การประเมินโครงการขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียน


การคิดสู่ห้องเรียน

บทคัดย่อ

                 การประเมินโครงการขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียนของโรงเรียนแกนนำและเครือข่ายการคิดสู่ห้องเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสอดคล้องด้านบริบทของโครงการ ประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ ประเมินความสอดคล้องผลผลิตตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และประเมินผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานตามโครงการขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียน โดยใช้รูปแบบซิป ( CIPP Model ) ของสตัฟเฟิลบีม( Stufflebeam ) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 40 คน ครูผู้สอนจำนวน 177 คน ศึกษานิเทศก์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ จำนวน 24 คน และนักเรียนจำนวน 1,128 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง ( Purposive Random Sampling )และแบบแบ่งชั้น ( Stratified Random Sampling ) ตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ( Krejcie & Morgan ) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินและเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียนของโรงเรียนแกนนำและเครือข่ายการคิดสู่ห้องเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1 จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 สอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์ ในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น และด้านกระบวนการของโครงการ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ และนักเรียน ด้านผลผลิตของโครงการ และรายงานผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานตามโครงการ โดยการวิเคราะห์เอกสาร หลักฐานและรายงานข้อมูลต่าง ๆ ( Content Analysis ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) และค่าร้อยละ ( Percentage )

ผลการประเมินโครงการ พบว่า
    1.การประเมินด้านบริบท ( Context Evaluation ) ของโครงการในความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก สำหรับความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
    2.การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ( Input Evaluation ) ของโครงการในความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับความคิดเห็นของครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก
     3.การประเมินด้านกระบวนการ ( Process Evaluation ) ของโครงการในความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก สำหรับความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
     4.การประเมินด้านผลผลิต ( Product Evaluation ) ของโครงการในความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียน และศึกษานิเทศก์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ อยู่ในระดับมาก
     5.การวิเคราะห์ผลกระทบ ( Impact Analysis) จากการดำเนินงานโครงการ พบว่าโรงเรียนแกนนำและเครือข่ายการคิดสู่ห้องเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการประเมินและคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียนในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1 และใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดปีการศึกษา 2549 และปีการศึกษา 2550 นอกจากนี้โรงเรียนแกนนำและโรงเรียนเครือข่ายการคิดสู่ห้องเรียน ได้รับการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับครูผู้สอนและนักเรียน ในรอบที่ 1 และรอบที่ 2 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ปรากฏว่า มีผลการพัฒนาทั้ง 2 มาตรฐานเพิ่มสูงขึ้นนอกจากนี้ยังได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษารอบที่ 2 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาทุกโรงเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนแกนนำและเครือข่ายใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก มีแนวโน้มดีขึ้น                 นอกจากนี้โรงเรียนแกนนำและโรงเรียนเครือข่ายขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียน ส่วนใหญ่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1 ให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ และเครือข่ายสถานศึกษาประเภทที่ 1 และ 2  เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ โดยมีปัจจัยมาจากความพร้อมในด้านผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากองค์การมหาชน ( สมศ. ) และความพร้อมด้านบุคลากรในทุก ๆ ด้าน

หมายเลขบันทึก: 313020เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขออนุญาตนำเข้าแพลนเนต ผมกำลังจะดำเนินการ โครงการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดสำหรับครูและนักเรียนแกนนำ

โรงเรียนไทยรัฐวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มลุ่มน้ำชี อาจจะขอความอนุเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญ

ขอบคุณที่นำผลงานวิจัยดีๆ มาแนะนำครับ ขอให้ประสบความสำเร็จ ในทุกด้านครับ

ขอบคุณที่เข้าเยี่ยมชม

ศน.กี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท