่เรียกว่า KERIS ซึ่งมีการบริหารจัดการที่คล่องตัว เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการให้ความรู้กับครู นักเรียนในการพัฒนาสื่อออนไลน์
  • ในประเทศไทย มีเว็บไซต์ในทำนองเดียวกันก็คือ www.thaigoodviews.com เป็นเว็บไซต์ที่เน้นให้เด็กนักเรียนและครูร่วมกันผลิตเนื้อหาประกอบการเรียนการสอนออนไลน์ โดยกลุ่มครู สสวท เน้นการให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนในการพัฒนาเนื้อหาสื่อออนไลน์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านโปรแกรมจากประเทศเกาหลี
  • หรือในกรณีของเว็บไซต์ www.fuse.in.th เว็บไซต์ในลักษณะเว็บบล็อกที่เป็นพื้นที่ปล่อยของของเครือข่ายเด็ก เยาวชนที่มีความสามารถในการจัดทำแอนนิเมชั่น มิวสิกวีดีโอ หรือ เนื้อหาสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยมีพี่เลี้ยงจากไบโอสโคปเป็นพี่เลี้ยงในการสนับสนุนชุดความรู้ในการจัดทำสื่อ
  • นอกจากนั้นยังมีเครือข่ายร้านเกมคาเฟ่ในจังหวัดอุบลราชธานี ใช้พื้นที่ในร้านเกมคาเฟ่เป็นโรงเรียนสอนพิเศษโดยผู้สอนจากในกรุงเทพ ผ่านระบบกล้องออนไลน์ภายในร้านเกมคาเฟ่ โดยผู้ที่เข้ามาเรียนเสียเพียงค่าชั่วโมงในการใช้อินเทอร์เน็ต
  • ดังนั้น การคิดกรอบเชิงนโยบายควรคิดจาก การเพิ่มเนื้อหาสื่อเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกมิติโดยหน่วยงานกลาง และ เครือข่ายเด็ก เยาวชน ครู โดยเน้นระบบการบริหารจัดการให้ความรู้กับเด็ก เยาวชน ครูในการพัฒนาเนื้อหา
  • ข้อเสนอเชิงรายละเอียด ๕ ประการ

(๑)   ประเด็นด้านโอกาสและความเท่าเทียมในการเข้าถึงและใช้ทรัพยากรไอซีที ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ต่างๆ และ ส่งเสริมการขยายทรัพยากรในพื้นที่ห่างไกล

(๒)  ประเด็นด้านการพัฒนาเนื้อหาสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ ให้ (๑) มีเนื้อหาที่หลากหลายครอบคลุมเนื้อหาทั้งในระบบการศึกษาและการเรียนรู้นอกระบบการศึกษา รูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย และมีคุณภาพที่มากขึ้น โดยส่งเสริมให้ (๒) เด็ก เยาวชน ครู มีส่วนร่วมในการผลิตเนื้อหาเป็นแกนหลัก

(๓)  ประเด็นด้านฐานความรู้ โดย เน้นการพัฒนาจัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้ในการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเนื้อหาไอซีทีเชิงสร้างสรรค์

(๔)  ประเด็นด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ วัฒนธรรมการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ให้กับเด็ก เยาวชน และชุมชนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อทำให้เกิดวัฒนธรรมการแบ่งปัน การเคารพสิทธิผู้อื่น การไม่ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น

(๕)  ประเด็นด้านการบริหารจัดการ โดยเฉพาะ การบริหารจัดการฐานข้อมูลกลาง การตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของข้อมูล การจัดตั้งหน่วยงานกลางในการทำงานเพื่อบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสะดวกรวดเร็ว คล่องตัว

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๔ การคำนึงถึงปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้เกิดทำงานภายใต้กรอบหลักทั้ง ๕ ด้าน ต้องพิจารณา ปัจจัยหลัก ๓ ส่วน  (๑) ความรู้ (๒) ปัจจัยเสริมด้านเครือข่าย สนับสนุน ๘ ปัจจัย เด็ก ครอบครัว โรงเรียน พื้นที่ สนับสนุนโปรแกรม เครือข่าย พี่เลี้ยง ชุมชน  และ (๓) กลไกในการจัดการ การบริหารจัดการทรัพยากร ต้นทุนที่มีอยู่ในชุมชน ต้องการกระบวนการในการสนับสนุนเพื่อขยายต้นแบบระหว่างเครือข่ายชุมชน กลไกในการสนับสนุนการทำงาน และ กลไกที่ทำให้เกิดการทำงานที่ยั่งยืน เช่น ระบบกฎหมาย การสร้างการมีส่วนร่วมในฐานะเข้าของปัญหา เจ้าของความรู้ เจ้าของสิทธิ

ข้อควรพิจารณาลำดับที่ ๕ การสร้างประสิทธิภาพของแผนแม่บทในระยะยาว ต้องเน้น (๑) การพัฒนารายละเอียดของแผนแม่บทจากพื้นที่ต่างๆขึ้นมา (๒) การสร้างความเชื่อ จิตวิญญาณ และ วัฒนธรรมร่วมกันบนแนวคิดว่า “ใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม” (๓) การทำงานภายใต้แผนแม่บทที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 313958เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2009 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • น่าสนใจมากครับอาจารย์โก๋
  • วันนี้อ. พญ.หัทยา เข้ามาใช้ครับ
  • ดีจังเลย

ดีจริงครับ อีกหน่อยคงมี "แพลนเน็ต" ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

สั้น กระชับ เข้าใจง่าย ค่ะ โดยเฉพาะ key word

อ่านแล้วเห็นภาพ เชื่อมโยงกัน ได้ดีเชียวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท