SHA_ภาคกลาง:ปราณีตและยั่งยืน2


การพัฒนาที่ยั่งยืน...ท่าน ผอก.มองว่า ต้องสร้างให้เจ้าของงานเกิดความภาคภูมิใจ ทำให้เค้าเกิดความรู้สึกว่า เค้ามีที่อยู่ เค้ามีที่ยืน และรู้สึกว่าตัวเค้ามีคุณค่า

     ก่อนเบรกภาคเข้า  ของวันที่ 10 พ.ย. 2552พวกเรายังคงเก็บตกเรื่อง Lean กันต่อ โดย รศ.นพ.กิตติ  ลิ่มอภิชาต  จากคณะแพทย์ฯ มอ. อาจารย์ได้เน้น  ว่า lean ไม่อยากให้แปลว่าผอมอย่างเดียว  เพราะว่าผอมแล้วเหมือนไม่แรง  อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง lean ของบริษัทโตโยต้ามาให้ฟ้ง  มองเห็นภาพได้ชัด มองหาอะไรคือ waste  อะไรคือ value 

     Waste คือความสูญเสียหรือสูญเปล่าอาจจะเป็นเรื่องของเวลา วัสดุ สถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้ และทรัพยากรอื่นๆฯลฯ Lean เป็นพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของแนวคิดในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้ได้มากที่สุด เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของคนทำงาน การจัดระบบสายพานเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการผลิต และต่อมาเริ่มตระหนักในความสำคัญที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้ทำงานให้มากกว่าเห็นเป็นเพียงแรงงานในการผลิต Lean เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการสุขภาพ การใช้คำว่า Lean อาจจะมีข้อดีที่ทำให้เห็นความแตกต่างหรือส่วนที่เรายังขาดอยู่ แต่ต้องพึงระหว่างที่จะไม่ทำให้คำว่า Lean เกิดการนำมาใช้อย่างแยกส่วนจากฐานแนวคิดเดิมที่เราใช้อยู่ในการพัฒนาคุณภาพ

P00001

     หลังเบรก  มาแล้วค่ะ วิทยากรขวัญใจของฉันเอง  มองทีไรก็เหมือน น๊อต-นุติ  เขมะโยธิน  อดีตพระเอกลูกสองแล้ว  ที่เคยเป็นพระเอกในดวงใจคนหนึ่ง  ดร.นพ.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์ จากสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ  พูดทีไรได้ฮา(HA) และซึ้ง(SHA) เสมอฟังอาจารย์พูดได้เป็นวันๆ  เทคนิคการเล่าและการนำเสนอของอาจารย์ไม่เคยทำให้ฉันเบื่อหรือง่วงนอนสักครั้ง  ผู้มีความประณีตและเข้าใจมนุษย์อย่างล้ำลึก  สมกับหัวข้อการบรรยายของอาจารย์ “งานอันประณีตบรรจง : จุดบรรจบของความดี  ความงาม  และความจริงในงานคุณภาพ”

     ก่อนรับประทานอาหารกลางงัน  ฉันต้องเลือกเข้าฟังการบรรยาย  ด้วยความชอบเป็นทุนเดิมในความสามารถของวิทยากรหลายด้าน  ต่อเนื่องมาจากภาคเช้า  ฉันจึงเลือกเข้าห้อง Session 3 : Sustainable  “เส้นทางสู่...คุณภาพที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน”  ด้วยความอยากรู้  อยากเห็น  ว่าการพัฒนาคุณภาพได้อย่างยั่งยืนนั้นเป็นอย่างไร  จึงตามรอย อ.โกมาตร ไปเข้าห้องนี้  โดยได้รับเกียรติจาก นพ.วีระพล  ธีระพันธ์เจริญ  ผู้อำนวยการ รพ.พระนครศรีอยุธยา  เป็นผู้เล่าเรื่องให้ฟังและ อ.โกมาตร  เป็นวิทยากร  ผอก.ได้เล่าเรื่องการดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพหลายเรื่องหลายอย่าง  เริ่มตั่งแต่การสร้างเป้าหมายร่วมกัน  เข็มมุ่งขององค์กร ก็ให้ทุกคน  ทุกงาน มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดำเนินการ  เมื่อมีกิจกรรมต่างๆใน รพ. จะมีการแทรกการทำงานเป็นทีมเข้าไปด้วยทุกครั้ง  พยายามสร้างความรู้สึกเป็นพวกกัน และใช้เวทีที่ไม่เป็นทางการ เวลานำเสนอผลงานทุกครั้งก็หนีไม่พ้น แพทย์  พยาบาล จนท.อื่นที่จะมีโอกาสมานำเสนอมีน้อย ดังนั้นจึงต้องพยายามหาเวที  ให้ทุกคนทุกงานได้มีโอกาสมานำเสนอบ้าง  เพื่อให้เจ้าของงานเกิดความภาคภูมิใจ  ทำให้เค้าเกิดความรู้สึกว่า  เค้ามีที่อยู่  เค้ามีที่ยืน  และรู้สึกว่าตัวเค้ามีคุณค่า   เรื่องการชื่นชมคนดีก็สำคัญ  เน้นการให้บริการที่ดีโดยเน้นพันธมิตรเครือข่ายที่จะมาร่วมทำงาน  สิ่งที่ฉันได้จากการตามรอย “เส้นทางสู่...คุณภาพที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน” มีเพียงเท่านี้  ระหว่างการนำเสนอฉันได้เห็น แม่ต้อยเดินมาถ่ายรูป ผู้นำเสนอทั้งสองบนเวทีด้วยตัวเอง  แวบแรกที่ผ่านฉัน ว้าว! แม่ต้อยสวยจัง

 

(ซ้าย) อ.โกมาตร และนพ.วีระพล  ธีระพันธ์เจริญ      (ขวา) สรุปการพัฒนาที่ยั่งยืนของ รพ.พระนครศรีอยุธยา

      ภาคบ่ายบรรยากาศในงานยังคงคลุกกรุ่นด้วยกลิ่นอายของ SHA จากพื้นที่ที่ได้รับคัดเลือกที่มานำเสนอให้ฟัง  ซึ่งทาง สรพ.ได้จัดไว้เป็นแต่  session

          Session 1 : Spirituality

          Session 2 : HPH

          Session 3 : Sustainable

          Session 4 : Outcome mapping

          Session 5 : คัดเลือกผลงาน

     ภาคบ่ายฉันอยากจะตามรอยต่ออีกที่ห้องนี้อีก  เพราะมีเรื่องเล่าจากพื้นที่อีกตั้ง 5 เรื่อง  แต่ฉันก็ต้องตัดใจ  เพราะตั้งใจไว้แล้วว่าจะไปเชียร์น้องฉันที่ห้อง Session 2 : HPH  ในหัวเรื่อง  ”แก่งคอยร่วมใจ  ป้องกันและแก้ไขยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน”  ครั้งแรกได้วางตัวผู้นำเสนอเป็นผู้อำนวยการของ รพ.แก่งคอย  แต่เนื่องจาก ผอก.ท่านติดราชการอีก 2 งาน เลยให้เจ้าของงานยาเสพติดเป็นผู้นำเสนอแบบเรื่องเล่าแทน  ฉันจึงอยากไปให้กำลังใจกับน้องของฉัน  ทั้งที่น้องสั่งไว้แล้วว่า “พี่อย่าเข้าไปฟังห้องที่หนูนำเสนอนะ หนูไม่อยากให้ใครฟังเวลาหนูนำเสนอ”  ฉันเลือกนั่งแถวหน้าและจองเก้าอี้ไว้ก่อนเลย  โชคดีที่งานนี้ไม่มีการประกาศ “ห้ามนำกระเป๋าจองที่นั่งก่อนล่วงหน้า”  ฉันจึงจองที่นั่งหน้าสุดไว้ก่อนใครเพื่อน 

วัฒนธรรม...วางกระเป๋าจอง  ยังคงมีให้เห็นตลอด

     เรื่องแรก  เป็นเรื่อง "การบูรณาการงานสุขภาพจิต และจิตเวชครบวงจรจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน" โรงพยาบาลสามชุก  จ.สุพรรณบุรี ที่พบปัญหาจากแม่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต  หลังคลอดบุตรไม่เคยสนใจลูก เลี้ยงดูตามยถากรรม  ทั้งครอบครัวอยู่อยากอดอยาก  ไม่พูดคุยกับเพื่อนบ้าน สภาพบ้านเพียงแค่กันแดดได้เท่านั้น  ยามฝนตกทุกคนจะเปียกกันหมด เมื่อทีมเยี่ยมบ้านไปพบจึงได้พยายาม Approch ต่อมาบ้านถูกไฟไหม้  ทีมงานจึงติดต่อขอความช่วยเหลือไปยังอำเภอ  นายอำเภอได้ทำการทอดผ้าป่าและนำเงินที่ได้มาช่วยเหลือ  สร้างบ้านมใหม่ จนปัจจุบันทุกคนในบ้านกล้าที่พูดคุยกับทุกคนในชุมชน  ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างคนปกติสุข  แต่กว่าจะเป็นวันนี้ได้ทีมเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลได้ใช้เวลาติดตามมาเป็นเวลา 4 ปี

     เรื่องที่สอง "แก่งคอยร่วมใจป้องกันภัยยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน" จากโรงพยาบาลแก่งคอย  จ.สระบุรี  เป็นเรื่องการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย  เพื่อต่อสู้กับปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ระบาดหนักตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา  แทนการตั้งรับการรักษาอยู่แต่ในโรงพยาบาล  จนได้รับความร่วมมือจากภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน  โดยเน้น 3 องค์กรได้แก่  โรงเรียน  ชุมชน  และสถานประกอบการอุตสาหกรรม  จนปัจจุบันได้เป็นอำเภอต้นแบบ(Role Model) ทั้ง 3 ภาคีทั้งในระดับประเทศและจังหวัด  (หาอ่านได้ในหนังสือ "มองต่างมุม เข็มมุ่งสู่ SHA" ที่แจกในงาน หรือ ที่นี่

 

น้องสาวผู้นำเสนอ

    เรื่องที่สาม "การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานจากโรงพยาบาลอู่ทอง  จ.สุพรรณบุรี" เนื่องจากแผลเบาหวานที่ถูกตัดเท้าและขาเป็นส่วนใหญ่  เริ่มจากจัดตั้งคลินิกดูแลเท้า  และหาเครื่องมือในการตรวจเท้า  ได้ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม  เครื่องตรวจเท้าโดยให้ผู้ป่วยเบาหวานเป็นคนทำอุปกรณ์ให้  รายได้ส่วนหนึ่งก็จะซื้อรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในโครงการ Happy Birthday to shoe  ที่ไม่มีเงิน เป็นปลื้มกับโครงการดีๆแบบนี้จังเลยค่ะ

นวตกรรม...เครื่องมือตรวจเท้า  ของ รพ.อู่ทอง... น่าสนใจมากเลยค่ะ

     เรื่องที่สี่ "มารู้จัก เออร์โกโนมิคส์ กันเถอะ" จากศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพฯ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเจ็บป่วยที่เกิดจากท่าทางในการทำงาน แต่เรื่องนี้ฉันมีธุระต้องเข้าห้องน้ำกลางคันเลยเก็บรายละเอียดได้ไม่ครอบคลุม  จึงขออนุญาตข้ามไปก่อนนะคะ

     เรื่องที่ห้า "ศึกษาผลการนวดรักษาโรคในผู้ป่วยกล้ามเนื้อ  ไหล่ติด ข้อเข่าเสื่อมฯ" จากโรงพยาบาลระยอง จ.ระยอง น่าเสียดายเช่นกันที่เรื่องนี้ฉันกลับจากห้องน้ำมาตอนเกือบท้ายเรื่อง  เลยยังสรุปประเด็นได้ไม่ชัดนัก

     สิ่งที่ฉันได้เห็นและได้เรียนรู้  ถึงความตั้งใจและปราณีตในการจัดงานในครั้งนี้  รวมถึงความตั้งใจของผู้นำเสนอบนเวที  แม้บางคนอาจมีอาการตื่นเต้นบ้าง  แต่การนำเสนอก็ผ่านไปด้วยดี  แม้บางครั้งจะรู้สึกว่าเรื่องเล่าอาจไม่เร้าพลังอย่างที่คิดด้วยเทคนิคการนำเสนอของผู้เล่าเอง  ด้วยเวลาที่จำกัด  แม้แต่ตัววิทยากรผู้ดำเนินรายการเองบนเวที  แต่ฉันก็ยังคงให้กำลังใจในความตั้งใจดีของทุกคนเสมอ  และนำไปเป็นบทเรียนในครั้งต่อไป

     พบกันใหม่ในวันที่สองของ SHA Conference & Contest : ปราณีตและยั่งยืน...บนพื้นฐานงานสุขภาพ 

หมายเลขบันทึก: 313570เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2009 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

รอติดตามอีกนะ

อ่านตามด้วยความอยากรู้มากเลยค่ะ อิอิ

เดาไว้ว่าพี่น้ำชาต้องเข้าฟังอาจารย์โกมาตรแน่เลย

รออ่านต่อนะคะ คิดถึงมากค่ะ

สวัสดีค่ะน้องแหม่ม

ที่บอกว่าหน้าม้าเห็นจะผิดนะคะ ต้องบอกว่า "เสยเปิด" 555

วันนี้ไม่ผิดหวังที่รอติดตามและอย่าลืมแวะมาทักทายกันด้วยนะคะ

ตามไปบันทึกหน้านะคะว่าพี่จะเข้าห้องไหน อิอิ

miss miss จ้าน้อง AJ

สวัสดีค่ะ.....ขอบคุณนะคะที่สรุปให้เห็นภาพด้วย อยู่คนละห้องกันเลย....

สวัสดีค่ะคุณP เจษฎา  อย่าลืมนำมาแบ่งปันกันนะคะ 

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท